ราขอเสนอ เรื่องของขนาด....ฮ่ะ...อย่าคิดมาก..ๆๆ เพราะมันคือ "ขนาดความจุ" ของหน่วยบันทึกข้อมูลที่มีขนาดที่คุณใช้อยู่  ในปัจจุบันไปจนถึง
ขนาดเราเองก็คาดไม่ถึง เพื่อให้คุณจิตนาการได้ง่ายขึ้นเราขอสรุปมาตราส่วนขนาดของความจุตามมาตรฐาน ISO ดังนี้

( Thousand ) 
(  Million )
( Billion )
( Trillon ) 
( Quadrillion )
( Quintillion )
( Sextillion ) 
( Septillion ) 
( Octillon )
( Nonillion )
(Decillion )
1024 ตัวอักษร 
1024 ตัวอักษร 
1024 ตัวอักษร 
1024 ตัวอักษร 
1024 ตัวอักษร 
1024 ตัวอักษร 
1024 ตัวอักษร 
1024 ตัวอักษร 
เท่ากับ 1 
เท่ากับ 1 
เท่ากับ 1 
เท่ากับ 1 
เท่ากับ 1 
เท่ากับ 1 
เท่ากับ 1 
เท่ากับ 1 
กิโลไบต์ ( Kiobyte )
เมกะไบต์ ( Megabyte )
กิกะไบต์ ( Gigabyte )
เทราไบต์ ( Terabyte )
เพ็ดทาไบต์( Petapyte )
เอ็กฃาไบต์ ( Exabyte )
เฃ็ตทาไบต์ ( Zettebyte )
ยอททราไบต์ ( yottabyte )

                   ** 1 เทราไบต์ เป็นความจุเทียบเท่ากับหนังสือประมาณ 500 ล้านหน้า
                   ** ประมาณกันว่าเนื้อหาสิ่งตีพิมพ์ที่เก็บอยู่ที่ Library of Cogress มีอยู่ราว 10 เทราไบต์
                  ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ พีซี ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปสามารถเก็บข้อมูลได้สุงสุดประมาณ 80 กิกะไบต์ ต่อฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) 1 ตัว 
ซึ่งดูเหมือนว่าจะเหลือเฟือสำหรับการใช้งานในระดับครัวเรือน แต่ด้วยการเพิ่มขึ้นของข้อมูลประเภทภาพและเสียงแบบดิจิทัลในปัจจุบัน ทำให้ความต้อง
การเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลประเภทนี้เพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้


                                                          

                  เรา...ขอนำเสนอเทคโนโลยีที่จำแนกบุคคลให้แตกต่างกัน เทคโนโลยีที่ใช้หลักการวิเคราะห์รูปแบบของม่านตา ซึ่งคาดว่าจะเป็นที่นิยมของ
ธนาคารร้านค้า หรือกิจการ ที่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะดำเนินการตามความต้องการของลูกค้า

                  เทคโนโลยีดังกล่าว จะแยกแยะรูปแบบของม่านตามนุษย์ ซึ่งแตกต่างกัน โดยมุ่งเน้นไปใช้ระบบงาน หรือ บริการที่ไม่จำเป็นต้องใช้พนักงาน
คอยช่วยเหลือแนะนำหรือระบบงานที่เป็นการติดต่อระหว่างมนุษย์กับเครื่อง หรือ ระบบที่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบแยกแยะข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องการ
ความถูกต้องสูง โดยเทคโนโลยีนี้กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาให้มีต้นทุนต่ำกว่า 5,000  ดอลลาร์ ในปัจจุบันนี้ เพื่อใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ PC ได้
แพร่หลายขึ้น

                  เทคโนโลยีม่านตานี้ จะจำแนกบุคคลโดยวิเคราะห์รูปแบบ ด้านอิเล็กทรอนิกส์ของม่านตามนุษย์ ซึ่งด้านวิทยาศาสตร์แล้วพบว่า ลักษณะดังกล่าว
มีความเป็นเอกเทศในมนุษย์แต่ละคน  ม่านตา  สี  และกล้ามเนื้อวงแหวนซึ่งอยู่รอบๆ  รูม่านตาซึ่งพบเห็นได้ง่าย  และคงอยู่ตลอดชีวิต  สามารถกำหนด
สัมพันธ์ได้ในระดับถึง 256 ไบต์ ฃึ่งเรียกว่า "ไอริสโค้ด" ( Iris Code ) เทคโนโลยีนี้จะจับภาพของม่านตา แล้วมาวิเคราะห์หารูปแบบที่เป็นเอกเทศหลังจาก
นั้น จะนำมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายของม่านตาที่เก็บไว้แล้ว เพื่อตรวจสอบว่าเป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่ ฃึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถจะใช้กับการควบคุมการ
เข้าออก ณ จุดต่างๆ การขายปลีกสินค้า หรือเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูล บริษัท Sensar ในรัฐ New Jersey ได้ทดลองใช้เทคโนโลยี กับกิจการของธนาคาร
Citicorp และ Nation Wide Bank ในประเทศอังกฤษ พร้อมกับสถาบันการเงินอื่นๆ ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งในขั้นทดลองนี้ผู้ใช้จำเป็นต้องมีบัตรส่วนตัวเพื่อใช้
ร่วมด้วยโดยผู้พัฒนากล่าวว่า เมื่อพัฒนาต่อไปไม่มีความจำเป็นต้องใช้บัตรดังกล่าวแล้ว
 
