ป็นที่ทราบกันดีอย่างแพร่หลายว่าอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเราจะขอกล่าวถึง
       เทคโนโลยี Next Generation Networks ( NGN ) ซึ่งมีการให้บริการแบบใหม่..... 

    NGN Architecture    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ - - -

           
การใช้ packet-based เพื่อส่งเสียงและข้อมูล โดยแยกระบบโครงข่าย ปัจจุบันให้เป็น layer ต่างๆ และมีการเชื่อมต่อด้วยมาตรฐานสากล การเรียก 
     สายในโครงข่ายสาธารณะ( PSTN ) จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ชุมสายเป็นส่วนสำคัญ  แต่สำหรับโครงข่ายแบบใหม่ นั้นจะมีอุปกรณ์เรียกว่า soft switch  หรือ 
     ที่รู้จักกันคือ  midia  gateway  controller  หรือ  call agent ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมส่วนต่างๆ ในระบบทำให้เกิดความรวดเร็วในการเชื่อมต่อกับ Intel-
     ligent Network ( in ) application และ new application server เพื่อเปิดการให้บริการแบบใหม่ทันต่อความต้องการของตลาดอีกด้วย


          
     ใน media layer , Gateways ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเสียงและข้อมูลอื่นๆกับ packet  transport network media Gateway ถูกใช้เพื่อ
     เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของ End-user ( Residential Gateway : RGW ) กับ Access Networks ( Access Gatewey;AGW ) อุปกรณ์ Media
     Server ชนิดพิเศษสามารถใช้งานได้หลายหน้าที่ เช่น ให้สัญญาณ dialing tone หรือ announcement นอกเหนือจากนั้นยังสามารถมี function ที่สูง
     ขึ้นไปอีก เช่น การตอบรับอัตโนมัติ และการแปลงตัวอักษรเป็นคำพูดหรือคำพูดเป็นตัวอักษร


              
การเชื่อมต่อที่เปิดกว้างของนวัตกรรมใหม่นี้ ทำให้เปิดการบริการใหม่ได้อย่างรวดเร็วและเป็นรูปแบบธุรกิจแบบใหม่ ที่แหวกกฎเกณฑ์แบบเก่าๆ การให้
     บริการต่างๆ สามารถเกิดจากผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน


    Cost Improvement   ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- - - -

              
เทคโนโลยีพื้นฐานที่เกี่ยวพันกับ   circuit  switches  ในปัจจุบัน  มีการพัฒนาไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์  circuit 
     switches เป็นส่วนที่มีความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐาน ( PSTN ) แต่ก็ไม่สามารถทำให้มีประสิทธิภาพที่ดีในการสื่อสารทางข้อมูลได้ด้วยเหตุนี้ ยิ่งการสื่อ
     สารทางข้อมูลในส่วนของ อินเตอร์เน็ต บนโครงข่ายโทรศัพท์มากขึ้น ยิ่งทำให้เห็นได้ชัด การออกแบบระบบชุมสายในอนาคตจะขึ้นกับ packet  techno -
     logy สำหรับการส่งข้อมูลและเสียงบนระบบสื่อสัญญาณทั่วไป ความจำเป็นในส่วนนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โครงข่ายที่มีอยู่ไปสู่การแบ่งโครงข่ายเป็นส่วน ๆ
     ซึ่งเชื่อมต่อด้วยการเชื่อมต่อแบบมาตรฐาน

                การเชื่อมต่อแบบมาตรฐานของแต่ละส่วนของเครื่อข่ายทำให้ผู้ประกอบการด้านโครงข่าย สามารถเลือกผู้ผลิตที่ดีที่สุดสำหรับเครือข่ายในแต่ละแบบได้
     การสื่อสารในรูปแบบ  Packet  -  based  ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในส่วนความต้องการขนาดของช่องสัญญาณ ยกเลิกการจองช่องสัญญาณเฉพาะสำหรับ
     สัญญาณเสียงเท่านั้น จึงทำให้การบริหารโครงข่ายทำได้ง่ายขึ้น แต่มีประสิทธิภาพมากกว่าในการ  upgrade software ใน  node  ซึ่งควบคุมเครือข่าย
     ด้วยวิธีนี้ จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติการ ได้มากกว่า

  
    การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ ( Deregulation )  -------------------------------------------------------------------------------------------------------- - - - 

   
          นอกจากเรื่องเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบและกฎเกณฑ์แล้วการให้บริการ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและการให้บริการตามไปด้วย ตัวอย่าง
     เช่น  วิธีการ  " local loop unbundling"  ที่หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลผู้ให้บริการของหลายประเทศทั่วโลก นำมาใช้ปฎิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ให้
     บริการรายเดิมเปิดโอกาสให้กับผู้ให้บริการรายใหม่โดยการแยกส่วนระบบชุมสายออกจากโครงข่ายสายนำสัญญาณไปสู่ผู้ใช้งานปลายทางหรือ " lastmile"
     เช่นนี้ ทำให้มีผู้ให้บริการสามารถแข่งขันกันได้มากขึ้น  ในการเสนอรูปแบบบริการใหม่ที่มีมูลค่า และปริมาณการใช้งานมากกว่าบริการในรูปแบบเดิม NGN
     เป็นหนทางที่สำคัญที่จะรองรับกับสถาปัตยกรรมโครงข่ายและโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงระเบียบกฎเกณฑ์(  Deregulation ) เหล่านี้

    
แหล่งรายได้ใหม่ ( Source of New Revenue)  ------------------------------------------------------------------------------------------------- - - - 

             ปัจจุบันผู้ให้บริการมีรายได้หลักจากการให้บริการสื่อสารทางเสียงเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการแข่งขันการให้บริการกันมากขึ้น
     มีผลทำให้ผู้ให้บริการมีรายได้ลดลงไปด้วย ถึงแม้รายได้หลักจะยังคงเป็นการให้บริการสื่อสารทางเสียงและโดยที่ผู้ให้บริการจะต้องให้บริการมากขึ้นแต่ได้ผล
     กำไรลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่เก็บค่าบริการแบบตายตัวตามจำนวนการใช้งาน เช่น ในระบบ  Metered  Local  Calls แต่ก็ยังมีรายได้อื่นมา
     ชดเชย เช่น การให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน PSTN ( Dialed-up Internet Access ) ที่เพิ่มขึ้น

