แน่นอนว่าธุรกิจทุกอย่างก็ต้องหวังผลกำไร แต่เมื่อได้ผลกำไรมาแล้วต้องมีการวางแผนการเสียภาษีอากร ให้ถูกต้องด้วย เพราะหาก ผิดพลาดแล้ว ท่านอาจโดนกรมภาษีสรรพากรประเมินภาษีย้อนหลังธุรกิจที่คาดว่าจะ กำไรก็อาจจะขาดทุนหรือล้มละลายได้ เพราะฉะนั้นเราก็จะมาว่าถึงหลักเกณฑ์กันเลย
     โดยปกติการทำธุรกิจ E-Commerce รายได้จะมาจากการซื้อขายสินค้า และบริการผ่านเวบไซต์ของ ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของเวบไซต์เป็นหลัก การเสียภาษีที่เกิดจากการทำธุรกรรม E-Commerce ก็เหมือนกับ การเสียภาษีในการซื้อขายให้บริการทั่วๆ ไป โดยหากมีเงินได้เกิดขึ้นก็ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการ เวบไซต์มักจะหลงลืม  และ ไม่นำมาคำนวณเป็นรายได้ในการเสียภาษีคือ "Banner" หรือ "แผ่นป้ายโฆษณา" นั้นเอง
     Banner ก็คือแผ่นป้ายโฆษณาสี่เหลี่ยมที่กระพริบในรูปแบบตัวการ์ตูน หรือตัวอักษรที่ออกแบบไว้อย่าง สวยงามที่ติดอยู่บนเวบไซต์ เพื่อให้ผู้ท่องอินเทอร์เน็ตที่สนใจกด หรือคลิกเข้าไปดูข้อมูล หรือซื้อสินค้าใน เวบไซต์เจ้าของโฆษณาที่เชื่อมต่อเวบไซต์ที่รับลงโฆษณา Banner นั้น โดยปกติอาจแบ่งแยกออกเป็น 3  ประเภท
BannerClick Through คือแผ่นป้ายโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตที่เจ้าของเวบไซต์ที่รับลงโฆษณาคิดค่า โฆษณาจากผู้ที่ลงโฆษณา โดยคำนวณจากจำนวนครั้งของลูกค้า หรือผู้ที่ใช้บริการที่เข้าไปคลิกในแผ่น ป้ายดังกล่าว โดยอาจตกลงกันในอัตตราต่างๆ เช่น ครั้งละ 10-50 บาท ต่อการคลิก 1 ครั้ง หรือ 500 บาท ต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับความนิยมของเวบไซต์ที่ลงโฆษณา กล่าวคือหากเวบไซต์ เช่น yahoo.com ก็อาจคิดค่า โฆษณาครั้งละ 100-500 บาท ขณะที่เวบไซต์ของไทยอาจมีราคาถูกกว่า โดยผู้ลงโฆษณาต้องจ่ายไม่ว่าผู้ใช้ บริการที่คลิกแผ่นป้ายโฆษณานั้นจะซื้อสินค้าหรือบริการหรือไม่ก็ตาม
BanneCommission แผ่นป้ายโฆษณาประเภทนี้เป็นประเภทที่นิยมมากที่สุด โดยมีเงื่อนไขการชำระ ค่าโฆษณาจะขึ้นอยู่กับว่า ผู้ใช้ บริการที่คลิก Banner ดังกล่าว ต้องทำธุรกรรมซื้อขายสินค้า หรือใช้ บริการใน เวบไซต์ที่ลงโฆษณาด้วย โดยเจ้าของสื่อโฆษณาจะต้อง จ่าย ค่าโฆษณาด้วย โดยเจ้าของสื่อ โฆษณาจะจ่ายค่า โฆษณาตามเปอร์เซ็นต์ของสินค้า หรือบริการที่จำหน่าย หรือให้บริการ เช่น เวบไซต์ amazon.com  อาจ กำหนดว่าหากลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าผ่านเวบไซต์ของตน เจ้าของสื่อโฆษณาหรือ Banner  ดังกล่าวต้องจ่ายค่า โฆษณาในอัตตราร้อยละ 30 ของสินค้าที่จำหน่ายได้
Banner Exchange แผ่นป้ายประเภทนี้เป็นการที่เจ้าของเวบไซต์ตั้งแต่ 2 เวบไซต์ขึ้นไปมีข้อตกลง แลกเปลี่ยนแผ่นป้าย โฆษณาระหว่างกัน โดยไม่มีการชำระเงินกันจริง
     ในทางกฎหมายภาษีอากรนั้นถือว่ารายได้จาก Banner ดังกล่าวเป็นรายได้อย่างหนึ่ง ซึ่งเจ้าของเวบไซต์ที่ ่ได้รับประโยชน์ หรือค่าตอบแทนต้องเสียภาษีอากร เนื่องจากเป็นประโยชน์ที่เจ้าของเวบไซต์นั้นได้รับ ซึ่ง ประมวลรัษฎากรระบุไว้ดังนี้

     มาตรา 39 ในหมวดนี้เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น "เงินได้พึงประเมิน" หมายความว่าเงิน ได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์
อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงิน หรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้
 ประเภทต่างๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย 

     แต่ถ้าเจ้าของเวบไซต์เป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องนำเงินได้ หรือรายได้จาก Banner ดังกล่าวมาคำนวณเพื่อ
เสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา หรือนิติบุคคลซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่กรณีไป และส่วนที่ขาดไม่ได้ก็คือภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในอัตตราร้อยละ 7 ของค่าโฆษณา เพราะฉะนั้นหากท่านมีรายได จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า  1,200,000
บาทต่อปี ประมวลรัษฎากรของไทยระบุให้ผู้ประกอบการซึ่งมีเงินได้ตาม หลักเกณฑ์ดังกล่าว ต้องเข้าสู่ระบบ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ตามมาตรา 81/1 และพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 354) ดังนั้นหากท่านเข้าหลักเกณฑ์ข้างต้นท่าน
ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ใช้บริการหรือผู้ซื้อสินค้าและนำส่งกรมสรรพากรให้ถูก
ต้อง


กลับหน้าแรก