            เมื่อมองถึงเทคโนโลยีที่จำแนกบุคคลในปัจจุบันนี้เปรียบเทียบกับการใช้สมาร์ทการ์ดและการวิเคราะห์ลายนิ้วมือ พบว่าการ
     วิเคราะห์ด้วยม่านตามีความถุกต้องมากกว่า จากการศึกษาของ IEEE พบว่าม่านตา ของ 2 คน จะมีไอริสโค้ดเหมือนกันนั้นมีความ
     น่าจะเป็นเพียง 1 ใน 107 เท่านั้น ยิ่งถ้าเราต้องการใช้เทคโนโลยีนี้ร่วมกับการใช้ดิจิทัลเซอทิฟิเคตคีย์ ( Digital Certificate Keys )
    
จะยิ่งมีระดับการตรวจสอบความถูกต้องเพิ่มมากขึ้นผู้ผลิตได้พยายามที่จะคิดค้นอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำลง  ซึ่งเมื่อรวม
     ทั้งซอฟต์แวร์และเครื่อง  PC  แล้วราคาน่าจะสามารถเหลือประมาณ  200  ดอลลาร์สหรัฐ  หากเทคโนโลยีนี้เป็นที่ยอมรับและแพร่
     หลายในอนาคต  วันข้างหน้า ระบบรักษาความปลอดภัยตามอาคารต่าง ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้คีย์การ์ด คุณเพียงมองไปที่กล้องวิดีโอ
     แล้วส่งยิ้ม 2-3 วินาที ก็เป็นอันเรียบร้อยแล้ว..   น่าสนใจมั้ยครับ.....


                                                     

        ทุกวันนี้...ท่านคงได้ยินคนพูดถึง  อี-บิสซิเนส ( e-business )  กัน บ่อยๆในวงการธุรกิจ จนเหมือนเป็นศัพท์แฟชั่นที่ฟังแล้วรู้สึกทันสมัย
ว่าธุรกิจของเรานั้นก้าวเข้าสู่ อี-บิสซิเนสแล้ว

             เราขอหยิบยกเรื่องอี-บิสฃิเนสขึ้นมาพูดนี้เพราะเห็นว่ามีการใช้ ผิดความหมายกันมาก ก็ไม่ใช่จะจุกจิกกับการใช้ภาษาหรอกน่ะเพียงแต่
่่บางครั้งเวลาสื่อความหมายแล้วทำให้เข้าใจผิด ตีความกันไปคนละเรื่อง
ยกตัวอย่างเช่น  ที่หลายๆ ท่านเข้าใจว่า การที่บริษัท ของตนมี web site
นั่นคือบริษัทมีอี-บิสซิเนสแล้ว   หรือบางแห่งดีขึ้นมาหน่อย คือมีถึงระดับ
อี-คอมเมิร์ซ (e-commerce) คือ มีเวบไซต์ที่สามารถซื้อสินค้าได้แต่ก็ไป
เรียกว่าเป็น  อี-บิสซิเนส  จริงๆ แล้วจะว่าใช้คำผิดก็ไม่ผิดหรอกครับแต่
อาจจะเรียกได้ว่าใช้คำหรูหราเกินจริงไปหน่อย  ทำให้เข้าใจผิด เพราะ
จริงๆ แล้วอี-บิสซิเนส นั้นมีความหมายกว้างกว่าการมีแค่เวบไซต์  หรือ
อี-คอมเมิร์ซ  ( e-commerce )  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการมี  เวบไซต์ 
หรือ อี-คอมเมิร์ซ   เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ  อี-บิสซิเนส   แต่ อี-บิสซิเนส ที่
สมบูรณ์ ยังต้องมีการพัฒนาต่อไป  ในทิศทางที่ไปสู่การทำธุรกรรม โดย
กระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จะผ่านระบบอินเตอร์
เน็ตซึ่งหมายถึงธุรกรรมที่เกิดขึ้นทั้งภายในบริษัทเอง    และ รวมไปถึง
ธุรกรรม    ที่เกี่ยวข้องกับภายนอกบริษัท   ซึ่งมีองค์ประกอบ     ที่สำคัญ
คือ  ลูกค้า ( customer )   ซัพพลายเออร์  ( suppliers )    ดิสทริบิวเตอร์
( distributors ) และพาร์ทเนอร์ ( partners ) ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าขอบเขตของอี-บิสซิเนสนั้น
กว้างมาก นอกจากนี้แล้วยังมีระบบอื่นๆ อีกมากมายที่ล้วนแล้วก็เป็นองค์ประกอบของ
อี-บิสซิเนส