                จากการที่ผู้ให้บริการมีรายได้ลดลงรวมถึงผลกระทบจากการให้บริการอินเตอร์เน็ต ที่มีแน่วโน้มว่าจะให้บริการในรูปแบบคิดค่าบริการคงที่ ( Flat -
     Rate Internet Access) ผู้ให้บริการจะต้องหารายได้จากด้านอื่นๆที่จะมาชดเชยหรือเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจจะเป็นการให้บริการและการใช้งานในระดับที่สูง
     ขึ้นไปจากปัจจุบัน จึงจะสามารถรักษาหรือเพิ่มปริมาณฐานลูกค้าได้รวมถึงรายได้ก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย

                 การให้บริการูปแบบใหม่ที่น่าสนใจอันหนึ่งก็คือ  การรวมการบริการสื่อสารโทรศัพท์บริการสื่อสารข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต และบริการระบบภาพ
     วิดีโอเข้าไว้ด้วยกัน ตัวอย่าง เช่น อาจจะมีการหมุนโทรศัพท์สายตรงจากอุปกรณ์ E.164 โดยการคลิกไปที่ ข้อความหรือตัวอักษรโดยตรง ด้วยการนำระบบ
     Text/Hyper-text Markup Langguage ( HTML ) หรืออาจจะเพิ่มส่วนส่วนของภาพวิดีโอหรือการใช้งานข้อมูลร่วมกัน " ON-The-fly " ก็เป็น
     ได้ในกรณีที่ผู้ใช้งานทั้ง 2 ด้าน มีอุปกรณ์ที่รองรับการให้บริการนี้อยู่

                 สิ่งที่ท้าทายก็คือการบริการรูปแบบใหม่ที่ผู้ใช้บริการยอมรับ เหมาะสม กับค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพิ่มขึ้นแลกกับบริการใหม่ที่ได้มากขึ้น เช่น จาก ตัวอย่างที่
     ยกมาเบื้องต้น จะทำให้ผู้ใช้บริการสะดวกมากขึ้นอย่างไร เมื่อไม่ต้องใช้งานหมุนโทรศัพท์ด้วยตนเองในรูปแบบเดิม การรับส่ง e-mail ที่แยกส่วนกันหรือมี
     ส่วนของภาพวิดีโอด้วย ถ้าผู้ให้บริการสามารถสร้างบริการสามารถสร้างบริการที่เหมาะสมแล้ว ก็จะมีผลทำให้รายได้และผลประกอบการมากขึ้น

                 จากรายงานของ Ovum ปี 2000 คาดการไว้ว่า ภายใน 8 ปีข้างหน้า ถ้าผู้ให้บริการที่ไม่ลงทุนสร้างโครงข่าย NGN จะมีรายได้น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
     ของผู้ให้บริการที่มีการลงทุนสร้างโครงข่าย NGN


    การตัดสินใจที่ยากลำบากต่อการพัฒนาไปสู่ NGN (NGN Migration:a Tough Decision)  -------------------------- - - -

                
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า NGN ไม่เพียงแต่จะเพิ่มรายได้ แต่ยังช่วยลดต้นทุนในการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการทำงานลงอีกด้วย ถ้าเป็นผู้ให้บริการ
     รายใหม่เลย จะไม่มีภาระในการปรับเปลี่ยนระบบโครงข่ายเดิมให้เปลี่ยนเป็นโครงข่าย  NGN  เพื่อที่จะให้บริการสื่อสารทางเสียงและข้องมูลรวมกัน แต่ใน
     ทางตรงกันข้ามผู้ให้บริการายเดิม จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและหนักใจอย่างมาก กับการที่จะเลือกการปรับปรุงโครงข่าย TDM ( Time Division -
     Multiplexed ) เดิม หรือโครงข่ายชุมสายโทรศัพท์เดิม( ถ้าเป็นไปได้ในทางเทคนิค ) ให้กลายเป็นโครงข่าย NGN หรืออาจจะเลือกลดหรือหยุดการลงทุน
     ในโครงข่ายระบบชุมสายโทรศัพท์ประเภท  CircuitSwitch  แล้วสร้างโครงข่าย  NGN  ซ้อนขึ้นมาพร้อมๆ กัน หรือเลือกที่จะเปลี่ยนเป็นโครงข่าย NGN
     อย่างรวดเร็วทันที..เลย 

                  แต่ทั้งนี้จะต้องมีการพิจารณาถึงผลกระทบกับการใช้งาน Dial-up Internet Access ซึ่งมีการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้น มีการใช้งานในแต่ละครั้งเป็น
     เวลานาน ทำให้เกิดคอขวดในโครงข่ายระบบโทรศัพท์ circuit switch เพราะโครงข่าย circuit switch นี้ได้ออกแบบให้รองรับการสื่อสารทางเสียงที่จะมี
     การใช้งานในแต่ละครั้งไม่ยาวนานมากนัก ดังนั้นผู้ให้บริการ จะต้องหาวิธีการที่จะยังคงให้บริการดังกล่าวควบคู่กันไป ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่โครง
     ข่าย  NGN  อย่างสมบูรณ์แบบ ถ้าผู้ให้บริการวางกลยุทธ์ผิดพลาดในการปรับปรุงโครงข่ายนี้ ก็จะทำให้ผู้ให้บริการ มีต้นทุนมากขึ้นกับการลงทุนที่จมลงไป
     แต่ถ้า ผู้ให้บริการเลือกกลยุทธ์การปรับปรุงที่ถูกต้องแล้ว ก็จะทำให้ผู้ให้บริการอยู่ทำหน้าพร้อมที่จะให้บริการรูปแบบใหม่ให้กับผู้ใช้บริการ ก่อนผู้ให้บริการ
     รายอื่นๆ

                  คงเป็นการลำบากที่จะบอกว่าวิธีการอย่างใด และเมื่อไรที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการปรับปรุงโครงข่าย NGN ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์เดิมที่ติดตั้งอยู่
     ในโครงข่าย ความต้องการของลูกค้า และแผนงานการขยายโครงข่ายของผู้ให้บริการในอนาคตด้วย

    NGN Architecture    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ - - -

             การใช้ packet-based เพื่อส่งเสียงและข้อมูล โดยแยกระบบโครงข่าย ปัจจุบันให้เป็น layer ต่างๆ และมีการเชื่อมต่อด้วยมาตรฐานสากล การเรียก 
     สายในโครงข่ายสาธารณะ( PSTN ) จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ชุมสายเป็นส่วนสำคัญ  แต่สำหรับโครงข่ายแบบใหม่ นั้นจะมีอุปกรณ์เรียกว่า soft switch  หรือ 
     ที่รู้จักกันคือ  midia  gateway  controller  หรือ  call agent ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมส่วนต่างๆ ในระบบทำให้เกิดความรวดเร็วในการเชื่อมต่อกับ Intel-
     ligent Network ( in ) application และ new application server เพื่อเปิดการให้บริการแบบใหม่ทันต่อความต้องการของตลาดอีกด้วย


