มาตราการสู่เสรี |
การเปิดเสรีธุรกิจโทรคมนาคม โดยการยกเลิกการผูกขาดของรัฐและ พัฒนาการประกอบกิจการโทรคมนาคม ไปสู่การเปิดเสรีเต็มรูปแบบในปี พ.ศ.2549 ตามข้อกำหนดขององค์การ ค้าโลก แบ่งแนวทางการเปิดเสรีออกเป็น ระยะก่อนกำหนดเปิดเสรี และระยะหลัง การปิดเสรี ระยะกำหนดการเปิดเสรีจะดำเนิน การในส่วนของการขยายโทรศัพท์พื้นฐาน ให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ร่วมกันขยายโทรศัพท์ท้องถิ่นและวงจร โทรศัพท์ทางไกลทั้งในประเทศและต่าง ประเทศให้เพียงพอเท่าที่จำเป็นและ ให้ เอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการได้ตาม ความเหมาะสมในลักษณะร่วมลงทุนธุรกิจ การขยายโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบท ให้ ทศท. เร่งรัดติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะ ทางไกลชนบทให้ครบทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ โดยให้มีเลขหมายเฉลี่ยได้ไม่ต่ำกว่า 3 เลขหมาย ในแต่ละหมู่บ้าน และปรับปรุงที่มีอยู่เดิม ให้เป็นบริการโทรศัพท์พื้นฐานให้เป็นไป ตามความเหมาะสมของระดับการพัฒนา ชุมชน และกำลังเงินของ ทศท. สำหรับการปรับปรุงการแข่งขัน บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ ทศท. และ กสท. ร่วมกันดำเนินการให้มีบริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ในย่านความถี่ใหม่ โดยกระทรวงคมนาคมอาจมีส่วนในการ กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และข้อกำหนด ต่างๆที่จะให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการ ส่วนการเพิ่มการแข่งขันบริการ โทรคมนาคมอื่นๆ ให้ ทศท. และ กสท. ร่วมกันให้บริการโทรคมนาคมมูลค่าเสริม อื่นๆ เช่น โทรศัพท์ติดตามตัว โทรศัพท์ สาธารณะแบบใช้บัตร โทรศัพท์ข้อมลู เสียงและอาจให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการ ได้ตามหลักการเช่นเดียวกับบริการโทรศัพท์ พื้นฐาน |
ส่วนการเพิ่มการแข่งขันบริการ โทรคมนาคมอื่นๆ ให้ ทศท. และ กสท. ร่วมกันให้บริการโทรคมนาคมมูลค่าเสริม อื่นๆ เช่น โทรศัพท์ติดตามตัว โทรศัพท์ สาธารณะแบบใช้บัตร โทรศัพท์ข้อมลู เสียงและอาจให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการ ได้ตามหลักการเช่นเดียวกับบริการโทรศัพท์ พื้นฐาน ด้านการแปรสัญญาร่วมการงานต่างๆ ให้มีการเจรจาต่างๆ ระหว่างกระทรวง คมนาคม กรมไปรษณีย์โทรเลขทศท. และ กสท. ให้สามารถแข่งขันได้อย่างเป็นธรรม ในส่วนของ ระยะหลังเปิดเสรี แผนแม่บทฯ ได้กำหนดประเภทของการ บริการ และประกอบกิจการโทรคมนาคมไว้ 4 ประเภท คือ บริการโทรคมนาคมพื้นฐาน, บริการโทรคมนาคมมลูค่าเสริม, บริการ โทรคมนาคมเทคโนโลยีสารสนเทศและ บริการพหุสื่อ สำหรับ ประเภทของ ผู้ประกอบการ แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม, ผู้ให้บริการ โครงข่ายโทรคมนาคม, และผู้ให้บริการ โทรคมนาคมพร้อมกัน โดยจะมีเงื่อนไขใน การรับใบอนุญาตเฉพาะประเภท ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ ในการเปิดเสรี โทรคมนาคม จะถูกกำหนดโดยคณะกรรท ฃมการสื่อสารแห่งชาติ (กสช.)ให้สามารถ แข่งขันกันได้อย่างเท่าเทียมกันส่วนจำนวน ผู้ให้บริการแต่ละประเภทเป็นไปตามที่ กสช. กำหนดหากจำเป็นอีกทั้งการแข่งขัน การให้บริการ กำหนดให้เอกชนเข้ามาแข่งขัน ได้ทันทีเมื่อเปิดแข่งขันเสรี โดยไม่จำเป็นต้องมี ระยะเวลาคุมครองกิจการของ ทศท. และ กสท.
|