การสื่อสารทางโทรศัพท์นับเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นสาธารณูปโภค ที่สำคัญอย่างหนึ่งเพราะสามารถติดต่อกันได้อย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่
    ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งเท่านั้น  แต่สามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วไปยังต่างจังหวัดและต่างประเทศ โดยวิธีอัตโนมัติไม่ต้องผ่านพนักงาน
    โทรศัพท์  กลางได้อีกด้วยโทรศัพท์จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจและสังคมอื่นๆ ทุกชนิดกิจการด้านโทรศัพท์ได้แบ่งส่วน
    งานทางเทคนิคออกเป็น 2 ส่วน คือ  งานตอนใน  ( Inside Plant ) ได้แก่งานที่เกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องชุมสายโทรศัพท์และงานสายตอนนอก
    ( Outside Plant ) ได้แก่งานสร้างข่ายทางสายทั้งหมด ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ Main Ditribution Frame ( MDF ) เป็นต้นไปจนถึงเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านของ
ผู้เช่า รวมทั้งการบำรุงรักษาทางสายให้ใช้งานได้ตลอดเวลา งบประมาณการลงทุนทางด้านเทคนิคประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์จะใช้ไปกับงานด้านสายตอนนอกส่วนที่
เหลืออีก 40 เปอร์เซ็นต์ เป็นส่วนของงานตอนใน ดังนั้นจะเห็นว่างบประมาณการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ที่งานสายตอนนอกจึงถือได้ว่างานสายตอนนอกเป็นงานที่สำคัญ
อันดับหนึ่งของกิจการโทรศัพท์ การวางแผนงานด้านข่ายทางสายการติดตั้งรวมทั้งการบำรุงรักษาจึงต้องกระทำอย่างรอบคอบ และถูกหลักเกณฑ์เพื่อให้เกิดประสิทธิ
ภาพสูงสุดและคุ้มกับการลงทุนงานสายตอนนอกที่นอกเหนือไปจากงานวางแผนข่ายทางสายยังถูกแบ่งย่อยออกเป็นงานสร้างทางสาย ( Line Construction ) งานตัดต่อ
เคเบิล ( Cable Splicing ) งานติดตั้งเครื่องโทรศัพท์ ( Station Installation ) และงานบำรุงรักษาทางสาย ( Line Maintenance )

งานสายตอนนอก ............................................................................................................................................................. 

งานสายตอนนอกเริ่มต้นตั้งแต่ Main Distribution Frame ( MDF ) ไปจนถึงเครื่องโทรศัพท์บ้านผู้เช่า

Main Distribution Frame ( MDF ) เป็น Frame ที่ติดตั้งภายในอาคารชุมสายโทรศัพท์ เพื่อประโยชน์ดังนี้
                             -  เป็นจุดแบ่งระหว่าง Inside Plant กับ Outside Plant
                             -  เป็นที่เชื่อมต่อสายเคเบิลระหว่างภายนอกกับภายในชุมสาย โดยจัดเรียงให้เป็นระเบียบ
                             -  เป็นที่ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันชุมสายโทรศัพท์เช่น Carbon Arester,Fuse,Heat Coil เป็นต้น
                             -  เป็นที่ใช้สำหรับตรวจสอบหาสาเหตุข้อขัดข้องของโทรศัพท์ว่าเป็นข้อขัดข้องที่เกิดภายในชุมสายหรือเกิดจากทางสายโทรศัพท์

                                                         

            
  Cable Entrance เป็นห้องที่ใช้ต่อสายเคเบิลใต้ดิน ( Underground Cable ) กับเคเบิลที่ใช้ต่อเข้ากับ MDF วางหัวต่ออยู่ในแนวดิ่ง เนื่องจากสายเคเบิล
ใต้ดินมักจะใช้สายที่ใช้กระดาษเป็นฉนวน ( Lead Sheath Cable ) จึงจำเป็นต้องต่อกับ PVC Cable เพื่อสะดวกในการเข้าสายที่ MDF รวมทั้งเพื่อแยกสายขนาด
ใหญ่ออกเป็นขนาดเล็กๆ ได้