         
      ใน media layer , Gateways ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเสียงและข้อมูลอื่นๆกับ packet  transport network media Gateway ถูกใช้เพื่อ
     เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของ End-user ( Residential Gateway : RGW ) กับ Access Networks ( Access Gatewey;AGW ) อุปกรณ์ Media
     Server ชนิดพิเศษสามารถใช้งานได้หลายหน้าที่ เช่น ให้สัญญาณ dialing tone หรือ announcement นอกเหนือจากนั้นยังสามารถมี function ที่สูง
     ขึ้นไปอีก เช่น การตอบรับอัตโนมัติ และการแปลงตัวอักษรเป็นคำพูดหรือคำพูดเป็นตัวอักษร


               การเชื่อมต่อที่เปิดกว้างของนวัตกรรมใหม่นี้ ทำให้เปิดการบริการใหม่ได้อย่างรวดเร็วและเป็นรูปแบบธุรกิจแบบใหม่ ที่แวกกฎเกณฑ์แบบเก่าๆ การให้
     บริการต่างๆ สามารถเกิดจากผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน


    Cost Improvement   ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- - - -

               เทคโนโลยีพื้นฐานที่เกี่ยวพันกับ   circuit  switches  ในปัจจุบัน  มีการพัฒนาไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์  circuit 
     switches เป็นส่วนที่มีความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐาน ( PSTN ) แต่ก็ไม่สามารถทำให้มีประสิทธิภาพที่ดีในการสื่อสารทางข้อมูลได้ด้วยเหตุนี้ ยิ่งการสื่อ
     สารทางข้อมูลในส่วนของ อินเตอร์เน็ต บนโครงข่ายโทรศัพท์มากขึ้น ยิ่งทำให้เห็นได้ชัด การออกแบบระบบชุมสายในอนาคตจะขึ้นกับ packet  techno -
     logy สำหรับการส่งข้อมูลและเสียงบนระบบสื่อสัญญาณทั่วไป ความจำเป็นในส่วนนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โครงข่ายที่มีอยู่ไปสู่การแบ่งโครงข่ายเป็นส่วน ๆ
     ซึ่งเชื่อมต่อด้วยการเชื่อมต่อแบบมาตรฐาน

               การเชื่อมต่อแบบมาตรฐานของแต่ละส่วนของเครือข่ายทำให้ผู้ประกอบการด้านโครงข่าย สามารถเลือกผู้ผลิตที่ดีที่สุดสำหรับเครือข่ายในแต่ละแบบได้
     การสื่อสารในรูปแบบ  Packet  -  based  ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในส่วนความต้องการขนาดของช่องสัญญาณ ยกเลิกการจองช่องสัญญาณเฉพาะสำหรับ
     สัญญาณเสียงเท่านั้น จึงทำให้การบริหารโครงข่ายทำได้ง่ายขึ้น แต่มีประสิทธิภาพมากกว่าในการ  upgrade software ใน  node  ซึ่งควบคุมเครือข่าย
     ด้วยวิธีนี้ จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ ได้มากกว่า

  
    การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ ( Deregulation ) -------------------------------------------------------------------------------------------------------- - - - 

              นอกจากเรื่องเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบและกฎเกณฑ์แล้วการให้บริการ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและการให้บริการตามไปด้วย ตัวอย่าง
     เช่น  วิธีการ  " local loop unbundling"  ที่หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลผู้ให้บริการของหลายประเทศทั่วโลก นำมาใช้ปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ให้
     บริการรายเดิมเปิดโอกาสให้กับผู้ให้บริการรายใหม่โดยการแยกส่วนระบบชุมสายออกจากโครงข่ายสายนำสัญญาณไปสู่ผู้ใช้งานปลายทางหรือ " lastmile"
     เช่นนี้ ทำให้มีผู้ให้บริการสามารถแข่งขันกันได้มากขึ้น  ในการเสนอรูปแบบบริการใหม่ที่มีมูลค่า และปริมาณการใช้งานมากกว่าบริการในรูปแบบเดิม NGN
     เป็นหนทางที่สำคัญที่จะรองรับกับสถาปัตยกรรมโครงข่ายและโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงระเบียบกฎเกณฑ์(  Deregulation ) เหล่านี้

     แหล่งรายได้ใหม่ ( Source of New Revenue)  ------------------------------------------------------------------------------------------------- - - - 

       
     ปัจจุบันผู้ให้บริการมีรายได้หลักจากการให้บริการสื่อสารทางเสียงเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการแข่งขันการให้บริการกันมากขึ้น
     มีผลทำให้ผู้ให้บริการมีรายได้ลดลงไปด้วย ถึงแม้รายได้หลักจะยังคงเป็นการให้บริการสื่อสารทางเสียงและโดยที่ผู้ให้บริการจะต้องให้บริการมากขึ้นแต่ได้ผล
     กำไรลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่เก็บค่าบริการแบบตายตัวตามจำนวนการใช้งาน เช่น ในระบบ  Metered  Local  Calls แต่ก็ยังมีรายได้อื่นมา
     ชดเชย เช่น การให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน PSTN ( Dialed-up Internet Access ) ที่เพิ่มขึ้น

               จากการที่ผู้ให้บริการมีรายได้ลดลงรวมถึงผลกระทบจากการให้บริการอินเตอร์เน็ต ที่มีแน่วโน้มว่าจะให้บริการในรูปแบบคิดค่าบริการคงที่ ( Flat -
     Rate Internet Access) ผู้ให้บริการจะต้องหารายได้จากด้านอื่นๆที่จะมาชดเชยหรือเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจจะเป็นการให้บริการและการใช้งานในระดับที่สูง
     ขึ้นไปจากปัจจุบัน จึงจะสามารถรักษาหรือเพิ่มปริมาณฐานลูกค้าได้รวมถึงรายได้ก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย

                การให้บริการูปแบบใหม่ที่น่าสนใจอันหนึ่งก็คือ  การรวมการบริการสื่อสารโทรศัพท์บริการสื่อสารข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต และบริการระบบภาพ
     วิดีโอเข้าไว้ด้วยกัน ตัวอย่าง เช่น อาจจะมีการหมุนโทรศัพท์สายตรงจากอุปกรณ์ E.164 โดยการคลิกไปที่ ข้อความหรือตัวอักษรโดยตรง ด้วยการนำระบบ
     Text/Hyper-text Markup Langguage ( HTML ) หรืออาจจะเพิ่มส่วนส่วนของภาพวิดีโอหรือการใช้งานข้อมูลร่วมกัน " ON-The-fly " ก็เป็น
     ได้ในกรณีที่ผู้ใช้งานทั้ง 2 ด้าน มีอุปกรณ์ที่รองรับการให้บริการนี้อยู่