               เราจะขอยกตัวอย่างทีในวงธุรกิจมักจะคุ้นเคย เช่น ระบบอีซีอาร์เอ็ม ( ecrm:
electronic reletionship management ) หรือถ้าจะแปลเป็นไทยก็คือ ระบบจัดการลูกค้า
สัมพันธ์  ซึ่งในบ้านเราหลายๆ  คนเข้าใจว่าคือ  ระบบ call center  ซึ่งจริงๆ  แล้ว call 
center  เป็นแค่ส่วนหนึ่งของฃีอาร์เอ็มครับ  หรือซับพลายเชน แมเนจเม้นท์ ( supply 
chain management application) ซึ่งเป็นการจัดการ ซัพพลายเชน,ระบบการจัดฃื้อทาง
อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-มาร์เก็ตเพลส (e-marketplace)

               ระบบวางแผนการจัดการใช้ทรัพยากรของบริษัท  หรือ  อีอาร์พี ( enterprise
resource planning ) ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลหรืออีเอชอาร์เอ็ม ( ehrm: electronic
human resource management) จริงๆ ยังมีอื่นๆ อีกมากมาย 

               รวมๆ แล้ว อี-บิสซิเนส คือ การเปลี่ยนกระบวนการทำธุรกิจธุรกรรม
ต่างๆ ที่เดิมเคยทำกันในระบบแมนนวล( Manual ) มาใช้ระบบอีเล็กทรอนิกส์ 
( Electronic ) ซึ่งจะมีกระบวนการทำงานที่เป็นอัตโนมัติ ( ออโตเมติก ) มาก
ขึ้นโดยใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง     


                                                    

    ไอพี คือ อะไร ไอพี (IP) นั้นย่อมาจากคำว่า อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล
( Internet Protocal )  ซึ่งหมายถึงขั้นตอน  และขบวนการที่ใช้ในการติด
ต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยพัฒนาในปี  ค.ศ. 1970  ซึ่งเป็นส่วน
หนึ่งของโครงการ ARPANET โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกระทรวง
กลาโหมของสหรัฐอเมริกา   และโครงการนี้ก็จะถูกพัฒนามาเรื่อยจน
กลายมาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ซึ่งทำให้ไอพี
เป็นที่รู้จักกันดีและถูกใช้งานอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

   อินเทอร์เน็ตเป็นโครงข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยจะมี
คอมพิวเตอร์ที่เป็นไซต์  (Site)  อยู่ถึง 10  ล้านเครื่องในปัจจุบันไซต์
์ในที่นี้หมายถึง คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องตั้งแต่ขนาดเล็ก กลาง จน
ถึงเมนเฟรม (Mainframe) และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
ที่ต่อเชื่อมอยู่ในโครงข่ายอินเทอร์เน็ต  และอนุญาตให้คอมพิวเตอร์
อื่น ๆ ต่อเชื่อมเข้าใช้บริการต่าง ๆ เช่น  ค้นหาข้อมูลโอนถ่ายข้อมูลลง
เครื่อง (Download file) จนกระทั่งส่งโปรแกรมให้ไซต์นั้น ๆ  ทำการ
ประมวลผลให้

   ตั้งแต่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ถูกโอนเป็นของเอกชนจากกระทรวง
กลาโหม  และมีการอนุญาตให้นำอินเทอร์เน็ตไปใช้งานเชิงพาณิชย์
ได้ทำให้โครงข่ายอินเทอร์เน็ต  มีไซต์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้
ระบบอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นในเร็ววันถ้าอัตรา
การเพิ่มของไซต์ และอัตราการเพิ่มของจำนวนคอมพิวเตอร์ส่วนบุค
คล ซึ่งนิยมเรียกกันว่า พีซี (PC-Personal Computer) ที่ต่อเข้าอินเทอร์
เน็ตเพื่อขอใช้บริการต่างๆ ยังอยู่ในอัตราปัจจุบันคือจะเพิ่มเป็น 2 เท่า
ประมาณหนึ่งปี คาดว่ามีผู้ใช้บริการคร่าว ๆ 150 ล้านคน จาก 100 
ประเทศทั่วโลก

