Session Initiation Protocol (SIP)
นอกเหนือจาก H.323 แล้วยังมี Session Initiation Protocol (SIP) ที่กำหนดขึ้นโดย International
Engineering Task Force (IETF) ซึ่งเป็นโพรโตคอลในการสื่อสารข้อมูลแบบสตรีมไลน์ (Streamlined)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับไอพีโฟน SIP ได้รับการออกแบบให้มีขนาดเล็กและมีประสิทธิภาพสูงกว่า H.323 โดย
ส่วนประกอบที่สำคัญของ SIP คือ
1. Media Gateway Control Protocol (MGCP) จะสร้างการเชื่อมต่อระหว่างเกตเวย์กับโครงข่าย
โทรศัพท์ PSTN
2. Session Annoucement Protocol (SAP) ใช้สร้างเซสซันโดยเฉพาะกรณีที่ส่งข้อมูลแบบมัลติแคส
3. Real-time Streaming Protocol (RTSP) ทำหน้าที่ควบคุมการส่งข้อมูลให้เป็นไปตามคุณภาพที่
ต้องการ โดยทั้งสามส่วนนี้จะใช้ Session Description Protocol (SDP) เพื่อบอกรายละเอียดของมีเดีย
ที่สื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นเสียง วีดีโอหรือข้อมูลมัลติมีเดียอื่น ๆ
Media Gateway Control Protocol (MGCP)
มีหน้าที่กำหนดการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ประเภท Call Agents และ Telephony Gateway Call Agent
ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อ Media Gateway Controllers โดยเป็นศูนย์กลางประสานงานกับเครื่องตรวจสอบกิจกรรม
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบโทรศัพท์และเกตเวย์ รวมทั้งยังบอกเส้นทางเพื่อส่งข้อมูลเสียงไปยังปลายทาง
MGCP ถูกพัฒนามาจาก Simple Gateway Control Protocol และ Internet Protocol Device Control
Real-time Transport Protocol (RTP)
RTP ถูกใช้โดย SIP และ H.323 เพื่อทำงานด้านของการสื่อสารแบบเรียลไทม์ เช่น ออดิโอและวีดีโอบน
เครือข่ายแพ็กเก็ตสวิตชิง มีหน้าที่จัดการเรื่องข้อมูลประเภทเวลาไปยังผู้รับ โดยสามารถแก้ไขค่าดีเลย์ของ
สัญญาณได้ยอมให้ผู้รับสามารถค้นหาแพ็กเก็ตที่สูญหาย และประเมินเส้นทางในการส่งข้อมูลอีกด้วย
นอกจากนี้แล้ว RTP จะมีหน้าที่จัดการในเรื่องของการส่งข้อมูลไปยังผู้รับ ซึ่งสามารถกู้คืนได้ในกรณีที่
แพ็กเก็ตสูญหายหรือ jitter โดย RTP ได้รับการประกาศใช้จาก IETF ใน RFC 1889 ซึ่งหน้าที่หลักก็เพื่อให้
บริการฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น การจัดลำดับ การกำหนด payload และ intra-media synchrinization กับ
Real-time Transport Control Protocol (RTCP)
Real-time Transport Control Protocol (RTCP)
RTCP เป็นโพรโตคอลที่ทำงานร่วมกับ RTP เพื่อควบคุมทำงานในเรื่อง QoS Feedback การควบคุม
เซสซัสของการส่งข้อมูล การกำหนดเกี่ยวกับผู้ใช้ และ inter media synchrinization เพื่อเข้าจังหวะ
ระหว่างออดิโอและวีดีโอสตรีม
Real-time Streaming Protocol (RTSP)
RTSP ประกาศโดย IETF ใน RFC 2326 เพื่อควบคุมการส่งข้อมูลประเภทมีเดียแบบเรียลไทม์
Session Description Protocol (SDP)
SDP เป็นโพรโตคอลที่ประกาศโดย IETF ใน RFC 2327 ให้ความช่วยเหลืออธิบายในเรื่อง multimedia
session ซึ่งใช้สำหรับบอกให้รู้ถึง Session, session invitation
ทั้งหมดนี้เป็นโพรโตคอลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบโทรศัพท์ผ่านไอพี นอกจากเรื่องของ
โพรโตคอลแล้ว เรื่องที่ควรเรียนรู้ก่อนการนำระบบโทรศัพท์แบบนี้มาใช้ก็คือ ขั้นตอนของการออกแบบและติด
ตั้งระบบนั่นเอง
ระบบโทรศัพท์ผ่านไอพี นับเป็นเทคโนโลยีที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของเครือข่ายที่มีอยู่ได้มาก
ขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถลดค่าใช้จ่ายของการสื่อสารลงได้ ซึ่งหัวใจของเทคโนโลยีดังกล่าวก็คือ
การรวมระบบสื่อสารทางด้านเสียงและข้อมูลเข้าไว้ด้วยกัน ถ้ามีระบบเครือข่ายที่เร็วพออยู่แล้วการใช้ระบบ