                สิ่งที่ท้าทายก็คือการบริการรูปแบบใหม่ที่ผู้ใช้บริการยอมรับ เหมาะสม กับค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพิ่มขึ้นแลกกับบริการใหม่ที่ได้มากขึ้น เช่น จาก ตัวอย่างที่
     ยกมาเบื้องต้น จะทำให้ผู้ใช้บริการสะดวกมากขึ้นอย่างไร เมื่อไม่ต้องใช้งานหมุนโทรศัพท์ด้วยตนเองในรูปแบบเดิม การรับส่ง e-mail ที่แยกส่วนกันหรือมี
     ส่วนของภาพวิดีโอด้วย ถ้าผู้ให้บริการสามารถสร้างบริการสามารถสร้างบริการที่เหมาะสมแล้ว ก็จะมีผลทำให้รายได้และผลประกอบการมากขึ้น

                จากรายงานของ Ovum ปี 2000 คาดการไว้ว่า ภายใน 8 ปีข้างหน้า ถ้าผู้ให้บริการที่ไม่ลงทุนสร้างโครงข่าย NGN จะมีรายได้น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
     ของผู้ให้บริการที่มีการลงทุนสร้างโครงข่าย NGN


    การตัดสินใจที่ยากลำบากต่อการพัฒนาไปสู่ NGN (NGN Migration:a Tough Decision)  -------------------------- - - -

           
   
  จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า NGN ไม่เพียงแต่จะเพิ่มรายได้ แต่ยังช่วยลดต้นทุนในการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการทำงานลงอีกด้วย ถ้าเป็นผู้ให้บริการ
     รายใหม่เลย จะไม่มีภาระในการปรับเปลี่ยนระบบโครงข่ายเดิมให้เปลี่ยนเป็นโครงข่าย  NGN  เพื่อที่จะให้บริการสื่อสารทางเสียงและข้องมูลรวมกัน แต่ใน
     ทางตรงกันข้ามผู้ให้บริการรายเดิม จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและหนักใจอย่างมาก กับการที่จะเลือกการปรับปรุงโครงข่าย TDM ( Time Division -
     Multiplexed ) เดิม หรือโครงข่ายชุมสายโทรศัพท์เดิม( ถ้าเป็นไปได้ในทางเทคนิค ) ให้กลายเป็นโครงข่าย NGN หรืออาจจะเลือกลดหรือหยุดการลงทุน
     ในโครงข่ายระบบชุมสายโทรศัพท์ประเภท  CircuitSwitch  แล้วสร้างโครงข่าย  NGN  ซ้อนขึ้นมาพร้อมๆ กัน หรือเลือกที่จะเปลี่ยนเป็นโครงข่าย NGN
     อย่างรวดเร็วทันที..เลย 

                  แต่ทั้งนี้จะต้องมีการพิจารณาถึงผลกระทบกับการใช้งาน Dial-up Internet Access ซึ่งมีการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้น มีการใช้งานในแต่ละครั้งเป็น
     เวลานาน ทำให้เกิดคอขวดในโครงข่ายระบบโทรศัพท์ circuit switch เพราะโครงข่าย circuit switch นี้ได้ออกแบบให้รองรับการสื่อสารทางเสียงที่จะมี
     การใช้งานในแต่ละครั้งไม่ยาวนานมากนัก ดังนั้นผู้ให้บริการ จะต้องหาวิธีการที่จะยังคงให้บริการดังกล่าวควบคู่กันไป ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่โครง
     ข่าย  NGN  อย่างสมบูรณ์แบบ ถ้าผู้ให้บริการวางกลยุทธ์ผิดพลาดในการปรับปรุงโครงข่ายนี้ ก็จะทำให้ผู้ให้บริการ มีต้นทุนมากขึ้นกับการลงทุนที่จมลงไป
     แต่ถ้า ผู้ให้บริการเลือกกลยุทธ์การปรับปรุงที่ถูกต้องแล้ว ก็จะทำให้ผู้ให้บริการอยู่ทำหน้าพร้อมที่จะให้บริการรูปแบบใหม่ให้กับผู้ใช้บริการ ก่อนผู้ให้บริการ
     รายอื่นๆ

                  คงเป็นการลำบากที่จะบอกว่าวิธีการอย่างใด และเมื่อไรที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการปรับปรุงโครงข่าย NGN ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์เดิมที่ติดตั้งอยู่
     ในโครงข่าย ความต้องการของลูกค้า และแผนงานการขยายโครงข่ายของผู้ให้บริการในอนาคตด้วย

    แผนการพัฒนาไปสู่ NGN (Solution Sets for Migration to NGN )  -------------- - - -

                 alcatel  มีวิธีการหลายรูปแบบที่ผู้ให้บริการจะทำการปรับปรุงโครงข่าย  circuit  switch  voice
     networks ให้ไปสู่สถาปัตยกรรมโครงข่าย Packets -based NGN ทุกวิธีการสามารถทำได้อย่างสมบูรณ์
     ภายในตัวเอง หรืออาจจะนำแต่ละวิธีการมารวมกันก็สามารถทำได้ ถ้าจะทำให้ได้ผลตามเป้าหมายของแต่ละผู้ให้
     บริการ ซึ่งบางวิธีไม่ใช่การปรับปรุงไปสู่โครงข่าย NGN  อย่างเต็มรูปแบบในทีเดียวแต่อาจจะเป็นการปรับปรุง
     ตามขั้นตอนที่จะทำให้ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการเริ่มรู้จักและใช้โครงข่าย NGN

    การพัฒนาอุปกรณ์ชุมสายโทรศัพท์
Circuit Switch (circuit switch Evolution) ---- - - -

                  ผู้ให้บริการที่มีอุปกรณ์ชุมสายโทรศัพท์ เช่น Alcatel 1000 สามารถปรับปรุงไปเป็น NGN ได้โดย
     ขั้นแรก ทำการขายอุปกรณ์  Alcatel 1000 ให้เป็น Packets- based NGN โดยทำการขาย ส่วนVoice
     over Packet Gateway ( Vop GW ) รวมไว้อยู่ภายในหรือภายนอกชุมสาย Alcatel1000 เพื่อสำหรับ
     การเชื่อมต่อกับส่วนของ internet protocol ( IP ) หรือส่วนAsynchronous Tranfer Mode ( ATM )
     และส่วนของ Packets-based broadband swiching matrix, การควบคุม  Scriber-controlled
     web - based.