           
  Main Cable  เป็นเคเบิลขนาดใหญ่มีคู่สายจำนวนมาก  ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของลวดตัวนำที่ใช้มีขนาดต่างๆ  กันเช่น  0.32,  0.4,  0.5,  และ 0.9
มิลลิเมตร Main Cable ที่ใช้ในการสร้างข่ายสายมี 5 แบบ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นคือ


          เคเบิลอากาศ ( Aerial Cable หรือ Overhead Cable ) เป็นการสร้าง
ข่ายสายโดยการแขวนเคเบิลไปตามแนวเสาไฟฟ้า ข้อดีของการใช้เคเบิลแบบนี้
                                                         คือติดตั้งง่าย สะดวกในการรื้อถอนเปลี่ยน
    แปลง ซ่อมบำรุงและบำรุงรักษาสิ้นเปลืองค่า
    ใช้จ่ายในการสร้างข่ายสายน้อยกว่าการใช้
    เคเบิลแบบอื่นๆ เหมาะกับสถานที่ที่ปักเสา
    ได้ง่าย และสะดวก หรือมีเสาไฟฟ้าอยู่ก่อน
    แล้ว แต่มีข้อเสียคือ เกะกะ รุงรัง ทำให้บ้าน
    เมืองดูไม่สวยงาม

            เคเบิลฝังดินโดยตรง ( Direct Buried Cable ) เป็นการสร้างข่ายสาย
โดยการฝังเคเบิลไว้ในดินโดยตรงลึกประมาณ 12 ถึง 30 นิ้ว ขึ้นกับลักษณะของ
งานและสถานที่ จึงเหมาะที่จะใช้เคเบิลแบบนี้กับบริเวณที่มียวดยานสัญจรน้อย
เคเบิลฝังดินโดยตรงเป็นเคเบิลที่มีเปลือกหุ้มแบบพิเศษ ข้อดีของการใช้เคเบิล
แบบนี้คือ  สามารถขจัดความเกะกะรกรุงรังลงให้หมดไปได้แต่ค่าติดตั้งจะมี
ราคาสูงกว่าใช้เคเบิลอากาศ การเปลี่ยนแปลง รื้อถอน ซ่อมบำรุงและบำรุงรักษา
กระทำได้ลำบาก

  
เคเบิลใต้ดินชนิดร้อยท่อ ( Underground in Conduit Cable ) เป็นการ
สร้างข่ายสายโดยใช้เคเบิลร้อยเข้าไปในท่อที่ฝังดิน การใช้เคเบิลชนิดนี้เป็น
งานใหญ่เพราะต้องสร้างบ่อพัก ( Manhole ) และแนวท่อร้อยสายซึ่งจะต้องทำไป
พร้อมกับการสร้างถนน เคเบิลจะถูกร้อยเข้าไปในท่อที่ฝังไว้ใต้ดินอย่างถาวรการ
แยกสาย การตัดต่อ จะกระทำในบ่อพัก วิธีการสร้างข่ายสายแบบนี้คล้ายกับเคเบิล
ฝังดินโดยตรง แต่ทำให้คงทนถาวรมากขึ้นและสะดวกในการเปลี่ยนแปลงเพิ่ม
เติมหรือรื้อถอน การบำรุงรักษายุ่งยากกว่าเดิมแต่มีประสิทธิภาพสูงกว่ามาก
         เคเบิลในราง ( Throughing Cable ) เป็นการสร้างข่ายสายโดย
ใช้เคเบิลวางไปในรางที่มีฝาครอบ การใช้เคเบิลแบบนี้มักจะวางเคเบิลไป
ตามแนวทางเข้า ทำให้ติดตั้งง่ายสะดวกในการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือรื้อ
ถอนรวมทั้งการซ่อมบำรุงและการบำรุงรักษาแต่มีข้อเสียตรงที่อาจชำรุดหรือ
ถูกขโมยได้ง่าย

