1.  เมื่อผู้ใช้ยกหูโทรศัพท์ ก็จะมีการส่งสัญญาณไปที่ IP-PBX

     2.  เมื่อ IP-PBX ก็จะส่งสัญญาณคู่สายว่าง ซึ่งผู้ใช้สามารถกดเลขหมายปลายทางที่ต้องการ หมายเลข

ปลายทางนี้จะถูกเก็บชั่วคราวที่ IP-PBX เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างการสนทนา

     3.  IP-PBX ตรวจสอบว่าหมายเลขปลายทางที่ผู้ใช้กดถูกต้อง

     4.  IP-PBX จะค้นหาหมายเลขปลายทางและ map ให้กลายเป็นไอพีแอดเดรสของอุปกรณ์ปลายทาง (เรา

เรียกอุปกรณ์ปลายทางอีกอย่างหนึ่งว่า ไอพีโฮสต์) โดยปกติแล้วไอพีโฮสต์จะเป็นคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์

VoIP หรืออุปกรณ์โทรศัพท์ที่ใช้งานกับ VoIP เลยก็ได้เช่นกัน

     5.  เมื่อค้นหาหมายเลขปลายทางพบแล้ว IP-PBX ก็จะเชื่อมต่อหรือเปิดเซสซันไปยังไอพีโฮสต์ ซึ่งในกรณี

นี้ทั้งสองฝั่งจะต้องใช้โพรโตคอลเดียวกันในการสื่อสาร (VoIP มีอยู่หลายโพรโตคอล ซึ่งก็เป็นไปได้ที่อุปกรณ์

บางรุ่นอาจจะไม่สนับสนุนบางโพรโตคอล)

     6.  ผู้ใช้สามารถเริ่มต้นสนทนาได้ โดยระหว่างการสนทนาจะส่งข้อมูลที่แปลงมาจากสัญญาณเสียงไปมา

ผ่านเซสซันที่เชื่อมต่อไว้ ถึงแม้ว่าจะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลาแต่ถ้าบางช่วงไม่มีการส่งข้อมูลช่องสัญญาณก็ยัง

ถูกแบ่งไปใช้กับการเชื่อมต่ออื่นได้

     7.  เมื่อสนทนาจบผู้ใช้ก็วางหูเพื่อจบการใช้งาน

     8.  IP-PBX จะปิดการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์

     9.  IP-PBX ส่งสัญญาณเปิดการเชื่อมต่อไปยังไอพีโฮสต์เพื่อจบเซสซัน เช่นเดียวกันไอพีโฮสต์ที่อีกฝั่ง

หนึ่งก็จะปิดเซสซันด้วย

     10.เมื่อเซสซันสิ้นสุดลง IP-PBX จะลบการแมประหว่างหมายเลขโทรศัพท์ไปเป็นไอพีออกจากหน่วยความจำ

 

     จากการทำงานนี้จะเห็นได้ว่าผู้ใช้โทรศัพท์ ไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดเลยว่าการสนทนาทำผ่าน VoIP เพราะ

เพียงแค่รู้เบอร์โทรศัพท์ของตัวอุปกรณ์เท่านั้น IP-PBX จะจัดการงานที่จำเป็นทั้งหมดให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งนับ

เป็นข้อดีของ VoIP อีกประการ ที่ผู้ใช้รู้เพียงแต่แค่เบอร์โทรศัพท์ปลายทาง โดยไม่จำเป็นต้องไอพีแอดเดรส

หรือขั้นตอนการเชื่อมต่อใด ๆ เลย

 

     1.  IP Telephony gateways

          จะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นข้อมูลเสียงที่สามารถวิ่งอยู่บนเครือข่ายข้อมูล

แบบ IP ได้โดยเราจะแบ่งแยกชนิดของเกตเวย์ได้คือ

          -  IP-enabled PBX

             เป็น PBX ที่มี IP trunk เพื่อใช้สำหรับส่งข้อมูลเสียงผ่านเครือข่ายไอพี ซึ่งเกตเวย์แบบนี้ เรายัง

สามารถใช้คุณลักษณะเดิมของระบบ PBX ได้เช่น Call routing, Trunk selection, Call forwarding to

remote worker และอื่น ๆ อีกมากมายบนระบบเครือข่าย PBX

         -  Telephony router & access device

            หรืออุปกรณ์สวิตชิงที่สามารถเป็นเกตเวย์เพื่อรองรับการใช้งานข้อมูลเสียงได้ ซึ่งการบริหารความ