   ปัญหาที่เกิดขึ้นคือจำนวนปริมาณข้อมูลที่วิ่งอยู่ในโครงข่ายอินเทอร์
เน็ตได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล  นอกจากปริมาณที่เพิ่มขึ้นจาก
ผู้ใช้แล้ว อีกสาเหตุหนึ่งคือลักษณะการประยุกต์ใช้งานได้เปลี่ยนเป็น
สื่อประสม (Multimedia) มากขึ้น สื่อประสมจะใช้ความกว้างแถบความถี่
(Bandwidth) มากกว่าการใช้งานแบบตัวอักษรมาก

   เกี่ยวกับปัญหาเรื่องของการติดขัดของข้อมูล  (Congestion)  ได้เกิด
แนวคิดในการจะปรับปรุงตัวโครงข่ายปัจจุบันให้เป็นโครงข่ายแบบ
แถบความถี่กว้าง (Broadband Communication Network) โครงข่ายที่
ว่านี้ถือเป็นปัจจัยพื้นฐาน  (Infrastructure)  ของระบบทางด่วนข้อมูล
(Information Superhighway)  ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

   ส่วนอีกปัญหาหนึ่ง   คือ เนื่องมาจากจำนวนไซต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวด
เร็วทำให้ระบบไอพีแบบเดิมที่ใช้อยู่  ไม่สามารถรองรับปริมาณเครื่อง
คอมพิวเตอร์ได้ ส่วนหนึ่งของไอพีที่มีปัญหา คือ เลขที่ไอพี (IP Address) 
ซึ่งคล้ายกับรหัสไปรษณีย์ และเลขที่อยู่ของบ้านนั้นเองเลขที่ไอพีถูกใช้เป็นตำแหน่ง
ของไซต์เพื่อให้อุปกรณ์โครงข่ายสามารถจะส่งข้อมูลไปมาระหว่างเครื่องได้

     ไอพีแบบปัจจุบันนี้เป็นเวอร์ชั่น 4 ซึ่งมีความยาวของที่อยู่ขนาด 32 บิต เท่านั้นเมื่อ
จำนวนไซต์เพิ่มขึ้นทำให้ขนาดของที่อยู่ไม่พอรองรับเครื่องได้ ทางองค์กร ไออีทีเอฟ
( IETF-Internet Engineering Task Force ) จึงตั้งคณะทำงานขึ้นมาหนึ่งชุดเพื่อศึกษา
ถึงแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องที่อยู่ไอพีไม่พอใช้

    คณะทำงานดังกล่าวได้เสนอไอพีเวอร์ชั่นใหม่ออกมาซึ่งเป็นเวอร์ชั่น 6 ซึ่งมักจะนิยม
เขียนย่อว่า IPv6  และคณะทำงานได้ตั้งชื่อโค้ดไอพีใหม่นี้ว่า  ไอพีรุ่นใหม่ ( IP..... The
Next Generation) ซึ่งตั้งตามรายการทีวีเรื่อง  สตาร์เทรค  (Startrek)  ชุดใหม่ที่ฉายใน
สหรัฐอเมริกา ซึ่งชื่อว่า Startrek...The Next Generation ไอพีที่เสนอใหม่นี้ จะมีความ
ยาวของที่อยู่ถึง 128 บิต ทำให้คิดว่าจะสามารถรองรับจำนวนไซต์ได้มหาศาล

