|
ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชพงษ์
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
................................................................................................................................
1.เศรษฐกิจฐานความรู้
=================
ในศตวรรษที่
21 ประเทศไทยรวมทั้งประเทศอื่นๆ
ทั่วโลกได้เริ่มเข้าสู่กระแสใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่าสังคมความรู้(
knowledge society )
ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้
( knowledge base economy ) ที่ใช้ความรู้และนวัตกรรม
( innovation ) เป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาและการผลิต
มากกว่าเงินทุนและ
แรงงาน
เศรษฐกิจฐานความรู้
หมายถึง เศรษฐกิจอาศัยการผลิต การแพร่กระจายและการใช้ความรู้ เป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้เกิดการเติบโตสร้าง
ความมั่งคั่งและสร้างงานในอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ
ความรู้ที่สำคัญที่สุดคือความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาความรู้ใหม่และเทคโนโลยีใหม่จำเป็นต้องใช้การวิจัยและพัฒนา
โดย
เฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับฐานความรู้ของประเทศดังนั้นในประเทศที่เริ่มเข้าสู่เศรษฐกิจฐานความรู้การจัดการ
บริหารระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศนั้นจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น หน่วยงานวิจัยและพัฒนาทั้งภาครัฐ สภาบันอุดมศึกษาและเอกชน
จะเป็นแกน
กลางของระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศที่ช่วยให้เกิดนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดังกล่าว
ระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาท
3
ประการด้วยกัน กล่าวคือ...
1. การผลิตความรู้
( knowledge production ) ------>
โดยการค้นคว้า วิจัย พัฒนาออกแบบและวิศวกรรมศาสตร์เพื่อทำให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่
2. การส่งต่อความรู้
( knowledge transmission ) -->
โดยให้การศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ฝังเข้าไปในตัวคน
3.
การถ่ายทอดความรู้(
knowledge transfer )
------>
การผลักดันความรู้ให้ออกจากตัวคนเข้าไปสู่การแก้ปัญหา โดยเฉพาะให้ความรู้ไปสู้กระบวน
ทางอุตสาหกรรมการเกษตรและบริการ
2. การถ่ายทอดความรู้
================
ระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดและกระจายความรู้ให้ทั่วถึงลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจฐานความรู้คือ
การยอมรับวาการกระจายความรู้สำคัญเท่ากับการผลิตความรู้จึงนำไปสู่ความสนใจในเรื่อง
"
เครือข่ายการกระจายความรู้
" และ " ระบบนวัตตกรรมระดับชาติ
"
ซึ่งเป็นโครงสร้างของความเชื่อมโยงในการทำให้เกิดความก้าวหน้าและการใช้ความรู้ในระบบเศรษฐกิจนี้
ระบบเครือข่ายการกระจายความรู้และระบบนวัตตกรรม
ระดับชาติ ถือว่าสำคัญต่อสมรรถนะของประเทศในการแพร่กระจายนวัตกรรม
ดูดซับ แสะเทคโนโลยีต่อกระบวนการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ ระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องสร้างสมดุลไม่เพียงแต่ระหว่างบทบาทการผลิต
( วิจัย )
และการส่งต่อ
( ศึกษา
และฝึกฝน) เท่านั้นหากยังต้องรวมหน้าที่ที่สามคือ
การถ่ายทอดความรู้ไปสู่ตัวเล่นทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเล่นทางการค้าที่มีบทบาทในการ
ใช้ประโยชน์ของความรู้ กลุ่มประเทศ OECD เน้นการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างระบบวิทยาศาสตร์กับภาคเอกชนเป็นอย่างมากเพื่อเร่งรัดให้เกิดการแพร่
กระจายความรู้ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลในกลุ่มประเทศ OEDC จึงมีกลไกการให้สิทธิและประโยชน์ต่างๆ แก่มหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการคัดเลือก
