@rticle

IP : Internet Protocol
 
 

 

 

 

       

 

IP Routing

การส่งข้อมูลของ TCP/IP มีรูปแบบการส่งข้อมูลเป็นแบบอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ โดยอุปกรณ์ที่ทำงานในเลเยอร์ของ IP ในระบบเครือข่ายคืออุปกรณ์เราเตอร์ (router) โดยเมื่อข้อมูลถูกส่งมาถึงเราเตอร์แล้ว เราเตอร์จะพิจารณาเฉพาะเราเตอร์ที่อยู่ข้างเคียงเท่านั้น และมีการแก้ไขข้อมูลโดยอัตโนมัติเมื่อมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้เครือข่าย IP เป็นเครือข่ายที่มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย

 

อุปกรณ์ในเครือข่าย IP ถ้ามองในระดับของเลเยอร์ IP แล้วอาจจะแยกออกได้ 2 ประเภทคือ Host เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งหรือผู้รับข้อมูล ข้อมูล source IP address และ destination IP address ในเฮดเดอร์ของ IP คือการกำหนดโฮสท์ต้นทางและปลายทาง และอุปกรณ์อีกประเภทหนึ่งคือ เราเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านข้อมูลจากเน็ตเวิร์คหนึ่ง ไปยังอีกเน็ตเวิร์คหนึ่ง โดยตำแหน่งของเราเตอร์จะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเน็ตเวิร์ค เนื่องจากข้อกำหนดของโปรโตคอล IP ที่มีข้อมูลระหว่าง 2 เน็ตเวิร์คจะไม่สามารถส่งผ่านถึงกันโดยตรงได้ การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเน็ตเวิร์คจึงจำเป็นที่ต้องใช้เราเตอร์ในการส่งผ่าน นอกจากนี้ยังสามารถใช้เราเตอร์ในการกำหนดกฎการส่งผ่านข้อมูล (access-list) ของเน็ตเวิร์คได้ด้วย เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยของเน็ตเวิร์ค

เน็ตเวิร์คในโปรโตคอล IP จะมีการระบุหมายเลข IP ของเน็ตเวิร์ค เพื่อให้เราเตอร์สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ถูกต้อง เนื่องจากเราเตอร์ทำหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลระหว่างเน็ตเวิร์คเท่านั้น โดยจะพิจารณาว่าโฮสท์ปลายทางอยู่ในเน็ตเวิร์คใด ดังนั้น ถ้ามีการกำหนดหมายเลข IP ของโฮสท์ที่ไม่เหมาะสมกับเน็ตเวิร์คที่โฮสท์นั้นสังกัดอยู่ ข้อมูลจะไม่สามารถส่งจากเน็ตเวิร์คอื่นมายังโฮสท์นั้นได้

ในอุปกรณ์เราเตอร์จะมีข้อมูลกำหนดเส้นทางเรียกว่า routing table ซึ่งจะช่วยให้การส่งข้อมูลไปยังเส้นทางที่ดีที่สุดซึ่งจะประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญดังนี้

  • Destination IP Address แอดเดรสของเน็ตเวิร์คปลายทาง

  • IP Address of Next-hop Router คือ หมายเลข IP ของเราเตอร์ถัดไป

  • Net mask ค่าเนตมาร์ค

  • Flags เป็นข้อมูลส่วนขยายเพิ่มเติมของ destination  IP address และ next-hop router

  • Interface คือ อินเทอร์เฟชของเราเตอร์ที่ใช้ในการส่ง datagram

เช่น

 

Destination  
Gateway 
  Netmask     Flags   Iface

           161.246.48.0              161.246.48.1                   255.255.255.0                      U                            e0

161.246.26.0            161.246.26.1                  255.255.255.0                     U                             el

0.0.0.0                        161.246.1.1                         0.0.0.0                             UG                          s0

เมื่อมี datagram เข้ามายังเราเตอร์แล้ว จะนำ datagram IP address ของ datagram ทำการ AND  กับ netmask ซึ่งจะทำให้ได้ค่าแอดเดรส IP ของเน็ตเวิร์ค จากนั้นจะนำไปเทียบกับค่าในตารางตามลำดับและเลือกเส้นทางที่ตรงกับค่าหมายเลข IP ของเน็ตเวิร์คแรกที่พบ เช่น ถ้าต้องการส่งข้อมูลไปยังโฮสท์ 161.246.26.0 เป็นค่าหมายเลข IP ของเน็ตเวิร์ค ดังนั้นข้อมูลนี้จึงถูกส่งออกไปยังอินเทอร์เฟช e1 โดยมีค่า net-hop คือ 161.246.26.1