       นอกจากสาเหตุที่อยู่ของไอพีจะหมดแล้วอีก
สาเหตุหนึ่งที่เป็นแรงจูงใจให้ต้องการเปลี่ยนไอพี 
คือ  มีการประยุกต์เอาภาพและเสียงไปใช้งานใน
อินเทอร์เน็ตมากขึ้น  ไอพีเวอร์ชั่นเดิมนั้นทำงาน
ในลักษณะแบบดาต้าแกรม  (Datagram)  ซึ่งเป็น
คอนเน็คชั่นเลส (Connectionless) และไม่เหมาะ
ในการนำมาประยุกต์ใช้งานแบบเสียง และภาพ
ลักษณะการส่งแบบ  Connetionless  เปรียบเทียบ
คล้ายกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ ซึ่งอาจจะมี
การสูญหายได้  ในการส่งเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต
ในปัจจุบัน สัญญาณเสียงจะถูกแปลงเป็นสัญญาณ
ดิจิตอลและเนื่องจากขนาดข้อมูลใหญ่จึงถูกแบ่ง
เป็นหลาย ๆ แพคเก็ต (Packet) และส่งไปในโครงข่ายมีโอกาสที่แพคเก็ตจะถูกส่งไปใน
โครงข่ายคนละเส้นทางทำให้เดินทางถึงปลายทางล่าช้าหรืออาจล่าช้า หรืออาจจะสูญหาย
ไปก็ได้ ทำให้คุณภาพของเสียงที่ปลายทางมีปัญหา เช่น เสียงขาดหายเป็นช่วง ๆใน IPv6
ได้ถูกปรับปรุงขีดความสามารถเพื่อให้ส่งภาพและเสียงได้ดีขึ้นนอกจากนั้นยังเพิ่มส่วนที่
จะทำให้ IPv6 สามารถรองรับการทำงานแบบเป็นกลุ่ม เช่นการประชุมทางไกลการที่จะ
ทำงานลักษณะนี้ได้ต้องหาทางให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลทราบและทำ
การก๊อบปี้ (Copy) ข้อมูลแล้วส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในกลุ่มนั้น

          คาดว่าอีกคงจะหลายปี IPv6 จะถูกใช้อย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันได้เริ่มมีบริษัท
ผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายหลายรายได้ออกประกาศว่า สินค้าของบริษัทสามารถทำงานกับ 
IPv6 ได้ ถ้าท่านเป็นผู้บริหารโครงข่ายผู้หนึ่งและเป็นผู้มีส่วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับ
การเลือกอุปกรณ์โครงข่ายก็หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่าน



                                     ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                                                             

                       เอดีเอสแอล (ADSL) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง
ที่อาศัยโครงสร้างโทรศัพท์พื้นฐานเป็นตัวเชื่อมส่งสัญญาณผ่านที่บ้านผู้เช่า จะมีอุปกรณ์
ที่เรียกว่า เอดีเอสแอล โมเด็ม ติดตั้งอยู่โดยต่อผ่านตัวแบ่งแยกสัญญาณ ( Splitter )
ซึ่งทำให้คู่สายโทรศัพท์นั้นสามารถใช้งาน ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลความเร็วสูงผ่านเอดี
เอสแอล โมเด็ม และขณะเดียวกันสามารถจะใช้งานพูดคุยเหมือนโทรศัพท์ทั่วไปด้วย

                      ทั้งนี้ เอดีเอสแอล
( ADSL ) ย่อมาจาก  Asymmetric Digital Subsciber
Line  คำว่า Asymmetric จากพจนานุกรม แปลว่า ไม่เหมือนกันบนสองข้างของเส้นกลาง
ไม่สมส่วนกัน ส่วน
Digital Subscriber Line ซึ่งเรียกย่อว่า DSL นั้น หมายถึงชุดของ
เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงที่อาศัยการส่งสัญญาณผ่านคู่สายทองแดงที่ใช้
ติดตั้งโทรศัพท์ตามบ้านโดยทำให้สามารถส่งข้อมูลความเร็วสูงไปพร้อมกับการใช้
โทรศัพท์ตามปกติด้วย

                     จากโครงข่าย ( ศัพท์ทางเทคนิคเรียกว่า
Down Stream Speed ) ไปหา
บ้านผู้เช่า จะได้สูงสุดที่ 8 เมกะบิตต่อวินาที นั่นคือเหตุผลที่ทำไมจึงใช้ชื่อ เอดีเอสแอล
สำหรับเทคโนโลยีนั้น อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงการให้บริการเอดีเอสแอล
จะอยู่ที่ความเร็ว 128 - 256 กิโลบิตต่อวินาทีโดยส่วนใหญ่ทำให้ความเร็วทั้งสองทาง
ที่ผู้เช่าจะได้รับเท่ากันอยู่ดีเนื่องจากความเร็วต่ำกว่าข้อจำกัดทางเทคนิค

             ข้อดีอีกข้อหนึ่งซึ่งแตกต่างจากการใช้งานผ่านโมเด็มอยู่ที่เทคโนโลยีที่เป็น
ลักษณะ ติดต่อตลอดเวลา ( Always on ) การใช้งานผ่านโมเด็ม ปกติจะต้องมีการหมุน
โทรศัพท์เข้าอุปกรณ์โมเด็มปลายทางทุกครั้งที่จะใช้งาน แต่เอดีเอสแอลจะมีการเชื่อม
ต่อกับอุปกรณ์ปลายทางโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่เปิดใช้เครื่องพีซี