              เคเบิลใต้น้ำ ( Submarine Cable ) เป็นการสร้างข่ายทางสายโดยใช้เคเบิลวางใต้น้ำ
อาจจะเป็นในแม่น้ำลำคลองหรือจากชายฝั่งทะเล
ฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง หรือไปยังเกาะต่างๆ ซึ่งมี
เทคนิคในการติดตั้งที่ยุ่งยากมาก เคเบิลที่ใช้ก็
ต้องเป็นเคเบิลชนิดที่มีเปลือกหุ้มที่ทนทานเป็นพิเศษ เช่น Wire Armour
ทำให้มีราคาแพง การซ่อมบำรุงและการบำรุงรักษากระทำได้ลำบากต้อง
ใช้เทคนิคและค่าใช้จ่ายสูง

      ในการตัดสินใจเลือกใช้เคเบิลแบบใดนั้นต้องพิจารณาถึงความเหมาะ
สมหลายประการประกอบกัน การสร้างข่ายสายที่ดีมักจะสร้างเป็นแบบผสม
เพราะรวมเอาคุณลักษณะของโครงสร้างที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละท้อง
ถิ่นไว้...... 
                    



                 
Conduit และ Manhole  สำหรับชุมสายขนาดใหญ่มีเคเบิลหลายเส้นออกจากชุมสายโทรศัพท์ จึงจำเป็นต้องมีการวางท่อ ( Conduit ) ใช้สำหรับร้อย
สายเคเบิลเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจากภายนอก ซึ่งจะทำความเสียหายให้กับสายเคเบิลได้ส่วนการติดตั้ง Manhole ก็เพื่อความสะดวกในการร้อยสายเคเบิล
เข้าในท่อ รวมทั้งการตัดต่อ ตรวจแก้และเป็นที่ไว้หัวต่อเคเบิล Contactor, Loading Coil

                
  Cross Connection Box หรือตู้ผ่าน เป็นตู้สำหรับต่อสายเคเบิลต้นทางกับปลายทางเข้าด้วยกันโดยใช้สายเชื่อมโยงเข้าหากัน เพื่อให้เกิดความยืด
หยุ่นในการใช้สายเคเบิลต้นทางให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ภายในตู้ผ่านประกอบด้วยแผงต่อสายนอกจำนวนมาก แต่ละแผงมีขนาดตั้งแต่ 50 คู่ จนถึง 100 คู่ ตู้ผ่าน
ถูกออกแบบสร้างให้มิดชิดเพื่อป้องกันน้ำและความชื้นรวมทั้งฝุ่นละอองต่างๆ ปกติจะตั้งอยู่ตามทางเท้าทั่วไป

               
  Terminal Box หรือตู้พักปลายทางเป็นที่เชื่อมต่อสายเคเบิลปลายทางกับสายกระจายที่ต่อไปยังบ้านผู้เช่ามีหลายแบบด้วยกันทั้งติดตั้งภายในและภาย
นอกอาคารเช่น Stub Terminal, Wall Terminal, Pole Mount Terminal Inside Terminal, Ready Access Terminal เป็นต้น

               
  Subscriber Station เครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ทั่วไปมีหลายแบบเช่นเครื่องโทรศัพท์แบบหมุนหน้าปัด เครื่องโทรศัพท์แบบกดปุ่ม เครื่องโทรศัพท์
สาธารณะ ( Public Telephone ) เครื่องรับแบบตู้สาขา ( PABX ) เป็นต้น
             
                    สายโทรศัพท์ที่ใช้จากตู้พักปลายทางจนถึงเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านผู้เช่า ปกติจะใช้สาย Drop Wire ซึ่งเป็นเส้นลวดเหล็กอาบด้วยทองแดงหรือบรอนซ์ มี
ฉนวนหุ้ม การวางสายจะวางเกาะไปตามเสาไฟฟ้าโดยมีตัวยึดติดกับเสาไว้ ส่วนสายภายในอาคารหรือบ้านผู้เช่าที่ใช้จะเป็นสายที่ลวดตัวนำเป็นทองแดง และมี
ฉนวนหุ้ม ซึ่งฉนวนที่ใช้จะเป็นพวก PVC หรือ Plastic

โครงสร้างของสายเคเบิลแบบต่างๆ ................................................................................................................................   

