เราขอเสนอเทคโนโลยีการสื่อสาร....
                                             
              
อันที่จริงดาวเทียม ( Satellite ) ก็คือ.. สถานีไมโครเวฟลอยฟ้านั้นเอง ซึ่งทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณข้อมูล รับและส่งสัญญาณ
ข้อมูลกับสถานีดาวเทียมที่อยู่บนพื้นโลก สถานีดาวเทียมบนภาคพื้นจะทำการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียมซึ่งจะหมุนไปตามการหมุนของโลกฃึ่งมีตำแหน่ง
คงที่เมื่อเทียบกับตำแหน่งบนพื้นโลก   ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปให้ลอยอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ  36,000  กม.  เครื่องทบทวนสัญญาณของดาวเทียม
( transponder ) จะรับสัญญาณจากสถานีภาคพื้นฃึ่งมีกำลังอ่อนลงมากแล้วมาขยาย จากนั้นจะทำการทบทวนสัญญาณและตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลาย
ทางแล้วจึงส่งสัญญาณข้อมูลไปด้วยความถี่อีกความถี่หนึ่งลงไปยังสถานีปลายทาง การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปหาดาวเทียมเรียกว่า สัญญาณ อัปลิงก์ ( up-link )
และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า สัญญาณดาวน์ลิงก์ ( down-link ) 

              
ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด ( point-to-point ) หรือแบบแพร่สัญญาณ( broadcast ) ดังรูป....


                                 

          
              ก. แบบจุดต่อจุด                                                                       ข. แบบแพร่กระจาย


                   สถานีดาวเทียม 1 ดวงสามารถมีเครื่องทวนสัญญาณได้ถึง 25 เครื่องและสามารถครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน3 ของพื้นผิวโลก
ดังนั้นถ้าจะส่งสัญญาณข้อมูลให้ได้รอบโลกสามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเพียง 3 ดวงเท่านั้น
ระหว่างสถานีดาวเทียมทั้ง 2 ดวงที่ใช้ความถี่สัญญาณเท่ากัน ถ้าอยู่ใกล้กันเกินไปอาจจะทำให้เกิดการรบกวนสัญญาณ
ฃึ่งกันและกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวน หรือชนกันของสัญญาณดาวเทียม จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างของดางเทียม
และย่านความถี่ของสัญญาณดังนี้

             
  1. ระยะห่างกัน 4 องศา ( วัดมุมเทียบกับจุดศุนย์กลางของโลก ) ให้ใช้ย่านความถี่ของสัญญาณ 4/6 จิกะเฮิรตซ์ หรือย่าน C แบนด์โดยมี
แบนด์วิดน์ของสัญญาณ อัป-ลิงก์เท่ากับ 5.925-6.425 จิกะเฮิรตซ์ และมีแบรด์วิดท์ของสัญญาณดาวน์-ลิงก์เท่ากับ 3.7-4.2 จิกะเฮิรตซ์

                       
2. ระยะห่างกัน 3 องศา ให้ใช้ย่านความถี่ ของสัญญาณ 12/14 จิกะเฮิรตฃ์ หรือย่าน KU แบนด์โดยมีแบรนด์วิดน์ของสัญญาณอัป-ลิงก์เท่ากับ
14.0-14.5 จิกะเฮิรตซ์ และมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณดาวน์-ลิงก์เท่ากัน 11.7-12.2 จิกะเฮิรตซ์

           
นอกจากนี้สภาพอากาศ  เช่น  ฝนหรือพายุ  ก็สามารถทำให้สัญญาณผิดเพี้ยนไปได้เช่นกัน สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลนั้นในแต่ละเครื่อง
ทบทวนสัญญานจะมีแบนด์วิดท์เท่ากับ 36 เมกะเฮิรตซ์ และมีอัตราเร็วการส่งข้อมูลสูงสุดเท่ากับ 50 เมกะบิตต่อวินาที

                   
ข้อเสีย...ของการส่งสัญญาณข้อมูลทาวดาวเทียม คือ สัญญาณข้อมูลอาจถูกรบกวนจากสัญญาณภาคพื้นอื่นๆ ได้อีกทั้งยังมีเวลาประวิง 
( delay time ) ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น-ลงของสัญญาณ และที่สำคัญคือ มีราคาสูงที่สุดในการลงทุน ทำให้ค่าบริการสูงตามขึ้นมาเช่นกัน

           ลักษณะการสื่อสารข้อมูลโดยผ่านทางดาวเทียมที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบันคือ บริการเครือข่าย วีแซท หรือ VSAT (  Very small aperture terminal ) 
เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
ดังรูปเครือข่าย ( vsat ) 

                     ในการสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียม ผู้ใช้เพียงทำการติดตั้งจานส่ง-รับสัญญาณข้อมูลกับดาวเทียมฃึ่งมีขนาดประมาณ 0.76-2.40 เมตร แต่สามารถ
ส่งสัญญาณข้อมูล ได้อัตราเร็วถึง 50 กิโลบิตต่อวินาที และมีอัตราเร็วในการรับสัญญาณข้อมูลสูงสุดที่ 256 กิโลบิตต่อวินาที ราคาขึ้นอยู่กับขนาดของจานดาว
เทียม ส่วนค่าบริการในการเช่าเครือข่ายวีแฃทจะคิดเป็นรายเดือนต่อ 1 สถานีและขึ้นอยู่กับระยะทางด้วย โดยค่าบริการจะอยู่ในราว ๆ 5,000-20,000 บาท
ต่อเดือนต่อสถานี

                      
อันนี้เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นทางการนะครับ....ถ้าจะใช้บริการละก็ควรติดต่อผู้ให้บริการโดยตรงจะดีที่สุดครับ.........

                     ........................................................................................

                                                            


                                 More information, please contact   E-mail : chatchai@ckmit.com