และดำเนินการการวิจัย
ทำนองเดียวกัน
สถาบันวิจัยภาครัฐก็ได้รับนโยบายให้เน้นความสัมพันธ์กับภาคเอกชนมากขึ้น
ภาคอุตสาหกรรม
เข้ามามีส่วนช่วยในการกำหนดทิศทางการวิจัยหน่วยวิจัยภาครัฐร่วมลงทุนกับภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้
รัฐบาลจะลงทุนสนับสนุนการวิจัยที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของตนเอง
ตัวอย่างที่สำคัญ
ได้แก ่การลงทุน
ในเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น รัฐบาลมีมาตรการต่างๆที่จะให้มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและ
เอกชน ภาครัฐและมหาวิทยาลัย
มาตรการของรัฐเพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรัฐกับเอกชนในการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของ
เอกชนมีให้เห็นในหลายประเทศ เช่น ในประเทศออสเตรเลีย รัฐบาลกำหนดให้บริษัทเอกชนสามารถหักภาษีค่าใช้จ่าย
ด้านวิจัยและพัฒนาได้ 125%
ให้เงินอุดหนุนโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดวัตกรรมตามความต้องการของภาคชน
เอง
มีโครงการแพร่กระจายเทคโนโลยี
( TECHNOLOGY DIFFUSION PROGRAM ) เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีชั้นนำมีการตั้งศูนย์ความร่วม
มือว่าด้วยการวิจัย
( COOPERATIVE RESEARCH CENTER) มากกว่า40 แห่ง เพื่อปรับปรุงกลไกการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันวิจัยของรัฐและเอกชน
และทำให้ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นร่วมกันนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงพาณิชย์และยังตั้งกองทุนการลงทุนนวัตกรรม
( INNOVATION INVESTMENT FUND )
ให้การสนับสนุนแก่บริษัทขนาดเล็กแต่มีความเป็นเลิศในเทคโนโลยีใหม่
ๆ
ในประเทศแคนนาดา
มีโครงการช่วยเหลือการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม
( industrial research assistance program ) IRAP ซึ่งเป็นโครงการให้ความ
ช่วยเหลือด้านเทคนิคและการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในทุกสาขา เพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมโครงการนี้ให้ความช่วยเหลือแก่บริษัท
จำนวน
13,000 บริษัท ต่อปี โดยให้เงินช่วยเหลือโครงการต่างๆ
4,300 โครงการ องค์ประกอบ ความสำเร็จหลักของโครงการนี้คือ
การมีผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
( industrial technology advisor :ITA) จำนวน 260 คนประจำอยู่ที่ 110 ศูนย์ทั่วประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เอกชน
ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้มีประสพการณ์ในอุตสาหกรรมมาไม่ต่ำกว่า 10 ปีมีการทำงานที่เป็นอิสระ และสามารถ ตัดสินใจ
ให้ความช่วยเหลือ แก่วิสากิจได้ด้วยตนเอง งานของผู้เชี่ยวชาญจึงไม่จำกัดเพียงการให้เงินช่วยเหลือแก่บริษัท แต่เป็นการสร้าง
ความสัมพันธ์ระยะยาวกับบริษัท
โดยทำตัวเป็นหุ้นส่วนที่ทำให้บริษัทเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
สิงคโปร์ใช้บริษัทข้ามชาติ
( transnation companies: TNCS ) ในการช่วยยกระดับขีดความสามารถทางเทดโนโลยี
ของบริษัทท้องถิ่น
โดยจัดให้มีโครงการยกระดับอุตสาหกรรมท้องถิ่น
( local industry upgrading program:LIUP ) ซึ่งเริ่มขึ่นในปี
ค.ศ.1996 ภายใต้การบริหารของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ
( economic development board EDB )
หัวใจของ
โครงการคือการที่สำนักงานนี้จ่ายเงินเดือนให้วิศกรที่มีประสบการณ์สูงของบริษัทข้ามชาติ
ที่ร่วมในโครงการยกระดับอุตสาหกรรม
ท้องถิ่นเข้าไปช่วยเหลือผู้ขายท้องถิ่น
|
|
ขั้นตอนของความช่วยเหลือมีดังนี้...
1.
วิศวกรของบริษัทข้ามชาติสำรวจและเลือกผู้ขายท้องถิ่นที่มีศักยภาพเพียงพอในการยกระดับความสามารถทางเทโนโลยีและสามารถรับความช่วยเหลือ
2.
วิศกรของบริษัทข้ามชาติใช้ประสพการณ์และความรู้ของตนตามมาตรฐานของบริษัท วิเคราะห์ปัญหาและจุดอ่อนของการผลิตและการจัดการของผู้ขาย
ท้องถิ่น
3.