                   
ลวดตัวนำที่ใช้ในสายเคเบิลนั้น จะใช้ลวดทองแดงที่มีขนาดต่างๆ กัน โดยทั่วไปลวดตัวนำจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.32, 0.4, 0.5, 0.65  และ 
0.9  มม. ปกติสายเคเบิลที่ใช้เชื่อมโยงระหว่าง Local Exchange ด้วยกัน ซึ่งเรียกว่า Junction Cable นั้น มักใช้สายเคเบิลที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลวดตัว
นำใหญ่ คือ 0.65 มิลลิเมตร แต่ถ้าระยะทางไกลมากก็อาจใช้สายที่มีลวดตัวนำขนาด 0.9 มิลลิเมตร หรือใช้ Loading Coil เพื่อช่วยในการลดปริมาณของ Loss ในคู่
สายลง ทำให้สายเคเบิลมี Loss น้อยที่สุด

                   สายเคเบิลจะประกอบด้วยลวดตัวนำจำนวนมาก ลวดตัวนำแต่ละเส้นจะถูกหุ้มด้วยฉนวนที่เป็นกระดาษ ( Sheath ) หรือ Plastic หรือ PVC แล้วจัดรูป
แบบในลักษณะต่างๆ กันคือใช้สาย 2 เส้นตีเกลียวเป็นคู่เรียกว่า Twin Type แบบใช้สาย 4 เส้นตีเกลียวทำเป็น Quad เรียกว่า Star Quad Type และแบบ Twin
Type 2 คู่ ตีเกลียวอีกครั้งหนึ่งเรียกว่า Multiple Twin Type การตีเกลียวคู่สายก็เพื่อลดค่า Capacitance ในคู่สายลง จากนั้นก็จะจัดคู่สายโดยรวมคู่สายที่ตีเกลียว
แล้วเข้ากันเป็นเคเบิล ซึ่งมีหลายแบบคือ
                                                             
-  Unit  คือการจัดคู่สายให้เป็นกลุ่มๆ และมี Binder พันรอบกลุ่ม
                                                             
-  Layer  คือการจัดคู่สายให้เป็นชั้นๆ แต่ละชั้นจะมีคู่สายแสดงการเริ่มต้นและลงท้าย
                                                             
-  Combination  คือการจัดคู่สายรวมกันแบบ Unit แล้วจึงทำเป็น Layer อีกครั้งหนึ่ง แต่ละ Unit มี Binder ที่เป็นรหัส
                                                                                            สีพันไว้ เพื่อเป็นการบอก Unit เริ่มต้นและ Unit สุดท้าย

                 เมื่อจัดคู่สายให้เป็นเคเบิลแล้วก็ต้องมีเปลือกหุ้มภายนอกอีก เพื่อป้องกันความชื้นและแรงสั่นสะเทือน รวมทั้งป้องกันการ Induce จากไฟแรงสูงอื่นๆ
สายเคเบิลแต่ละชนิดก็มีโครงสร้างที่แตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งานในพื้นที่แต่ละท้องถิ่น
สายเคเบิลโทรศัพท์ที่ใช้กันโดยทั่วไปมีดังนี้......


             Lead Sheath Cable เป็นสายเคเบิลที่ใช้กระดาษเป็นฉนวน
   หุ้มลวดตัวนำ และเปลือกหุ้มภายนอกเป็นตะกั่ว สายเคเบิลชนิดนี้มีน้ำหนัก
   มาก จึงสร้างให้เป็นสายเคเบิลขนาดใหญ่หรือมีจำนวนคู่สายมากๆ ได้ลำบาก
   ไม่เหมาะที่จะใช้เป็น Aerial Cable ส่วนมากจะใช้ฝังดิน

