แผนการแปลสภาพ ทศท.


     
ด้าน ทศท. การแปรสภาพมีขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญคือ
ขั้นตอนที่ 1 จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ทศท. (รัฐวิสาหกิจ) จำกัด
ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 เนื่องจาก ทศท. 
เป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของในการแปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจ
เป็นบริษัท จึงอาศัย พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ในการเปลี่ยน
"ทุน" ของ ทศท.เป็น "ทุนเรือนหุ้น" ในรูปแบบของบริษัท การจด
ทะเบียนจัดตั้งบริษัทจึง ดำเนินตามขั้นตอนพระราชบัญญัติทุน
รัฐวิสาหกิจ.ศ.2542 ขั้นตอนที่2 ดำเนินการแปรสภาพตามแผน
แม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคมโดย จัดตั้งบริษัทรวมทุน
(HoldingCompany) โดยมีบริษัท ทศท. จำกัด เป็นบริษัทดำเนิน
ธุรกิจ และ บริษัทรวมทุนเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด


ลำดับถัดมา คือแปรสภาพจากบริษัท ทศท. (รัฐวิสาหกิจ) จำกัด
ให้มีสถานะเป็นบริษัทเอกชนจำกัด รัฐถือหุ้นต่ำกว่า 50% โดยหาพันธ
มิตรร่วมทุน และผู้ลงทุนเฉพาะรายเข้ามาถือหุ้นในบริษัท ทศท. จำกัด
และจัดสรรหุ้นให้กับผู้ปฏิบัติงานเดิมของ ทศท. ตามแผนการแปร
สภาพคาดว่าจะได้พันธมิตรร่วมทุนประมาณกลางปี พ.ศ.2545 และ
ผู้ลงทุนเฉพาะรายประมาณกลางปี พ.ศ.2546 จากนั้นแปรสภาพเป็น
บริษัทมหาชนและเสนอขายหุ้นให้กับสาธารณะชน รัฐถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 
30% ซึ่งตามแผนการแปรสภาพคาดว่า จะจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน 
จำกัด (ประมาณกลางปี พ.ศ.2547) และเสนอขายหุ้นให้กับสาธารณะชน
และนำหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ประมาณต้นปี 
พ.ศ.2548) 


สำหรับหลักการในการพิจารณาอนุมัติในการดำเนินการแปร
สภาพตามแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ประกอบด้วยการอนุมัติหลัก
การและแนวทางในการแปรสภาพซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติไปแล้ว
ทั้งในส่วนของ ทศท. และ กสท. และการอนุมัติจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
ทั้งของ กสท. และ ทศท. ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะ
กรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทของ ทศท. และ กสท. เพื่อพิจารณาราย
ละเอียดตามมาตรา19 ของพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 
เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจพิจารณานำเสนอเพื่อ
อนุมัติจดทะเบียนต่อไป

แม้ว่า การเดการค้าเสรีโลกที่ WTO เป็นผู้กำหนดจะเกิดขึ้น
ในปี พ.ศ. 2549 แต่สำหรับประเทศไทยแล้วการเปิดเสรีนั้นยังไม่มีกำหนด
ที่แน่นอน ส่วนหนึ่งเนื่องจากว่าการดำเนินการได้นั้นเป็นหน้าที่ของคณะ
กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) เป็นผู้ดำเนินการแต่หากว่า 
ขณะนี้ กทช. ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาในการคัดสรรอยู่ ซึ่งเชื่อแน่ว่า
ทุกฝ่ายต่างใจจดใจจ่อกันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นครั้งใหญ่สำหรับ
ประเทศไทย ในการเปิดประตูสู่การค้าเสรีเพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงวิกฤต
ให้เป็นโอกาสได้จึงหวังต่อการเร่งดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ให้เท่า
ทันกับการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล เพราะหลายฝ่ายต่างก็เตรียมความ
พร้อมกันอย่างถ้วนหน้าทีเดียว


                                                              กลับหน้าแรก