                รวมถึงการจัดการให้บริการขั้นสูงต่างๆให้แก่ผู้ใช้บริการอย่างคล่องตัวและเหมาะสมฃึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายของผู้ให้บริการไปในตัวด้วย ขั้นตอนต่อไป
     เป็นการปรับปรุงพัฒนา Alcatel1000 ให้กลายเป็น basicNGN building block ต่อไป ซึ่งจะกลายเป็น soft switch(Class 4/Class 5 Applica-
     tion) หรือเป็น Access Gateway ที่มีการควบคุมการทำงานจากอุปกรณ์  soft switch ที่อยู่ภายนอก วิธีการนี้จะมุ่งให้มีการปรับเปลี่ยนอย่างกลมกลืนราบ
     รื่นและมีผลกระทบกับธุรกิจการให้บริการของผู้ให้บริการน้อยที่สุด

     การลดปริมาณการใช้งานชุมสายโทรศัพท์ (PSTN offload Solution) ------------------------------------------------------------------------ - - -

                 จากการที่การใช้งาน internet Dial-up มีปริมาณสูงขึ้น ทำให้เกิดปัญหาคอขวดขึ้นในโครงข่ายชุมสายโทรศัพท์ ซึ่งมีผลกับจำนวนและคุณภาพของ
     การให้บริการสื่อสารทางเสียงผู้ให้บริการายเดิมนั้นจะต้องแก้ไขปัญหา Packet - based ดังกล่าวด้วยการเพิ่มขยายอุปกรณ์แบบเดิม แต่วิธีการ  PSTN
     offload นี้จะพยายามย้ายการติดต่อสื่อสารประเภทนี้ จากโครงข่าย  PSTN  ออกไปยังโครงข่าย Packet  based  หลัก เพื่อที่จะส่งต่อให้กับ internet 
     service provider ( ISP ) โดยเร็วที่สุด วิธีการ  PSTN  offload  สำหรับโครงข่าย Narrowband  จะทำโดยการใช้อุปกรณ์  Alcatel5425CSG
     (call signalling gateway) ทำงานร่วมกับกับอุปกรณ์ Alcatel 7410 RAS ( remote access server ) การเรียกใช้บริการ internet จะผ่านชุม
     สายต่อผ่าน ( Transit PSTN ) ไปยัง RAS ที่อยู่ใกล้ที่สุด และเชื่อมต่อไปที่  ATM หรือโครงข่ายข้อมูล  IP-based  อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพเชื่อมต่อ
     ระหว่างชุมสายท้องถิ่นกับอุปกรณ์ชุมสาย RAS 


    อุปกรณ์ Alcatel 5737 SMC (service management center)  ---------------------------------------------------------------------------- - - -

                  จะขยายการให้บริการและการจัดการบริการ Virtual Private Network ( VPN ) ให้แก่ผู้ให้บริการที่ต้องการมีข้อได้เปรียบที่จะเสนอการบริการ
      whole sales access service ให้กับลูกค้าของผู้ให้บริการ ปัจจุบันการให้บริการลักษณะนี้ มีการใช้งานสำหรับการบริหารและจัดการมากกว่า 10 ล้าน
     ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลก สำหรับการปรับปรุง PSTN  offload นี้ไปเป็น NGN  voice  service จะทำโดยการเพิ่มอุปกรณ์เพิ่มเติม และการทำงานของ
     Gate keeper เพื่อที่จะแปลงเลขหมายโทรศัพท์ให้ไปเป็น  IP  Address  การย้ายการให้บริการจากชุมสายโทรศัพท์  PSTN  ไปสู่การให้บริการข้อมูล
     ความเร็วสูงประเภท Broad band ( PSTN Offload  through  Broadband  Access ) มีอีกหนทางหนึ่ง ที่จะลดปริมาณการใช้งาน Dial - up
     Internet ออกจากโครงข่าย PSTN ขณะเดียวกัน ก็เป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยโครงการเสนออุปกรณ์เชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ( Broad
     band internet access ) ให้กับผู้ใช้บริการ ตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยีของ Asymmaetric Digital Subscriber Line ( ADSL ) มาใช้งานโดย
     การนำสัญญาณจากเครื่องโทรศัพท์ และสัญญาณจากอุปกรณ์รับส่งข้อมูลรวมบนสายทองแดงคู่เดียวกัน ไปยังผู้ใช้บริการ และจะมีอุปกรณ์แยกสัญญาณออกจาก
     กันที่อุปกรณ์ Digital  Subscriber  Line  Access Multiplexer ( DSLAM ) สัญญาณโทรศัพท์ที่เป็นเสียงจะแยกออกไปโครงข่าย circuit switch
     ส่วน ส่วนที่เป็นสัญญาณข้อมูลจะแยกออกไปยังโครงข่าย Packet - base จะเห็นว่าวิธีการนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ให้บริการในการให้บริการ
     ในระดับ Broadband  แล้ว ยังเป็นการเพิ่มการให้บริการระดับสูงให้ผู้รับบริการอีกด้วยการปรับปรุงขั้นตอนสุดท้ายจาก Voice Traffic ไปเป็น NGN 
     จะทำโดยการใช้ Softswitch และ AccessGateway ทำงานร่วมกัน


    Multi-Service Access  ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- - - -

                  อุปกรณ์ Multi-service  access  node ของ  Alcatel  ทำให้ผู้ให้บริการ สามารถเสนอบริการประเภท Norrowband รวมถึงการบริการ
     ประเภท DSL Broadband ให้กับลูกค้าที่ต้องการ การบริการติดต่อทางเสียงการสื่อสารข้อมูล ปกติแล้วอุปกรณ์ Multi-service access node นี้ควร
     จะนำมาใช้ได้เลยในขณะนี้ เมื่อเห็นว่า ผู้ใช้บริการในโครงข่าย  PSTN  จะเปลี่ยนและพัฒนาไปสู่  NGN  อุปกรณ์เชื่อมต่อมาตรฐานชนิด V5/GR.303 ใช้
     สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ Multi - service access node กับโครงข่าย Voice ในปัจจุบัน ส่วนการเชื่อมต่อข้อมูลความเร็วสูง Broadband ทำได้โดย
     การเชื่อมต่อกับโครงข่าย  Synchronous  Digital  Hierarchy ( SDH ) หรือ  Plesiochronous  Digital  Hierarchy( PDH ) หรือโครงข่าย
      ATM การนำอุปกรณ์นี้เตรียมพร้อมสำหรับ NGN จะใช้อุปกรณ์  Litespan 1540 ซึ่งได้รวมอุปกรณ์ Voice Over  Internet  Protocol ( VoIP ) 
     access gateway เข้าไว้ด้วยแล้วทำให้อุปกรณ์ softswitch สามารถทำงานในการให้บริการสื่อสารโทรศัพท์ผ่านโครงข่าย IP/ATM