             
  Tape Armour Cable เป็นสายเคเบิลที่มีลักษณะเช่นเดียวกับ
   Lead Sheath Cable เปลือกหุ้มสายเคเบิลชั้นนอก นอกจากจะเป็นตะกั่วแล้ว
   ยังมีเทปเหล็ก ( Steel Tape ) พันรอบตะกั่วอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้แข็งแรงขึ้น
   นอกจากนี้ยังมีปอ ( Jute ) ชุบน้ำยากันน้ำพันรอบเทปเหล็กเพื่อป้องกันการ
   กัดกร่อนที่เทปเหล็ก สายเคเบิลชนิดนี้ใช้เป็นเคเบิลแบบฝังดินโดยตรง
   ( Direct Buried Cable ) และเนื่องจากมีน้ำหนักมาก จำนวนคู่สายจึงมีไม่มาก

             
  Alpeth Cable เป็นสายเคเบิลที่ใช้พลาสติก ( Plastic ) เป็น
   ฉนวนหุ้มลวดตัวนำ มี Aluminium Tape พันรอบคู่สายเพื่อกันความชื้น และ
   เปลือกหุ้มชั้นนอกสุดจะเป็น Polyethylene สีดำเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือน
   และการ Induce จากสาย Power Line สายเคเบิลแบบนี้มีน้ำหนักเบา และ
   สามารถสร้างให้มีจำนวนคู่สายได้ถึง 3000 คู่ จึงเหมาะที่จะใช้เป็น Aerial
   Cable
 

 
              Stalpeth Sheath Cable เป็นสายเคเบิลที่ใช้กระดาษเป็น
   ฉนวนหุ้มลวดตัวนำ มี Aluminium Tape พันรอบคู่สายเพื่อป้องกันความชื้น
   และยังมี Steel Tape พันรอบ Aluminium Tape เพื่อป้องกันการสั่นสะเทือน
   ส่วนชั้นนอกสุดเปลือกหุ้มจะเป็น Polyethylene สีดำ สายเคเบิลแบบนี้เหมาะ
   สำหรับใช้เป็น Underground in Conduit Cable หรือ Direct Buried Cable

               
  Submarin Cable หรือ Wire Armour Cable เป็นสาย
   เคเบิลที่มีลักษณะโครงสร้างเช่นเดียวกับ Tape Armour Cable แต่เปลือก
   นอกสุดจะใช้ Steel Rod พันแทน Steel Tape เพื่อให้มีความคงทนและแข็ง
   แรงกว่า สายเคเบิลแบบนี้จะใช้วางใต้น้ำ เช่น ในทะเล เป็นต้น

               
  PVC Cable เป็นสายเคเบิลที่ใช้พลาสติกเป็นฉนวนหุ้มลวด
   ตัวนำ ส่วนเปลือกนอกที่หุ้มจะเป็น PVC ( Polyvinyl Chloride ) ซึ่งจะทำให้บิด
   งอได้ดีแต่ไม่คงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศภายนอก จึงเหมาะที่จะใช้เป็นสาย
   เคเบิลที่วางภายในอาคาร หรือภายในห้องชุมสายโทรศัพท์

การนับคู่สายเคเบิล.............................................................................................................................................................

                  สายเคเบิลที่มีฉนวนหุ้มคู่สายเป็น Plastic หรือ Polyethylene ที่เป็นรหัสสี คู่สายภายในจะถูกจัดเป็น Unit โดยแต่ละ Unit จะมี Binder พันไว้ สายเคเบิล
1 Unit จะมีคู่สายทั้งหมด 25 คู่ การนับคู่สายแบบนี้นับได้ โดยการอ่านรหัสสีจากคู่สายในแต่ละคู่สาย ซึ่งมีแม่สี 5 สีคือ ขาว ( White ) แดง ( Red ) ดำ ( Black ) เหลือง
( Yellow ) ม่วง ( Violet ) และลูกสี 5 สี คือ น้ำเงิน ( Blue ) ส้ม ( Orange ) เขียว ( Green ) น้ำตาล ( Brown ) และเทา ( Slate ) จากแม่สีและลูกสีดังกล่าวจะเกิดเป็นสี
ผสมที่แตกต่างกันทั้งหมด 25 สี

         คู่สายที่

สีของคู่สาย

คู่สายที่

สีของคู่สาย

A-Tip

B-Ring

A-Tip

B-Ring


1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
11.
12.
13.