โทรศัพท์แบบนี้แทบจะไม่ส่งผลกระทบกับการทำงานเดิมที่มีอยู่เลย
สำหรับขั้นตอนการติดตั้งระบบนั้น สามารถทำได้โดยใช้กระบวนการ PDIO ซึ่งประกอบด้วย วางแผน
(Plan), ออกแบบ (Design), ติดตั้ง (Implementation), ใช้งาน (Operation) และการออปติไมซ์
(Optimizaion) กลยุทธ์นี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่า สามารถช่วยให้การเพิ่มเทคโนโลยีด้วยระบบ
โทรศัพท์ผ่านไอพี ลงในระบบไอทีที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. วางแผน (Plan)
เป็นขั้นแรกที่จะต้องประเมินทรัพยากรที่มีอยู่และความต้องการใช้งานในส่วนที่เพิ่มเติม (กรณีที่มีเครือ
ข่ายอยู่แล้ว) เพื่อให้ทราบก่อนว่าระบบเครือข่ายที่มีอยู่นั้น สามารถรองรับแอพพลิเคชันของระบบโทรศัพท์ที่
จะติดตั้งได้หรือไม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นของความเข้ากันได้ (Compatible) ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือ
ข่ายต้องทำงานร่วมกับระบบที่มีอยู่ได้โดยมีการแก้ไขเพียงเล็กน้อยเท่านั้นหรือไม่ต้องมีการแก้ไขอะไรเลย ก็จะ
ดีมาก เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ในขั้นตอนของการประเมินควรจะตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่
ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบรักษาความปลอดภัย ไอพีแอดเดรส จุดเชื่อมต่อต่าง ๆ (Link) และเคเบิล
สามารถทำงานร่วมกับระบบโทรศัพท์ผ่านไอพีได้ ซึ่งต้องมีการประเมินข้อมูลเกี่ยวกับ PBX ที่ใช้อยู่ (เช่น
แบนด์วิดธ์เพียงพอหรือไม่เป็นต้น) เพื่อให้สามารถคาดเดาประสิทธิภาพของการสื่อสารด้วยเสียง เทียบ
กับความต้องการหลังจากที่ติดตั้งระบบโทรศัพท์ไปแล้ว
ด้วยการวางแผนที่ดี เราจะสามารถเปลี่ยนไปใช้ระบบโทรศัพท์ได้อย่างรวดเร็วและไม่ก่อให้เกิดปัญหา
ตามมาในภายหลัง จากข้อมูลในขั้นตอนนี้ สามารถคาดเดา Utilization ของระบบเครือข่ายได้ว่าควรจะเป็น
เท่าใด รวมทั้งยังทำให้ทราบอีกด้วยว่า ต้องติดตั้งอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมจึงจะทำให้ระบบโทรศัพท์ตอบสนอง
ความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
2. การออกแบบ (Design)
หลังจากที่ขั้นตอนประเมินผ่านไปแล้ว ขั้นต่อมาก็คือจะต้องออกแบบเครือข่ายของระบบโทรศัพท์ผ่าน
ไอพี ถึงแม้ว่าเราจะได้ออกแบบระบบโทรศัพท์แบบนี้ไว้อยู่แล้ว แต่เราควรออกแบบทางเลือกไว้หลาย ๆ แบบ
(เช่น การออกแบบโดยเน้นให้ประหยัดงบประมาณ หรือออกแบบให้ระบบมีทรัพยากรเหลือสำหรับแอพพลิเค
ชันในอนาคตมากที่สุด เป็นต้น) เพื่อให้สามารถนำการออกแบบแต่ละอย่างมาเปรียบเทียบกันได้ว่า การออก
แบบใดจะเหมาะสมมากที่สุด
สำหรับประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในขั้นตอนนี้ อาจจะต้องแบ่งได้เป็นประเด็นที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวข้อง
กับฟังก์ชันการทำงานของระบบ โดยประเด็นที่เกี่ยวข้องก็ได้แก่ จำนวนสายโทรศัพท์ที่ต้องใช้ จะมีบริการ
วอยซ์เมล์ บริการตอบกลับอัตโนมัติ หรือระบบฝากข้อความผ่านอีเมล์หรือไม่ เป็นต้น ส่วนประเด็นที่ไม่เกี่ยว
ข้องก็จะประกอบด้วยความปลอดภัย (Security), ระบบสำรอง (Redundancy), ความสามารถในการขยาย
ระบบ (Scalability) และการทำงานร่วมกับระบบไอทีที่มีอยู่ (Integration)
สำหรับการออกแบบเพื่อให้ทำงานร่วมกับระบบที่มีอยู่เดิมได้นั้น นับเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยที่เราต้อง
คำนึงถึงการออกแบบระบบเครือข่ายแลน/แวนให้สอดคล้องกันในส่วนของซอฟต์แวร์ก็อาจจะใช้ระบบไดเรกทอรี
Lightweight Directory Access Protocol (LDAP) เพื่อให้เข้าใช้ข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในบางครั้งเราอาจต้องการใช้งานทั้งระบบโทรศัพท์ผ่านไอพีและ PBX แบบเดิมควบคู่กันไป ซึ่งจำเป็นต้องได้
รับการออกแบบให้เหมาะสมด้วยเช่นกัน
การคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า การออกแบบระบบโทรศัพท์ผ่าน
ไอพีนี้ จะสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างครบถ้วน โดยมี Qos (Quality of Service) เพื่อตรวจ
สอบคุณภาพในการให้บริการอีกที ในขณะที่ขั้นตอนดังกล่าวจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดการลงได้อีกมากที
เดียว
3. การติดตั้ง (Implementation)
การติดตั้งนับเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญไม่น้อย เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ทำให้ระบบโทรศัพท์ผ่านไอพีมี
ฟังก์ชันตรงตามที่ต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างครบถ้วน สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับการ
วางแผนในขั้นตอนนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ แผนในการติดตั้งและแก้ไขเครือข่ายที่มีอยู่ แผนในการเริ่มต้น
การใช้งาน ที่สำคัญก็คือ การทดสอบระบบ (Acceptance Testing) เพราะจะต้องใช้เวลาที่เหมาะสมนั่นคือไม่
มากจนทำให้ความใช้งานเกิดความล่าช้า ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่น้อยเกินไปจนก่อให้เกิดปัญหาต่อการใช้
งานจริง
สำหรับประโยชน์ที่ได้จากการวางแผนในขั้นตอนนี้ก็คือ ช่วยลดประเด็นที่อาจก่อให้เกิดความผิดพลาด
ของระบบโทรศัพท์ผ่านไอพีเมื่อใช้งานจริงได้ เช่นเดียวกับที่ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ช่วย
ให้การใช้งานระบบโทรศัพท์แบบใหม่นี้มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด
4. การใช้งาน (Operation) และการออปติไมซ์ (Optimization)
เป็นสองขั้นตอนสุดท้ายก่อนการติดตั้งระบบโทรศัพท์ผ่านไอพี โดยการวางแผนการใช้งาน จะช่วยให้
การลงทุนในระบบมีความคุ้มค่าและช่วยให้เจ้าหน้าที่ รวมทั้งผู้ใช้สามารถเริ่มต้นกับระบบโทรศัพท์ที่ติดตั้งนี้ได้
โดยเกิดปัญหาให้น้อยที่สุด รวมถึงยังช่วยเตรียมแผนสำรองในกรณีที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ส่วนการวาง
แผนในขั้นของออปติไมซ์นั้นทำให้สามารถใช้งานทรัพยากรของระบบเครือข่ายที่มีอยู่อย่างเต็มที่และคุ้มค่ามาก
ที่สุด ซึ่งก็หมายถึง การเพิ่มประสิทธิภาพ ลดปัญหาที่เกี่ยวกับเครือข่ายและลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวลงได้นั่นเอง
ด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบและรัดกุม จะช่วยให้การขยายระบบเครือข่ายเพื่อรองรับการให้บริการ
ระบบโทรศัพท์ผ่านไอพีทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยังคงคุณภาพในการให้บริการกับแอพพลิเคชันที่มีอยู่
เดิมไปจนถึงฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารด้วยเสียงได้สูงสุด นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการจัดเตรียม
ทรัพยากรบุคคลและการฝึกอบรม เพื่อให้พร้อมกับเทคโนโลยีใหม่รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันอำ
นวยความสะดวกของระบบโทรศัพท์ได้อย่างเต็มที่มากที่สุดด้วย
ระบบโทรศัพท์ผ่านไอพีนับเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญตอบสนองความต้องการที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารด้วย
เสียง ในขณะเดียวกันก็ลดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารด้วยโทรศัพท์ขององค์กรที่เป็นธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงขนาด
ใหญ่ที่มีการขยายตัว สำหรับการติดตั้งระบบโทรศัพท์แบบนี้แล้ว ทุกอย่างสามารถเป็นไปได้ตามแผนถ้าดำเนิน
ตามขั้นตอนตามกระบวนการ PDIO ซึ่งจะช่วยให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเครือข่ายที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่และ
คุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด
<<< กลับไป หน้า 3 ถัดไป หน้า 5 >>>