วิศวกรของบริษัทข้ามชาติให้คำแนะนำและแนวทางต่อผู้ขายท้องถิ่น เพื่อยกระดับความสามารถ โดยใช้ทรัพยากรของบริษัทเช่น
อนุญาตให้ผู้ขาย
ท้องถิ่นส่งช่างเทคนิคมาเข้ารับการฝึกอบรมที่บริษัทจัดขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาของผู้ขายท้องถิ่น ในขณะเดียวกันก็ให้คำแนะนำต่อผู้ขายท้องถิ่นถึงหน่วย
งานของรัฐ ที่ให้ความช่วยเหลือต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้
รวมทั้งกระบวนการขอรับความช่วยเหลือเนื่องจากวิศวกรเหล่านั้นมีความรู้ใน
เรื่องการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐต่างๆ
เป็นอย่างดี
4.
วิศกรของบริษัทข้ามชาติเหล่านี้จะมีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันเป็นประจำ ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่
การปรับปรุงการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ขายท้องถิ่น และนำไปสู่วิธีการที่ดีขึ้น ทำให้วิศวกรเหล่านี้ได้ความรู้อันสามารถนำไปช่วยเหลือผู้ขายท้องถิ่น
นอกเหนือไปจากความรู้ที่ได้จากบริษัทข้ามชาติที่ตนทำงานอยู่นอกจากนั้นยังทำให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
สามารถรับทราบปัญหาของภาคอุตสาหกรรม
ซึ่งอาจนำไปสู่มาตรการใหม
่ๆ
โครงการยกระดับอุตสาหกรรมท้องถิ่นนี้ ในตอนแรกเน้นการให้บริษัทข้ามชาติช่วยเหลือผู้ขายท้องถิ่นในการพัฒนากระบวนการผลิตและการจัดการ
ทั่วไป ในขั้นต่อมามีเป้าหมายคือการทำให้ผู้ขายท้องถิ่นร่วมกับบริษัทข้ามชาติ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และขบวนการผลิต
ในหลายกรณีวิศวกรของบริษัทข้ามชาติ
ได้ลาออกจากบริษัทแล้วเข้าร่วมกับผู้ขายท้องถิ่นที่ตนเคยช่วยเหลือ
3.
ความเข้าใจในกลไกการถ่ายทอดความรู้
==============================
ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
ความเข้าใจของประเทศไทยต่อความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยเฉพาะการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ตัวเล่นทาง
เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเล่นทางการค้า กล่าวคือ ภาคเอกชนที่เป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่มีบทบาทในการใช้ประโยชน์ของความรู้
แม้นจะดีขึ้นแต่ก็ยังไม่สูง
เท่าที่ควร
หากมีการประชุมสัมนากันเมื่อไร
ก็มักจะมีคำกล่าวกันมากกว่าหน่วยงานวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยและภาครัฐมักจะไม่ใส่ใจเรื่องการถ่าย
ทอดและกระจายความรู้ไปสู่ภาคเอกชน
ผู้อภิปรายทั้งหลายอยากให้มีการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ภาคเอกชนทั้งนั้น แต่ท่านเหล่านี้มักจะขาดความเข้าใจและไม่พยายามทำความเข้าใจในกลไกการ
ถ่ายทอดและกระจายความรู้ไปสู่ภาคเอกชน มักจะเข้าใจว่าการถ่ายทอดเป็นบทบาทของนักวิชาการเท่านั้น แต่ไม่เข้าใจว่า
การถ่ายทอดและการกระจายต้องอาศัย
ความร่วมมือของภาคเอกชนด้วย
ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงหากปราศจากกลไกที่จะเชื่อมโยงกันระหว่างภาคเอกชนกับภาคมหาวิทยาลัยและรัฐแล้วก็จะไม่ใคร
ช่วยเกื้อกูลให้เกิดการถ่ายทอดและกระจายความรู้ระหว่างกันได้
อะไรคือกลไกในการถ่ายทอดและกระจายความรู้...?
--- > ประเทศที่ประสบความสำเร็จแล้วเขาทำอย่างไร...?
---> ประเทศไทยมีหรือไม่...?