              ปัจจุบันมีการให้บริการเอดีเอสแอล อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ 
เมื่อสิ้นปีที่แล้วตัวเลขจำนวนผู้ใช้เอดีเอสแอลในสหรัฐอเมริกาตกอยู่เกือบประมาณ
 2 ล้านคู่สายและตัวเลขประมาณการของผู้ใช้สิ้นปีนี้จะตกถึงเกือบ 5 ล้านคู่สาย
 ปัญหาของผู้ใช้บริการเอดีเอสแอลที่ประสบอยู่คือ ติดตั้งให้ลูกค้าไม่ทันความต้องการ

             ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทั่วไปการให้บริการเอดีเอสแอลจะควบคู่
ไปกับการให้บริการเพื่อใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งค่าบริการจะตกอยู่ประมาณ 
40 ดอลล่าร์สหรัฐต่อเดือน โดยไม่จำกัดชั่วโมงการใช้งาน ซึ่งหากเปรียบเทียบ
กับค่าใช้อินเตอร์เน็ตรายเดือนแบบไม่จำกัดการใช้งานโดยต่อผ่านโมเด็มซึ่งตก
ประมาณ 20 ดอลล่าร์ สหรัฐต่อเดือน และบวกกับค่าโทรศัพท์ เพื่อต่ออินเทอร์เน็ต
ซึ่งอาจจะสูงถึงประมาณ 10 ดอลล่าร์ต่อเดือนก็จะเห็นว่าการใช้บริการเอดีเอสแอล
เพื่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงถ้าเป็นลูกค้าที่ใช้จำนวนชั่วโมงที่สูงมากต่อเดือนใน
การเล่นอินเทอร์เน็ตจะคุ้มค่ามาก นั่นคือเหตุผลที่ทำไม จำนวนลูกค้าเอดีเอสแอล
จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาด สหรัฐอเมริกา 


           ในเอเซีย ตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเอดีเอสแอล คือ ประเทศ
เกาหลีใต้ ซึ่งจนถึงสิ้นปีที่แล้ว มีจำนวนลูกค้าถึงประมาณ 2 ล้าน
รายซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรแล้วจะเห็นว่าในเกาหลีใต้ 
จะมีอัตราสูงกว่าตลาดสหรัฐอเมริกาเสียอีก เนื่องจากมีประชากรสูงกว่า
มาก ( ประชากรของประเทศเกาหลีใต้มีประมาณ 65 ล้านคน เท่านั้น
 ส่วนประชากรของประเทศสหรัฐอเมริกามีถึง 200 ล้านคน )

           สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการให้บริการเอดีเอสแอลเพื่อ
การใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแล้ว โดยเปรียบเทียบการคิดค่า
บริการแยกได้เป็นดังนี้ ค่าเช่าระบบเอดีเอสแอล 500 บาทต่อเดือน
ส่วนการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะตกประมาณ 15-20 บาทต่อชั่วโมง

           ดังนั้น ถ้าหากว่ากรณีที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต 2 ชั่วโมงต่อวัน
ในหนึ่งเดือนจะเสียค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 400 บาทถึง 1,700 บาท
และขณะนี้ ยังไม่มีผู้บริการรายใดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบเหมา
จ่าย รายเดือนโดยไม่จำกัดชั่วโมงการใช้งานเพื่อการใช้งาน
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

          ปัจจุบันประเทศไทย ได้สำรวจพบว่ามีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต
ประมาณ 2 ล้านคน และได้มีการพัฒนาเวบไซต์เกิดขึ้นใหม่ๆ อย่าง
รวดเร็ว โดยมีการพัฒนาให้มีการใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตมากขึ้น 
เช่น ธุรกรรมทางการเงินของธนาคารการซื้อขายหุ้น, การซื้อขาย
สินค้าและบริการต่างๆ เป็นต้น

         ดังนั้นในอนาคต ความต้องการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ย่อมจะมากขึ้นตามอัตราส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น
เพราะแนวโน้มค่าเช่าวงจรไปต่างประเทศเพื่อเชื่อมต่อโครงข่าย
อินเทอร์เน็ตจะถูกลงอีกมากซึ่งปัจจุบันต้นทุนที่สูงที่สุดของ อินเทอร์เน็ตในเมืองไทย คือ ค่าเช่าวงจรเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ไปต่างประเทศนั่นเอง ซึ่งก็น่าจะทำให้ค่าใช้จ่ายรายเดือนของการ
เล่นอินเทอร์เน็ตถูกลงกว่าปัจจุบัน............