ในกรณีที่ไม่สามารถหาหมายเลข IP เน็ตเวิร์คที่เหมาะสมได้ เราเตอร์จะมีการกำหนด default router ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่ถูกเลือกในกรณีที่ไม่พบทางเลือกอื่นที่เหมาะสม โดยจะกำหนดค่า destination IP address เป็น 0.0.0.0 หรืออาจจะกำหนดเป็น default ก็ได้

จะเห็นว่าเราเตอร์ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูล router table ของทุกเน็ตเวิร์คไว้ แต่จะเก็บเฉพาะข้อมูลของเราเตอร์ข้างเคียงที่ต่อเชื่อมอยู่ การส่งข้อมูลจะพิจารณาเป็นช่วงๆ จาก hop หนึ่ง ไปอีก hop หนึ่ง ซึ่งถ้าเราเตอร์มีข้อมูลในตาราง routing table ที่ถูกต้องแล้ว ข้อมูลจะสามารถไปถึงเป้าหมายได้เสมอ แต่อาจจะไม่ใช่เส้นทางเดียวกันในการส่งแต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับ routing protocol ที่ใช้

การกำหนด routing table มี 2 รูปแบบคือ การกำหนดแบบ static routing โดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายจะเป็นผู้กำหนดค่าใน routing table เอง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการใช้งาน ใช้ในกรณีที่การส่งข้อมูลระหว่างเน็ตเวิร์คมีเพียงเส้นทางเดียว หรือต้องการให้การส่งผ่านข้อมูลเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด และการกำหนด routing table อีกแบบหนึ่งคือการกำหนดแบบ dynamic routing โดยใช้ routing protocol ในการหาเส้นทางที่เหมาะสม ซึ่งข้อมูลใน routing table อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเน็ตเวิร์คมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เราเตอร์บางตัวไม่สามารถใช้งานได้ หรือปริมาณของการสื่อสารในลิงค์หนึ่งมีความคับคั่งมาก โดยในการเปลี่ยนแปลงจะเกิดการสื่อสารระหว่างเราเตอร์เพื่ออัพเดทข้อมูลโดยใช้ routing protocol ในการค้นหาเส้นทางอื่นที่ส่งข้อมูลไปยังเป้าหมายได้ หรือเส้นทางอื่นที่ดีกว่า ซึ่ง routing protocol ก็จะมีหลายโปรโตคอล เช่น OSPF (Open Shortest Path First), RIP (Routing Information Protocol), IGRP (Interior Gateway Routing Protocol) หรือ BGP (Border Gateway Protocol) โดยแต่ละโปรโตคอลจะมีความเหมาะสมในการใช้งานที่ต่างกัน

การส่งข้อมูลของเราเตอร์ จะส่งข้อมูลไปครั้งละ 1 hop เส้นทางทั้งหมดจะไม่สามารถระบุได้ ยกเว้นจะเป็นการกำหนดแบบสแตติกในทุกๆ hop ของเส้นทางทั้งหมด ซึ่งวิธีการนี้มีข้อดี 2 อย่างคือ แพคเกจของข้อมูลทั้งหมดอาจจะไม่ถูกส่งไปในเส้นทางเดียวกัน ขึ้นอยู่กับข้อมูลใน routing table ในขณะนั้น โดยเราเตอร์จะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดให้ ทำให้การส่งข้อมูลทำได้เร็วขึ้น ข้อดีประการที่ 2 คือ เมื่อมีเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งไม่สามารถใช้งานได้ เราเตอร์จะสามารถหาเส้นทางอื่นในการส่งข้อมูลไปแทนได้ ซึ่งเป็นจุดประสงค์หนึ่งในการสร้างความมีเสถียรภาพในการส่งข้อมูลของเครือข่าย TCP/IP

<<< หน้าที่แล้ว หน้า 1 หน้าถัดไป หน้า 3 >>>