     Voice Over DSL   -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- - - -

                  Alcatel 7300 ATM Subscriber  Access  Multiplexer ( ASAM ) เป็นอุปกรณ์ที่รวมการทำงาน ของ Voice Gateway กับ Inter-
     grated Access Device ( IAD ) เข้าไว้ด้วยกันและติดตั้งอยู่ในสถานที่ของผู้ใช้บริการ ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการสื่อสารทางเสียงได้มากกว่า
     หนึ่งช่องสัญญาณ  บนสายทองแดงปกติคู่เดียวกัน ซึ่งมีประโยชน์  เหมาะสมกับการใช้งาน  ทางด้านธุรกิจที่มีปริมาณความต้องการใช้งาน มากกว่าหนึ่งช่อง
     สัญญาณการสื่อสารทางเสียง หรือควบคู่ไปกับการบริการ ISDN โดยใช้อุปกรณ์ DSL Splitter นอกจากนี้ Alcatel 7300 ยังรองรับการทำงานในระบบ
     Symmetrical DSL ( G.SHDSL ) อีกด้วย ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทางธุรกิจที่ต้องการใช้วงจรการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม
     Private Circuit ได้ในงบประมาณที่จำกัด

       Loop  Emulation Service ( ELS ) เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยกลุ่ม  ATM  Forum  ทำให้ผู้ให้บริการได้ประโยชน์ทางธุรกิจเป็น
    อย่างมากไม่ว่าจะเป็นการได้รายได้ จากการบริการสื่อสารข้อมูลในระดับ Broadbandเพิ่มขึ้นจากการให้บริการสื่อสารทางเสียง และ/หรือ
    ทำให้การจัดการค่าใช้จ่าย ในการทำงานทั้งสำหรับโครงข่าย   Narrowband   และโครงข่าย   Broadband   ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    สถาปัตยกรรมของ VoDSL และ LES ขั้นตอนแรกการให้บริการสื่อสารทางเสียงยังคงให้บริการโดยการทำงานและบริหารการเก็บข้อมูล
    ค่าใช้จ่าย ในการใช้บริการด้วยอุปกรณ์ Class 5 switch อย่างเดิมเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการบริการต่างๆยังคงอยู่เหมือนกับที่โครงข่าย TDM 
    แบบเดิมให้บริการ จากนั้นก็จะเริ่มปรับเปลี่ยน  Loop  Voice  gateway  ( LVG )  ไปเป็น  Softswitch - controlled  gateway 
     ซึ่งทำให้การปรับปรุงไปสู่ระบบ  NGN  ได้ง่ายตลอดเวลาส่วนสำคัญก็คือเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายของการทำงานที่จะเกิดขึ้นที่สถานที่ติดตั้งอุปกรณ์
     ต่าง ๆ ในขณะที่อุปกรณ์ Softswitch ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ของ Gateway จะยังไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ในส่วนของ LES-based IAD

    CLASS 4 NGN Solution  ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- - - -

                  ผู้ให้บริการมีความต้องการเปลี่ยนอุปกรณ์ Class 4 circuit switch ที่มีความล้าสมัย หรือมีการสร้างโครงข่ายซ้อนทับขึ้นมาอีกโครงข่ายหนึ่ง เพื่อ
     ที่จะเพิ่มปริมาณการรองรับการสื่อสารทางเสียงของโครงข่ายหลัก  ภายในขอบเขตของโครงข่ายของผู้ให้บริการรายหนึ่ง ๆ จะมีการสื่อสารรูปแบบใหม่ จะมี
     ปริมาณการติดต่อกันสูงขึ้นและเคลื่อนที่อยู่เสมอทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการสื่อสารให้มีความยืดหยุ่นตามไปด้วย ในหลายกรณีสามารถที่จะเพิ่ม
     ประสิทธิภาพของวงจรเชื่อมต่อแบบ Trunk ที่มีปริมาณการใช้งานน้อย ให้มารองรับปริมาณการสื่อสารที่มีการจัดลำดับความสำคัญของการสื่อสารนั้นๆ ของ
     ชุมสายปลายทาง  โดยไม่ต้องมีการเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ชุมสายขึ้นมาเลย  ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจน  ว่าการเชื่อมต่อระหว่างวงจร  Trunk ต่างๆ  ที่เกิดขึ้นจริง
     สามารถทำได้โดยการเชื่อมต่อเสมือน ( virtual connectivity ) ของโครงข่าย Pack  Backbone กับอีกโครงข่ายหนึ่ง ( any to any ) วิธีการนี้ยังคง
     ตอบสนองความต้องการของผู้ให้บริการประเภท Carrier ที่จะต้องให้บริการการเชื่อมต่ออุปกรณ์ตู้สาขา ( pabx ) จากที่หนึ่งไปที่ส่วนใดๆ ทั่วโลกได้ ( เช่น
     การเชื่อมต่อตู้สาขาจากสำนักงานใหญ่แห่งหนึ่ง ไปยังตู้สาขาตามสำนักงานที่มีสาขาเข้าด้วยกันนี้ เป็นการทำงานส่วนหนึ่งที่อยู่ใน Class 4 NGN สำหรับให้
     บริการแก่องค์กรต่างๆ ที่ต้องการมีโครงข่ายเสมือนของตนเอง ( VPN - Virtual Private Network ) การให้บริการระดับสูงขึ้นไปอื่นๆ  กำลังอยู่ขั้นการ
     เตรียมการ เช่น อาจจะมีการเชื่อมต่อเข้ากับโครงข่ายอัจฉริยะ ( IN-Intelligence Network ) หรือเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์เชื่อมต่อ ที่มีมารตฐานสากลอื่นๆ
     เช่น Parlay,Jain หรือ SIP ( Session Initiation protocol ).SIP  จะเป็นส่วนการจัดการของการบริการที่จะเกิดขึ้นจากแม่ข่ายที่กำหนดเท่านั้น

    Class 5 NGN Solution   ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- - - -