ตัวอย่างของประเทศออสเตรเลีย แคนนาดา และสิงคโปร์ที่กล่าวมาข้างต้น คือ ตัวอย่างของกลไกที่ดีและประสบความสำเร็จมาแล้ว กล่าวคือมีการทำงาน
ในลักษณะเชื่อมโยง มีประฏิสัมพันธ์กันระหว่างภาคเอกชนและแหล่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยและภาครัฐ
ข้อที่ควรสังเกต..และตระหนักให้ดีคือ มีการทำงานเป็นระบบ มีหน่วยงานรับผิดชอบ และที่สำคัญคือมีการลงทุนให้เกิดการถ่ายทอดและกระจายความรู้
ไปสู่ภาคการผลิต
การลงทุนดังกล่าวมักจะเป็นการรับภาระร่วมกับระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ
แต่มีการพิสูจน์ได้ว่าการลงทุนดังกล่าว
มีความก้าวหน้าทางมูลค่า
เพิ่มของผลิตภัณฑ์ของบริษัท หรือ "กำไร"
( gain ) ประเทศเหล่านี้ถือว่าภาครัฐและเอกชนเป็นหุ้นส่วน
( partners )
กันการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดการถ่ายทอด
และการกระจายความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เข้าไปสู่กระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์
นอกจากจะทำให้เอกชนทำกำไรและขยายกิจการอันเนื่องมาจาก
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว
สิ่งที่ภาครัฐได้คือการเก็บภาษีจากผลกำไรจาการประกอบธุรกรรมของเอกชนตลอดจนการรักษาและขยายการจ้างงาน
ให้พลเมืองมีงานทำ เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศกลไกเหล่านี้ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า
" ระบบนวัตกรรม " หรือถ้าใหญ่มากขึ้นก็เรียกกันว่า
" ระบบ
นวัตกรรมแห่งชาติ
" หรือหากใช้คำศัพท์ที่ง่ายต่อความเข้าใจคือทำงานร่วมกันเป็น
" ระบบเครือข่ายกระจายความรู้
" นั้นเองเพราะการทำงานเป็นเครือข่ายจะทำ
ให้เกิดการถ่ายทอดและกระจายความรู้ซึ่งกันและกัน
ทำให้ได้มาซึ่งผลิตภาพ
( productivity ) ที่สูงขึ้นมีผู้บริหารองค์กรระดับชาติคนหนึ่งของประเทศแคนาดา
มา
บรรยายที่ประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน 2544
กล่าวไว้อย่างง่าย
ๆ ในเชิงธุรกิจว่าระบบการวิจัยเป็นการเปลี่ยนเงินเป็นความรู้ส่วนระบบนวัตกรรมเป็นการ
เปลี่ยนความรู้กลับไปเป็นเงินที่มีค่ามากขึ้น
ฉะนั้นผู้บริหารระดับประเทศที่เป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนงบประมาณและการเก็บภาษี จึงทำความเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มิได้มีแค่การวิจัยและพัฒนาเท่านั้น แต่ต้องมีการถ่ายทอดและกระจายความรู้ในลักษณะระบบนวัตกรรมเครือข่ายกระจายความรู้ดังกล่าวให้เกิดความสมดุลซึ่งกัน
และกัน มิฉะนั้นเราก็ยังผิดหวังในระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศต่อไปอีกนาน
4. ประเทศไทยกับกลไกการถ่ายทอด
==========================
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแหง่ชาติ
( สวทช ) ตระหนักถึงความสำคัญของกลไกการถ่ายทอดและกระจายความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโน
โลยีในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์ฃึ่งกันและกัน จึงได้จัดหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงเรียกว่า
ฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจเทคโนโลยีเพื่อให้ประเทศไทย
ได้เริ่มมีกลไกการถ่ายทอดและกระจายความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นระบบเหมือนนานาชาติ.
ฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจเทคโนโลยี มี
กิจกรรมที่อาจกล่าวได้ว่ามีลักษณะเป็น
" ระบบนวัตกรรม " หรือ " ระบบเครือข่ายกระจายความรู้
"
ประกอบด้วย 4 กิจกรรมดังนี้
กิจกรรมที่ 1. การสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมภาคเอกชน
กิจกรรมที่ 2.
การบริการปรึกษาทางอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ 3. การบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา
กิจกรรมที่ 4. การเลือกและรับเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ 5. การบริการด้านมาตรฐาน การทดสอบและการควบคุมคุณภาพ
การสนับสนุนการวิจัย
พัฒนาและวิศวกรรมภาคเอกชน เป็นกิจกรรมที่ต้องการผลักดันภาคเอกชนให้ทำการวิจัยและพัฒนาโดยการสนับสนุนด้านการเงิน
ทั้งในรูปแบบของเงินกู้ดอกเบี้ยตำ
ซึ่งให้การสนับสนุนได้ในวงเงิน 20 ล้านบาทแต่ไม่เกินร้อยละ
50
ของงบประมาณโครงการ
และเงินทุนให้เปล่า
ซึ่งให้การสนับ
สนุนได้ในวงเงิน 3 ล้านบาท และไม่เกินร้อยละ 50 ของงบประมาณโครงการ
การบริการปรึกษาทางอุตสาหกรรมเป็นกิจกรรมสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยในรูปแบบ
ของการใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคเข้าช่วยปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต
|
ดังนั้น สวทช จึงได้นำเอาปัจจัยที่เข็มแข็งขององค์กรคือ เทคโนโลยี ในรูปของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ภายใต้เครือข่ายทั้งใน
และต่างประเทศ มาใช้เป็นเครื่องมือในการผลักดัน
ให้เกิดการปรับโครงสร้างการผลิตของอุตสาหกรรมไทยได้อย่างรวดเร็วและมี
ประสิทธิภาพ โดยมีการสนับสนุนอย่างครบวงจร คือ ในด้านเทคนิค จะมีการเข้าเยี่ยมโรงงานเพื่อสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาทางเทคนิค
เบื้องต้น การเลือกสรรผู้เชี่ยวชาญและติดต่อเจรจาเพื่อว่าจ้างเป็นที่ปรึกษา การติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการทำงานของ
ผู้เชี่ยวชาญตลอดจนการแนะนำแหล่งข้อมูลทางเทคนิคและเชื่อมโยงไปสู่กิจกรรมด้านอื่นๆ ที่สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของ
สวทช
ในด้านการเงิน มีการสนับสนุนในส่วนของค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญได้สูงถึงร้อยละ75
ภายในวงเงินสูงสุด 500,000 บาท
ซึ่งเป็น
กลยุทธ์ขั้นต้นที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและจะเชื่อมโยงไปสู่การสร้างขีดความ
สามารถในการทำวิจัยและพัฒนาของอุตสาหกรรมไทย อันจะนำไปสู่การเพิ่มสมรรถนะของการแข่งขันในตลาดโลกอย่างเข้มแข็ง
การ
สนับสนุนการพัฒนาสมรรถภาพในการเลือกรับเทคโนโลยี ได้ให้การสนับสนุนภาคเอกชน
โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและ
ขนาดเล็กของไทย ให้ได้มีโอกาสเสาะหาและรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมจากต่างประเทศ
เพื่อปรับปรุง
เทคโนโลยีสำหรับขบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเจรจาธุรกิจกับบริษัทต่างประเทศซึ่งจะนำไปสู่การ
เลือกและรับเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีระดับบริษัทต่อไป
กิจกรรมบริการทรัพย์สินทางปัญญาได้ให้บริการด้านต่าง
ๆ
โดยได้เข้าไปช่วยเหลือภาคเอกชนที่มีกิจกรรมด้านการวิจัยและ
พัฒนาการให้คำปรึกษา ด้านนิติกรรมสัญญาที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา และช่วยเหลือภาคเอกชนในการดำเนินการขอรับความ
คุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
การบริการด้านมาตรฐาน การทดสอบ และการควบคุมคุณภาพ เป็นการสนับสนุนระบบคุณภาพและการสอบเทียบเครื่องมือวัด
แก่ภาคอุตสาหกรรมโดยมีกิจกรรมหลัก 4 ด้านได้แก่ ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ด้านการบริการด้านการวิจัยและพัฒนาและด้าน
การส่งเสริมและสนับสนุนทางการเงิน |
ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้จัดฝึกอบรมด้านการจัดการคุณภาพและหัวข้อที่เกี่ยวข้องทั้งการจัดฝึกอบรมทั่วไปและการฝึกอบรมภายในบริษัท
ด้านการบริการได้ให้การบริการปรึกษาด้านระบบคุณภาพ ISO9000 ทั้งในรูปแบบเต็มโครงการคือ
ดำเนินการให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั้งบริษัทได้รับการ