ขาว
ขาว
ขาว
ขาว
ขาว
แดง
แดง
แดง
แดง
แดง
ดำ
ดำ
ดำ


น้ำเงิน
ส้ม
เขียว
น้ำตาล
เทา
น้ำเงิน
ส้ม
เขียว
น้ำตาล
เทา
น้ำเงิน
ส้ม
เขียว


14.
15.
16.
17.
18.
19.
20.
21.
22.
23.
24.
25.



ดำ
ดำ
เหลือง
เหลือง
เหลือง
เหลือง
เหลือง
ม่วง
ม่วง 
ม่วง
ม่วง
ม่วง



น้ำตาล
เทา
น้ำเงิน
ส้ม
เขียว
น้ำตาล
เทา
น้ำเงิน
ส้ม
เขียว
น้ำตาล
เทา






    การรบกวน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ...

    1. การรบกวนแม่เหล็กไฟฟ้า ( Electromagnetic Interference )
- หรือ EMI เกิดขึ้นได้เมื่อมอเตอร์ หรือแหล่งกำเนิดสัญญาณอื่นๆ ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา
                                                                                                                      ทางไฟฟ้า เข้าไปรบกวนสัญญาณข้อมูลที่ส่งถ่ายบนเคเบิล
    
     2.
การรบกวนความถี่วิทยุ ( Radio Frequency Interference ) - หรือ RFI เกิดขึ้นเมื่อสัญญาณที่ส่งกระจายหรือบรอดคาสท์ ( Broadcast ) จากสถานีวิทยุ
                                                                                                                 หรือสถานีโทรทัศน์ใกล้ๆ ทำให้เกิดการรบกวน

     3.
Crosstalk ( NEXT ) เกิดขึ้นเมื่อสัญญาณที่ส่งไปสายเส้นหนึ่ง มีความแรงกว่าสัญญาณที่ส่งไปบนสายอีกเส้นหนึ่ง ซึ่งได้รับสัญญาณที่อ่อนกว่า ด้วยเหตุนี้ จึง
                                            มิใช่การเพียงการผลิตเคเบิลให้มีหลายชนิด เพื่อใช้กับเฉพาะเครือข่ายประเภทต่างๆ เท่านั้น หากแต่ยังต้องพิจารณาถึงความสามารถ
                                            ในการลดปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อการสื่อสารข้อมูลอีกด้วย นอกจากมีการแบ่งเคเบิลเครือข่ายออกได้หลายชนิดแล้ว ยังมีการ
                                            แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ อีกด้วย คือ สายทองแดง ( Copper cable ) สายใยแก้วนำแสง ( Fiber optic cable ) และไร้สาย ( Wire-
                                            less ) 

     
  สายทองแดง ( Copper Cable ) 
                          เรารู้จักใช้สายทองแดงในการเป็นสื่อนำไฟฟ้ามาแล้วกว่า 100 ปี เนื่องจากทองแดงมีคุณสมบัติเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าที่ดีเยี่ยมและยังเหมาะสมที่จะ
      นำไปใช้ในการส่งข้อมูลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วย ปัจจุบัน เคเบิลทองแดงที่ใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 ชนิดคือ

               1.
โคแอคเชียล ( Coaxial )  สายโคแอคเชียล คือ โคแอค ( Coax ) เป็นสายทองแดงที่ใช้กันมากในเครือข่ายคอมพิวเตอร์มานานหลายปีโดยที่ สาย
                                                             โคแอคเชียล มีลักษณะเป็นสายทองแดงเดี่ยวอยู่ตรงกลาง และล้อมรอบด้วยวัสดุที่ทำหน้าที่เป็นฉนวนและชีลด์สายชนิดนี้
                                                             ยังอาจแบ่งย่อยลงไปได้อีกเป็น 2 ชนิด คือ
                                