                  วิธีการนี้จะสนองความต้องการของผู้ให้บริการ ที่ต้องการจะเปลี่ยนอุปกรณ์ class5 circuit switch ที่ล้าสมัยแล้ว  หรืออีกนัยหนึ่ง  ก็ทำให้ผู้ให้
     บริการสามารถใช้โครงข่าย NGN ที่มีซ้อนขึ้นมารองรับผู้ใช้บริการที่มีปริมาณสูงขึ้นจำนวนมากในพื้นที่เฉพาะที่ใดที่หนึ่งในพื้นที่การให้บริการ ( เช่นมีการ
     เกิดขึ้นใหม่ของพื้นที่ประกอบธุรกิจ )  ด้วยการทำโครงข่ายซ้อนขึ้นมานี้ ทำให้อุปกรณ์ softswitch เพียงตัวเดียว  สามารถรองรับการบริการดังกล่าวได้มาก
     กว่าหนึ่งพื้นที่ในเวลาเดียวกัน โดยหลักการแล้วอุปกรณ์  softswitch  จะอยู่ที่ใดก็ได้ ในโครงข่ายที่มีขนาดใหญ่ หรือเป็นอุปกรณ์ที่เป็นชุมสายหลักเป็นแกน
     การทำงานหลักในโครงข่ายที่มีขนาดเล็ก ของแตกต่างของ circuit switch กับ class 5 softswitch ก็คือ อุปกรณ์ class 5 softswitch จะรองรับการ
     ให้บริการ ของอูปกรณ์ปลายทางได้ทุกรูปแบบ เช่นโทรศัพท์ธรรมดา,โทรศัพท์แบบ IP ( IP Phone ) ,อุปกรณ์  multimedia  และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
     ( pc ) โดยอาจจะให้บริการเชื่อมต่อไปยังโครงข่ายสื่อสารข้อมูล  หรือผ่านไปที่ media gateway ต่างๆการปรับเปลี่ยนพัฒนาต่างๆ  นี้จะราบรื่นได้ผลดี
     จะต้องให้การเปลี่ยนแปลงนี้ รองรับการบริการทั้งปัจจุบันอนาคตได้ด้วย..

                 อุปกรณ์ alcatel 1000 softswitch ได้ถูกออกแบบให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อ ของอุปกรณ์ปลายทาง และเทคโนโลยีแบบต่างๆ ได้หลากหลาย
     สิ่งที่สำคัญก็คืออุปกรณ์  softswitch  นี้จะสามารถทดแทนอุปกรณ์ class4 และ class5  circuit  switch ที่ใช้งานอยู่เดิมได้อย่างสมบูรณ์และยังทำให้
     สามารถรองรับการให้บริการเพิ่มเติมในรูปแบบใหม่ๆ ( new value-added ) ได้อีกด้วย

                 การให้บริการระดับสูง ( Advanced Service ) การให้บริการระดับสูงซึ่งส่วนมากแล้ว เป็นการให้สื่อสารทางเสียงควบคู่ไปกับข้อมูลไปพร้อมๆ
     กันเช่น การใช้ระบบจำแนกเสียงพูด ( speech recognition ) ทำให้อุปกรณ์ปลายทางใดๆ ก็ตามไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์โทรศัพท์แบบเก่าก็สามรถใช้บริการ
     ขั้นสูงดังกล่าวได้ ตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อใช้งานอินเตอร์เน็ตด้วยเสียง ทำให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ธรรมดาสามารถค้นหารายชื่อต่างๆ จากการ online เข้า
     กับฐานข้อมูลของสมุดโทรศัพท์ได้โดยตรง  เมื่อพบรายชื่อแล้ว  ผู้ใช้บริการจะสามารถขอใช้บริการ ให้เชื่อมต่อไปยังบุคคลนั้น โดยการใช้เสียงพูดเช่นคำว่า
     "โทร"ได้อย่างสะดวกสบาย หรืออีกตัวอย่างซึ่งมีใช้แล้วในปัจจุบันก็คือ speech -to -text. และ text -to -speech ของบริการ "UNIFIED MESSA-
     GING SERVICE ( UMS )" ความสามารถนี้ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถรับและอ่าน e-mail หรือโทรสารจากการใช้โทรศัพท์ธรรมดา หรือในทางกลับกัน
     ผู้ใช้บริการก็สามารถส่ง e-mail หรือโทรสารจากส่วนที่ใดในโลกโดยการใช้โทรศัพท์ธรรมดา

                    การที่ผู้ใช้บริการ จะมีการใช้งานที่เคลื่อนที่ และเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการใช้งานอยู่เสมอ เป็นกุญแจสำคัญที่การ
   ให้บริการระดับสูงที่จะต้องครอบคลุมในการให้บริการให้ได้ ซึ่งไม่ใช้ว่าจะต้องใช้อุปกรณ์ปลายทางที่สามารถใช้งานเคลื่อน
   ที่ได้เท่านั้น ( เช่นโทรศัพท์มือถือ ) แต่ยังหมายถึงผู้ใช้บริการจะสามารถเดินทางเคลื่อนที่ย้ายไปใช้งานตามสถานที่ต่างๆ
   แห่งใด และด้วยอุปกรณ์ปลายทางใดๆ ก็ได้ ผู้ใช้บริการจะสามารถใช้บริการที่สมัครเป็นสมาชิกประจำอยู่ที่บ้านของผู้ใช้
   บริการนั้น เมื่อผู้ใช้บริการมีการใช้งานบริการนั้นๆ ซึ่งอาจจะเป็นที่บ้าน หรือที่อื่นใด ค่าบริการที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกเข้าใน
   รายการค่าใช้จ่าย  ของผู้ใช้บริการรายนั้นโดยอัตโนมัติ   การใช้งานอุปกรณ์ปลายทาง   ระดับสูงอื่นในการใช้บริการเช่น
   "click-to-dial" อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการหมุน และเรียกโทรศัพท์ในแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง หรือการพูดเพื่อส่ง
   e-mail หรือรับ  e-mail รวมถึงการรับส่งโทรสารด้วยเช่นเดียวกัน จะเห็นว่าส่วนสำคัญของบริการะดับสูงก็คือการให้ 
   บริการที่เหมือนกันทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานประจำที่สถานีที่หนึ่ง หรือมีการเคลื่อนที่ไปที่ใด และด้วยอุปกรณ์ปลายทาง
   อะไร การให้บริการก็คงยังทำได้เหมือนกันทุกประการ