รับรอง และในรูปแบบบริการปรึกษาเฉพาะครั้งโดยบริการตรวจ
ประเมินเพื่อเตรียมความพร้อมในการขอรับการรับรอง
สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่ยังไม่พร้อมในการเข้าสู่ระบบคุณภาพมาตรฐานสากล
ISO 9000 เนื่องจากความสลับซับซ้อนของมาตรฐาน
ทำให้ใช้เวลานานในการดำเนินการและมีค่าใช้จ่ายสูง จึงจัดตั้งมาตรฐาน thai foundation quality
system ( TFQS ) ซึ่งง่ายต่อการประยุกต์ใช้และมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า
เพื่อยกระดับด้านการจัดการระบบคุณภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กไทย ให้มีความพร้อมในการเข้าสู่การแข่งขันในตลาดโลก
ระบบคุณภาพ TFQS
นี้ได้
นำไปทดลองใช้กับบริษัท
ที่เข้าร่วมโครงการจนประสพความสำเร็จแล้ว
และปัจจุบันอยู่ระหว่างทำการศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จ
ในการที่บริษัทจะพัฒนาจาก
มาตรฐาน TFQS สู่ ISO 9000 และสู่ TQM
( total quality management ) ต่อไปด้านการส่งเสริมและสนับสนุนทางการเงิน
ได้ดำเนินการสนับสนุนในหลายรูปแบบ
ที่สำคัญคือการให้ทุนโดยตรงกับภาคเอกชนเพื่อจัดตั้งระบบคุณภาพ ISO 9000 ไปประยุกต์ใช้ตั้งแต่ปี2540
และให้การสนับสนุนจนได้รับการรับรองแล้ว
นอกจาก
นี้ ยังให้การสนับสนุนสมาคมมาตรวิทยาแห่งประเทศไทยเพื่อดำเนินกิจกรรมด้านมาตรวิทยาที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม
และได้จัดตั้งศูนย์สอบเทียบเครื่องมือ
วัดอุตสาหกรรมขึ้นเพื่อให้บริการสอบเทียบ
เครื่องมือวัดอุตสาหกรรมที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ซึ่งได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือน
มีนาคม 2543 นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
ในการจัดทำหลักเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ
ที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพของ
อุตสาหกรรมไทยต่อไป
5. การตอบสนองจากภาคเอกชน
=======================
จากผลการดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2535-2543
ฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจเทคโนโลยี ได้รับการตอบสนองจากภาคเอกชนเป็นอย่างดีมีบริษัท
ที่เข้ารับการบริการทั้งสิ้น 439 บริษัท ข้อที่ควรสังเกตของกิจกรรมตัวอย่าง เช่น การบริการปรึกษาทางอุตสาหกรรม นั้นมีลักษณะ
1. มองความต้องการเอกชนเป็นสำคัญ
( demand driven ) กล่าวคือ
ผู้เชี่ยวชาญจาก สวทช. จะเข้าไปวิเคราะห์ปัญหาทางทางวิทยาศาสตร์ของเอกชนในเบื้องต้นก่อน
หากแก้ไขได้ก็แก้ไขให้เลยแต่หากปัญหา
ลึกซึ้ง
มากก็จะติดต่อผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสมช่วยแก้ไข
2. มีความจริงจัง
( commiment )
จากภาคเอกชนโดยต้องออกค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาด้วย เพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดจากความไม่ใส่ใจจริง
3. ความจริงจังจากภาครัฐทั้งในด้านที่มีหน่วยงาน
( ในกรณีนี้คือ สวทช.)
รับผิดชอบทำเป็นหน้าที่และรัฐเองก็ร่วมสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้วย
4. มีการประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญว่า โครงการ
การบริการที่ปรึกษาทางอุตสาหกรรม
นั้นนั้นมีความคู้มทุน
กล่าวคือ |
ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์
4.64-9.49 เท่า
นับเป็น "
ระบบนวัตกรรม
"
ที่เป็น "
เครือข่ายกระจายความรู้
"
ที่เชื่อมโยงกับเอกชนข้อสังเกตที่สำคัญอีกประการ
หนึ่งคือ
กิจกรรมของภาครัฐโดย
สวทช.
ได้ผลักดันให้ระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ได้เข้าไปอยู่ในวงจรของระบบเศรษฐกิจ
ที่บางทีเราก็เรียกว่า
"
วงจรมูลค่า
"
( value chain )
ของกลุ่มเศรษฐกิจการค้าเป็นจำนวนถึง
439 บริษัท
--------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------
More information, please contact E-mail
: chatchai@ckmit.com
|
|
|
|