            

                                                           

เราขอเสนอเทคโนโลยี DSL ..... 
              ดีเอสแอล (DSL) ย่อมาจาก Digital Subscriber Line เป็นรูปแบบการสื่อสารข้อมูลอย่างหนึ่งที่ใช้ส่งข้อมูลเพื่อเชื่อมต่อไปยังอินเทอร์เน็ตผ่านทางสาย
โทรศัพท์ปกติ แต่มีความเร็วสูงกว่าโมเด็มที่ใช้กันอยู่ตามปกติซึ่งมีความเร็วในการทำงานสูงสุด 56 กิโลบิตต่อวินาทีนอกจากนี้ยังสามารถใช้คู่สายโทรศัพท์เดิม
ในการคุยได้ a ตามปกติแม้จะใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และดาวน์โหลดข้อมูลอยู่ก็ตามโดยไม่ลดความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลแต่อย่างใด

              กระนั้น สาเหตุที่เทคโนโลยีดีเอสแอลสามารถทำความเร็วสูงบนคู่สายโทรศัพท์ปกติได้เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีการจัดการข้อมูลทางด้านดิจิทัลเข้า
มาช่วยโดยจะรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันภายในสายเรียกว่าการแปลงสัญญาณ (มอดูเลชั่น) ซึ่งจะนำข้อมูลมารวมกับสัญญาณชุดหนึ่ง ทำให้สามารถมองสายสัญญาณ
โทรศัพท์ที่มีเพียงเคเบิลชุดเดียวในช่องสัญญาณหลาย ๆ ช่องได้ จากนั้นโมเด็มดีเอสแอลจะส่งข้อมูลที่แปลงสัญญาณแล้วผ่านออกไปในรูปแบบของคลื่นที่ทำ
ให้คู่สายสัญญาณโทรศัพท์สามารถรองรับปริมาณการส่งข้อมูลได้มากกว่า

             ชนิดของบริการดีเอสแอลที่ให้บริการในไทยคือ
เอดีเอสแอล ( ADSL - Asymmetric DSL ) และ ไอเอสดีเอ็น ( ISDN) หรือไอดีเอสแอล (IDSL) นอกจาก
นี้ยังประกอบด้วย
เอชดีเอสแอล (HDSL - Hight-bit rate DSL), เอสดีเอสแอล (SDSL - Symmetric DSL), วีดีเอสแอล (VDSL - Very high bit rate DSL) แต่ไม่มี
บริการในไทย  ทั้งนี้คุณสมบัติเด่นของเทคโนโลยีดีเอสแอลอีกอย่างนอกเหนือจากความเร็วและการสามารถใช้โทรศัพท์ได้ขณะใช้การเชื่อมต่ออยู่ คือ ออลเวย์ 
ออน ( Alway on ) นั่นคือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องหมุนโทรศัพท์ทุกครั้งที่อยากจะใช้งาน และไม่ต้องห่วงเรื่องสายหลุด


                                     +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                                                                      

          เส้นใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic ) ได้ถูกติดตั้งเพื่อเป็นโครงข่ายหลัก
สำหรับผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคม และการส่งสัญญาณผ่านเส้นใยแก้วนำแสง
จะใช้เทคโนโลยี Time Division Multiplexing ( TDM ) โดยในเส้นใยแก้วนำแสงหนึ่ง
เส้นสามารถส่งได้ด้วยความเร็ว 2.4 กิกะบิตต่อวินาที เมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว การใช้
งานด้านโทรคมนาคมส่วนใหญ่จะเป็นเพียงสัญญาณเสียงเท่านั้น ซึ่งแต่เดิมการเพิ่ม
ปริมาณของสัญญาณก็มีไม่มากในแต่ละปี ดังนั้นโครงข่ายหลักที่วางไว้จึงดูเหมือน จะ
สามารถรองรับข้อมูลได้อีกนาน

          หากเมื่อโลกของเราเริ่มก้าวเข้าสู่ยุคสารสนเทศ องค์กรได้
นำ
เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากขึ้นและระบบสารสนเทศจะเป็น
แบบกระจายการทำงานเป็นโครงข่าย ทำให้เกิดความต้องการ
การใช้บริการคู่สายเช่ามากขึ้น ทางผู้ให้บริการโทรคมนาคมจึง
สร้าง โครงสร้างสื่อสารข้อมูลขึ้นซึ่งโครงข่ายนี้ก็ได้อาศัยโครง
ข่ายโทรศัพท์ที่มีอยู่ ดังนั้น ข้อมูลส่วนหนึ่งก็จะวิ่งอยู่บนโครง
ข่ายหลักนั่นเอง