                 ในไม่ช้าจะมีบริการประเภท multimedia ใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย เช่น  person-to-person  video 
   calls, การใช้งานฐานข้อมูลต่างๆ  เช่น งานเอกสารร่วมกัน,  การประชุมทางไกลทั้งภาพและเสียง เป็นต้น   รวมทั้งการ
     บริการอื่นๆที่จะมีใช้ในระบบชุมสายโทรศัพท์จะเป็นตัวผลักดันให้มีการขยายตัวทางการตลาดของการบริการทางโทรศัพท์เพิ่มมากขึ้น ขณะนี้มีการพัฒนา
     บริการต่างๆ เหล่านี้ให้สามารถทำงานบนอุปกรณ์ softswitch เพื่อให้มีความมั่นใจว่าจะมีความสามารถและประสิทธิภาพความน่าเชื่อถือในระบบเทียบเท่า
     กับที่โครงข่ายชุมสายโทรศัพท์ PSTN ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

    ตังอย่างแผนการปรับเปลี่ยนพัฒนาโครงข่าย  ------------------------------------------------------------------------------------------------------ - - -

                    มีแผนการและวิธีการมากมาย ที่เป็นไปได้ในการจะปรับเปลี่ยนพัฒนาให้เป็นสถาปัตยกรรมโครงข่าย NGN ตัวอย่างต่อไปนี้ จะแสดงให้เห็นถึง
     ข้อดีต่างๆ ของวิธีการที่จะเตรียมความพร้อมเข้าสู่โครงข่าย NGN และด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนที่ราบรื่น ผู้ให้บริการในปัจจุบันจะให้บริการสำหรับตลาดที่
     มีการพัฒนาต่างๆกันด้วยองค์ประกอบดังนี้
                    - ใช้ชุมสายโทรศัพท์ circuit switch ที่มีการบริหารการจัดการที่ดี รองรับผู้ใช้งานโทรศัพท์พื้นฐาน POST 
                    - ความต้องการใช้งานโทรศัพท์พื้นฐานมีปริมาณน้อยมากหรือแทบจะไม่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นเลย
                    - ผู้ให้บริการจะมีการแข่งขันต่อสู้กันเพื่อครอบครองตลาด โดยเป้าหมายสำคัญจะอยู่ที่ผู้ใช้บริการระดับองค์กรขนาดเล็ก 
                   ไปจนถึงองค์กรระดับกลาง  และจะแข่งขันเสนอการให้บริการสื่อสารทางเสียงและข้อมูลในระดับสูงประเภท  Broadband  data access
      ( ด้วยวิธีการ local loop unbunding )

                   ผู้ให้บริการที่จะเข้าแข่งขันจำเป็นต้องลงทุนที่จะมีอุปกรณ์ softswitch เพื่อที่จะมีความสามารถในการเสนอการบริการสื่อสารทางเสียงโดยผ่าน
     โครงข่ายพื้นฐานประเภท packet - based ได้  ผู้ให้บริการรายเดิมจะถูกคุกคามอย่างรุนแรง จากผู้ให้บริการรายอื่นๆ ดังนั้นผู้ให้บริการเหล่านี้จะต้อง
     ตอบโต้อย่างรวดเร็ว โดยการเสนอให้บริการด้วยอุปกรณ์ alcatel7300 ASAM โดยไม่ต้องเสียเงินลงทุนในส่วนของอุปกรณ์ softswitch ทันทีเหมือน
     ผู้ให้บริการรายใหม่  แต่จะใช้ชุมสาย  circuit switch ที่ติดตั้งอยู่แล้ว  ให้บริการสื่อสารทางเสียงผ่านอุปกรณ์ DSLAM ควบคู่ไปกับ LES Gateway
     จนกว่าจะมีการใช้งานที่คุ้มค่าให้มากที่สุด  ต่อการลงทุนในอุปกรณ์เดิมที่ได้ลงไปแล้ว  ข้อดีข้างเคียงที่เกิดขึ้นก็คือ  ช่วยลดปริมาณการใช้งานในโครงข่าย
     PSTN ลง  เมื่อปริมาณการใช้งานมีปริมาณสูงขึ้นไปสู่  NGN  โดยการเปลี่ยนจาก Intergrated  Loop  Voice  gateway  ที่ติดตั้งอยู่เดิม ไปเป็น
     softswitch controlled access gateway ในขั้นตอนที่สองและขั้นตอนสุดท้ายในการพัฒนาเป็นNGN นั้น ไม่ต้องมีการติดตั้งสายนำสัญญาณ
     ใหม่ไปหาผู้ให้บริการ หรือต้องรบกวนต่อผู้ใช้บริการ ณ สถานที่ของผู้ใช้บริการเลย.......
 

                                                                              
     ================
                                                                                             
      บทสรุป
                                            
   
   ================

                    
อุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แม้ว่าการบริการสื่อสารทางเสียง ของผู้ให้บริการปัจจุบันจะเป็นแหล่งรายได้
  
     หลักที่สำคัญก็ตาม แต่ตลาดในส่วนนี้ ก็ยังคงเติบโตไม่เพียงพอ ที่จะทำให้ผู้ใช้บริการรายเดิม สามารถแข่งขันกับผู้ให้บริการรายใหม่ ที่เข้ามาดังนั้นผู้ให้
  
     บริการรายเดิม จะต้องหาวิธีและแนวทางใหม่ๆ ที่สามารถรักษาลูกค้ารายเดิมไว้ให้ได้  โดยจะต้องตอบสนองความต้องการ หรือความคาดหวังในบริการ
  
     ของลูกค้า ของผู้ให้บริการ ได้ดีกว่าผู้ให้บริการรายอื่น ด้วยวิธีการรวมเอา บริการสื่อสารทางเสียง และข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์ อย่างมีประสิทธิ
  
     ภาพ เหมาะสมกับค่าใช้จ่าย และสามารถให้บริการได้อย่างยืดหยุ่น ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการด้านโครงข่าย จะต้องการระบบอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นมาตร
       ฐานสากล  เพื่อที่จะสามารถแข่งขันและอยู่รอดได้  Alcatel ได้พัฒนาอุปกรณ์ NGN บนพื้นฐานของการปรับปรุง และพัฒนาอุปกรณ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
       โดยวางกลยุทธ์ เป้าหมายหลักในการทำงาน รับกับบริการรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งกลยุทธ์นี้ ได้มีการศึกษาติดตาม และปรับปรุงให้ทันสมัยล่าสุดเสมอการพัฒนา
       การของตลาด ดังนั้น Alcatel จะเป็นผู้ที่นำเสนอวิธีการที่เหมาะสมที่สุดแก่ผู้ให้บริการได้อย่างไร? และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ให้บริการว่าการพัฒนา

       โครงข่ายต่างๆ ในการบริการสื่อสารทางเสียงไปสู่ระบบ NGN ได้อย่างราบรื่นและสมบูรณ์..........

                                                                                                                                                                                                          
- anita -