สำคัญและจัดสรรแบนด์วิธให้กับข้อมูลทั่วไป และข้อมูลเสียงจะขึ้นอยู่กับคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์นั้น ๆ

เช่น RSVP, Weight Fair Queuing เป็นต้น

     2.  IP Telephony terminals

          ตัวอย่างของอุปกรณ์ประเภทนี้เช่น อุปกรณ์ IP Phone จะเป็นโทรศัพท์ที่สามารถต่อเชื่อมกับเครือข่าย

IP ได้โดยตรง PC-based Soft Phone เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ซึ่งรันโปรแกรมที่ใช้แทนเครื่อง

โทรศัพท์ เช่น Microsoft NetMeeting เป็นต้น

     3.  Telephony applications

          เป็นแอฟพลิเคชันที่สร้างประสิทธิภาพให้กับระบบ IP Telehpony ที่มีการใช้งานร่วมกัน ทั้งข้อมูล

เสียงและข้อมูลอื่น ๆ ตัวอย่างของ Application เหล่านี้เช่น

          -  Unified Messaging ระบบนี้จะเป็นแอพพลิเคชันที่สามารถรวมเอาการทำงานของ Voice Mail

Email และ Fax mail เข้าไว้ด้วยกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานแก่ผู้ใช้

          -  Call Center ระบบมีไว้เป็นศูนย์กลางเพื่อให้ผู้ใช้ที่ต้องการทราบข้อมูลต่าง ๆ ติดต่อเข้ามาหรือเพื่อ

การให้บริการอื่น ๆ

          -  Interactive Voice Response (IVR) ในขณะที่ผู้ใช้งานทั่วไปต้องการทำรายการต่าง ๆ ผ่านทาง

โทรศัพท์เช่น Phone-Banking ซึ่งผู้ใช้จะต้องโทรเข้ามาที่อุปกรณ์ IVR นี้ แล้วอุปกรณ์จะแปลงสัญญาณ

โทรศัพท์ (Tone) ให้เป็นข้อมูลซึ่งส่งต่อไปยังแอพพลิเคชันปลายทางของระบบได้

     4.  Service Control Units (SCUs)

          ส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการรองรับ Call processing บนระบบ PBX และรวมฟังก์ชันของ

Gatekeeper ซึ่งจะเปรียบเทียบค่า Telephony number ให้เข้ากับ IP address, การทำหน้าที่ Call

management, Telephony resource management รวมทั้งทำ Admission control สำหรับ

Terminal ที่จะเข้าไปใช้งานในเครือข่าย IP Telephony โดย SCU จะแบ่งออกได้เป็นสองชนิดหลัก ๆ คือ

          -  SCU ที่เป็น software รันอยู่บนเครื่องเซิรฟ์เวอร์ อย่างเช่น Windows NT หรือ Solaris เป็นต้น

เพื่อที่จะรองรับการทำงานของ Telephony บนเครือข่าย IP ได้

          -  SCU แบบ IP-enabled PBX ที่มีฟังก์ชันการทำงานของ SCU รวมอยู่ในตัวเอง ซึ่ง PBX รูปแบบ

นี้จะมีความสามารถทุกอย่างเช่นเดียวกันกับแบบ Server-based แบบแรก และยังมีคุณลักษณะเฉพาะอื่น ๆ

อยู่บน PBX อีกด้วย

 

       

จากองค์ประกอบที่ได้กล่าวไปแล้วอาจสรุปได้ว่าแนวทางของการใช้งานระบบ IP Telephony จะแบ่งออก

ได้เป็นสองทางหลักก็คือการให้เครือข่ายไอพีเดิมมีส่งนที่เชื่อมต่อกับระบบสัญญาณเสียง (Voice-enabled

IP network) โดยใช้ Voice interface บนอุปกรณ์เครือข่าย IP และอีกแนวทางหนึ่งคือพัฒนาระบบเครือ

ข่าย PBX เดิมด้วยการเพิ่มเติม IP interface ให้เป็น IP-enabled PBX เพื่อสามารถรับส่งสัญญาณเสียง

เข้าไปในเครือข่ายไอพีได้ ซึ่งแนวทางของการพัฒนา PBX จะมีประโยชน์มากกว่าคือ

     1.  การใช้งานระบบเครือข่ายเสียงสามารถทำได้อยู่ และฟังก์ชันที่มีประโยชน์ต่าง ๆ มากมายบน PBX ก็ยัง