            ต่อมาเมื่อโลกเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคอินเตอร์เน็ตปริมาณข้อมูลที่วิ่งอยู่บน
โครงข่ายหลักได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้นำ
เสนอบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เช่น เคเบิลโมเด็ม และเอดีเอสแอลยิ่งจะทำ
ให้ปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมากมายมหาศาล ดังนั้นโครงสร้างหลัก
ที่สร้างขึ้นด้วยเส้นใยแก้วนำแสง ซึ่งแต่เดิมคาดว่าจะสามารถรองรับปริมาณข้อมูล
มากมายเหล่านี้ไปได้อีกนานนั้น ก็เริ่มมีความจำเป็นต้องขยาย
                การขยายโครงข่ายหลักนั้นทำได้สามทางคือ ลงทุนวางสายเคเบิลใยแก้ว
นำแสงเพิ่มขึ้นลงทุนในอุปกรณ์ทีดีเอ็มที่สามารถ ส่งข้อมูลด้วยความเร็วที่สูงขึ้นหรือ
ลงทุนในอุปกรณ์ที่เป็นเทคโนโลยีอื่นที่ให้ความเร็วที่สูงขึ้นและมีอนาคตที่ดีกว่า 

                ปัจจุบันการติดตั้งเส้นใยแก้วนำแสงนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงมาก โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งถ้าเป็นระยะทางไกลมากๆ และนอกจากนั้น ยังมีปัญหาเรื่องสิทธิในการติด
ตั้งผ่านที่ดินอีกด้วยทำให้การติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสงต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมาก
ในบางพื้นที่ ดังนั้น ทางเลือกนี้จึงถูกใช้น้อย
            ส่วนทางเลือกที่สองคือ ลงทุนในเทคโนโลยีทีดีเอ็มซึ่งอุปกรณ์
ทีดีเอ็มสามารถขยายความเร็วได้ถึง 10 กิกะบิตต่อวินาที แต่เทคโนโลยี
นี้ก็มีข้อจำกัดหลายประการและที่สำคัญความเร็วที่ 10 กิกะบิตต่อวินาที
ก็เป็นความเร็วสูงสุดที่สามารถไปได้ด้วยเทคโนโลยีทีดีเอ็ม

         เนื่องจากข้อจำกัดหลายประการของทีดีเอ็มจึงได้คิดค้น
เทคโนโลยีใหม่เพื่อมารองรับการใช้งานในโครงข่ายหลักซึ่ง
ปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ที่เป็นคำตอบคือ ดีดับบลิวดีเอ็ม ซึ่ง
ย่อมาจาก
Dense Wavelenght Division Multiplex-
ing ดีดับบลิวดีเอ็มเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถส่งสัญญาณ
ได้พร้อมกันถึง 16 ช่องสัญญาณไปบนเส้นใยแก้วนำแสงเส้น
เดียวโดยแต่ละสัญญาณมีความเร็ว 2.4 กิกะบิตต่อวินาที ดัง
นั้น หนึ่งเส้นของเคเบิลใยแก้วนำแสง จึงสามารถรองรับ
                          ความเร็วได้ถึงประมาณ 40 กิกะบิตต่อวินาที
              
                หลักการทำงานของดีดับบลิวดีเอ็มคือ การรวมสัญญาณแสง
หลายๆ สัญญาณเขาด้วยกัน โดยแต่ละสัญญาณจะมีความถี่เฉพาะที่แตก
ต่างกัน
ข้อดี..ของเทคโนโลยีดีดับบลิวดีเอ็มนอกจากจะเพิ่มความเร็ว
แล้ว อุปกรณ์ดีดับบลิวดีเอ็มยังสามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิม
ทำให้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของเส้นใยแก้วนำแสงโดยไม่จำเป็น
ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ทั้งหมดแต่อย่างใด
        
           
ปัจจุบันผู้ให้บริการโทรคมนาคมในตลาดใหญ่ๆ ได้เริ่มติดตั้ง
อุปกรณ์ดีดับบลิวดีเอ็มเพื่อรองรับการขยายของปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว แล้วส่วนในตลาดรองในหลายประเทศเอง คาดว่าในระยะ
เวลาอันไกล้ก็คงมีความจำเป็นที่จะต้องขยายตัวโครงข่ายหลักเช่นกัน...... 




                                                                                              


                                              More information, please contact   E-mail : chatchai@ckmit.com