Telecom_KMITL
HSPDA (High Speed Downlink Packet Access)
Present
C.K.MULTIMEDIA Co.,Ltd.
เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่นับเป็นวิวัฒนาการขั้นถัดมาจากเครือข่าย W-CDMA อันเป็นมาตรฐาน 3G จากค่ายยุโรป ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงกว่าเทคโนโลยี cdma2000 ซึ่งเป็นมาตรฐาน 3G จากค่ายสหรัฐอเมริกา เป็นที่ทราบกันดีว่าอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลของมาตรฐาน W-CDMA มาตรฐานนั้นถูกจำกัดอยู่ที่ 384 กิโลบิตต่อวินาที องค์กร 3GPP (Third Generation Partnership Program) ซึ่งเป็นผู้วางข้อกำหนดมาตรฐานของเครือข่าย W-CDMA จึงกำหนดให้มีการพัฒนารูปแบบการรับส่งข้อมูลทางคลื่นวิทยุของอุปกรณ์สถานีฐาน W-CDMA ซึ่งมีชื่อเรียกสถานีฐานนั้นว่า Node B ด้วยการนำเทคโนโลยีการมอดูเลตสัญญาณ และการเข้ารหัสข้อมูลแบบใหม่ เพื่อช่วยทำให้อัตราเร็วในการส่งข้อมูลจาก Node B มายังเครื่องลูกข่ายสื่อสารไร้สาย เพิ่มขึ้นเป็น 14 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่การส่งข้อมูลกลับจากอุปกรณ์สื่อสารไร้สายไปยัง Node B ยังคงใช้อัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งว่าเพียงพอและสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้บริการสื่อสารข้อมูลแบบบรอดแบนด์ที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มีการดาวน์โหลดข้อมูลจากเครือข่ายมากกว่าการส่งข้อมูลย้อนกลับไป อย่างไรก็ตาม ภายใน พ.ศ. 2550 เครือข่าย W-CDMA ที่มีการเปิดใช้เทคโนโลยี HSDPA นี้ ก็จะมีการพัฒนาต่อไปเป็นเครือข่ายแบบ HSUPA (High Speed Uplink Packet Access) ซึ่งมีผลทำให้อัตราเร็วในการรับและส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สื่อสารไร้สายและ Node B มีค่า 14 กิโลบิตต่อวินาทีเท่ากัน จากรูปแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของเทคโนโลยี HSDPA กับความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลขนาดเล็ก เช่น ไฟล์รูปภาพที่ถ่ายจากกล้องดิจิตอลภายในตัวเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่เอง ไปจนถึงการรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่เช่น Video Clip หรือไฟล์ข้อมูลจากโปรแกรม Microsoft Office ต่าง ๆ โดยการเปรียบเทียบนั้นทำบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงเมื่อคิดว่าเครือข่าย HSDPA ซึ่งรองรับการส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็ว 14 เมกะบิตต่อวินาทีนั้น เมื่อคิดคำนวณเป็นค่าความเร็วเฉลี่ยที่ผู้ใช้บริการรายหนึ่งพึงใช้ได้ในกรณีที่มีผู้ใช้งานพร้อม ๆ กันหลายคน ก็น่าจะได้ความเร็วที่ประมาณ 2 เมกะบิตต่อวินาทีในมุมมองของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ W-CDMA การเปิดให้บริการ BWA โดยพัฒนาเครือข่ายของตนให้รองรับเทคโนโลยี HSDPA เป็นเรื่องที่ง่ายและใช้ต้นทุนต่ำมาก เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ Node B แต่อย่างใด การพัฒนาเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนซอฟท์แวร์ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ Node B เท่านั้น
สวัสดีครับ ..
อย่างแรกก็คงต้องสวัดดีก่อนตามมารยาท (หรือไม่ใช่หว่า) นี่ก็เป็นเวบเพจของผมนะคับ คงจะมีเนื่อหาไรไม่มากเท่าไร แต่ยังไงก็คงจะให้ประโยชน์ได้บ้างนะคับ อิอิิอิ ของให้ทุกคนมาดูกันหน่อยแล้วกันนะคับ
ขอบคุณครับ
AKE_4A
โทรคมนาคม
พระจอมแกล้าฯ ลาดกระบัง
งามใดเล่า ...
งามเท่าชาวชงโค
สูงใดเล่า ...
เท่าเสาโทรสูงเสียดฟ้า
แกร่งใดเล่า ...
เท่าเกียร์แกร่งแห่งศรัทธา
เกียรติใดเล่า ...
เท่าวิศวะลาดกระบัง
King Mongkut's Institute
of Technology Ladkrabang
Telecom KMITL
My Homepage
My Spaces
E-Mail