คงทำงานได้เป็นปกติ โดยระบบ PBX จะมองเครือข่ายไอพีเป็นเพียงเส้นทางรับส่งสัญญาณทางหนึ่งเท่านั้น

     2.  มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้งานที่เหมือนกับระบบเครือข่าย PBX เดิม ซึ่งผู้ใช้มีความคุ้นเคยดีอยู่แล้ว และไม่

ต้องเรียนรู้การใช้งานใหม่

     3.  ระบบ IP-enabled PBX สามารถรับประกันคุณภาพของสัญญาณเสียงได้ โดยจะมีกลไกในการตรวจ

สอบเครือข่ายก่อนที่จะส่งข้อมูลเสียงออกไป และจะเปลี่ยนเส้นทางในกรณีที่เกิดความหนาแน่นของเส้นทาง

เดิมเช่น ถ้าเครือข่ายไอพีข้อมูลหนาแน่นเกินไป ก็จะเปลี่ยนข้อมูลเสียงออกไปทาง ISDN หรือ Frame relay

เป็นต้น

 

 

     ดังที่กล่าวไปแล้ว โพรโตคอลนับเป็นหัวใจที่ทำให้ระบบการโทรศัพท์ผ่านเครือข่าย สามารถสื่อสารกันได้

เพราะโพรโตคอลจะทำหน้าที่กำหนดขั้นตอน รูปแบบและชนิดของข้อมูลที่ใช้สื่อสารระหว่างอุปกรณ์นั่นเอง

โดยสิ่งสำคัญที่ระบุไว้ในโพรโตคอลก็คือ วิธีการเข้ารหัสสัญญาณเสียง (Audio Codec) โดย Codec นั้นย่อ

มาจาก Coder-Decoder กล่าวคือ เป็นวิธีในการเปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็นข้อมูลดิจิตอล รวมถึงการบีบอัด

และขยายข้อมูลที่ปลายทางด้วย สำหรับ VoIP แล้วโพรโตคอลตัวแรกที่ได้รับการกำหนดขึ้นมาก็คือ H.323

ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดย International Telecommunications Union (ITU) H.323 อย่างไรก็

ตามถึงแม้ว่าจะเป็นโพรโตคอลที่มีความสามารถแต่ก็มีความซับซ้อนและมีโอเวอร์เฮดเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน

โพรโตคอลนี้สนับสนุนการสื่อสารข้อมูลและเสียงแบบเรียลไทม์ รวมถึงแอพพลิเคชันของวีดีโอคอนเฟอเรนซ์

อีกด้วย และ H.323 ยังประกอบด้วยมาตรฐานรวมทั้งข้อกำหนดย่อยอีกเป็นจำนวนมากดังที่แสดงในตาราง

"ชุดโพรโตคอลของ H.323"

     H.323 Signaling Protocol

     H.323 เป็นโพรโตคอล มาตรฐานที่แสดงรายละเอียดส่วนประกอบต่าง ๆ รวมทั้งวิธีการที่จัดการเพื่อให้

บริการการสื่อสารแบบมัลติมีเดีย เช่น Real-time audio, Video และการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายแพ็กเก็ต

รวมทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

     H.323 เป็นส่วนหนึ่งในโพรโตคอลมาตรฐานตระกูล H.32x ซึ่งประกาศใช้โดย International

Telecommunication Union (ITU) เพื่อให้บริการด้านมัลติมีเดียบนเครือข่ายที่แตกต่างกัน โดยไม่รับ

ประกันคุณภาพของบริการ (Qos) ซึ่ง H.323 จะอยู่บนพื้นฐานของ Real-time protocol / Real-time

control protocol เพื่อใช้สำหรับจัดการสัญญาณออดิโอ โดยจุดประสงค์หลักของมาตรฐาน H.323 ก็คือ

เชื่อมระหว่างเครือข่ายและการให้บริการมัลติมีเดียอื่น ๆ นั่นเอง

     จากตาราง จะเห็นได้ว่าตามข้อกำหนดของ H.323 ที่สมบูรณ์นั้น เต็มไปด้วยมาตรฐานและโอเวอร์เฮด

จำนวนมาก ซึ่งบางข้อกำหนดย่อย ๆ อาจไม่มีความจำเป็นในการใช้งาน โดยรายละเอียดเพิ่มเติมของ H.323

สามารถดูได้จากที่ www.protocols.com

 

 

<<< กลับไป หน้า 2                                                                         ถัดไป หน้า 4 >>>