                                                             1.1 
โคแอคเชียลหนา ( Thick coaxial ) มีสายทองแดงเดี่ยวอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยชั้นของฉนวนนั้นๆ หุ้มด้วย
                                                                                                                                  เส้นลวดถักเป็นชิลด์ ก่อนที่จะห่อหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกครั้งหนึ่ง
                                                                                                                                  
                                                             1.2 
โคแอคเชียลบาง ( Tbin coaxial ) มีความคล้ายคลึงกับสายที่ใช้นำสัญญาณเคเบิลทีวีมีลักษณะเป็นสายทองแดง
                                                                                                                             เดี่ยว หรือแกนลวดถักอยู่ตรงกลางเช่นเดียวกัน แต่มีการลดทอนสัญญาณน้อย
                                                                                                                             กว่า

               2.
สายคู่ตีเกลียว ( Twisted Pair ) ปัจจุบันสายคู่ตีเกลียว มีบทบาทอย่างมากและกำลังเข้ามาแทนที่สายโคแอคเชียลในงานต่างๆ รวมถึงแนวโน้มของ
                                                                         การเป็นสายทองแดงมาตรฐานที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์อีกด้วย ลักษณะของสายชนิดนี้คือ เป็นสายทองแดง
                                                                         เคลือบฉนวน 2 เส้นพันตีเกลียวไขว้รอบกันอีกครั้งหนึ่ง โดยอยู่ภายในเปลือกหุ้ม ( Jacket ) เดียวกัน
                                                                                        
จุดเด่น
....ของการตีเกลียวสายคือ สามารถลดการรบกวน EMI, RFI และ NEXT ได้ นอกจากนี้ยิ่งมีการ
                                                                         ตีเกลียวสายภายในสายตีเกลียวต่างๆ มากเท่าใด จะยิ่งเป็นการเพิ่มความต้านทานต่อการรบกวนได้มากยิ่งขึ้น โดย
                                                                         ทั่วๆ ไปสายคู่ตีเกลียวที่ใช้งานกันส่วนใหญ่มีการตีเกลียว 6 รอบต่อนิ้ว

                         สำหรับจำนวนของคู่สายตีเกลียวที่นำมารวมกันภายในเปลือกหุ้มเดียวกันนั้น มีตั้งแต่ 1 - 2,000 คู่สาย ( หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการใช้
งาน ) อย่างไรก็ดี ในกรณีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่ใช้เคเบิลเป็นสายคู่ตีเกลียว จะใช้เพียง 4 คู่เท่านั้น โดยคู่หนึ่งใช้สำหรับส่งสัญญาณ ในขณะที่ใช้อีกคู่
หนึ่งในการรับสัญญาณ ส่วนอีก 2 คู่ที่เหลือ เก็บไว้ใช้งานในอนาคต

สายคู่ตีเกลียว อาจแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

            2.1 
สายคู่ตีเกลียวมีชีลด์ ( Shielded Twisted Pair )
หรือ STP มีการชีลด์ด้วยฟอยล์อยู่รอบเปลือกหุ้ม ซึ่งช่วยลดการรบกวนต่างๆ ลงได้อย่างมาก

                2.2 
สายคู่ตีเกลียวไม่มีชีลด์ ( Unshielded Twisted Pair ) หรือ UTP เป็นสายที่ไม่มีการชีลด์ใดๆ จึงอาจเกิดการรบกวนได้ง่าย

            

ประเภทของเคเบิล ( Cable Categories )

                เคเบิลชนิด UTP เป็นสายที่มีการพัฒนาขึ้นตามมาตรฐานซึ่งพัฒนาขึ้นโดย สมาคมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Industries Association ) หรือ
EIA และสมาคมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ( Telecommunication Industries association ) TIA 

                มาตรฐานเหล่านี้ ( ซึ่งมีชื่อเรียกว่า EIA/TIA 568 ) แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ( Category ) ใหญ่ๆ คือ

                                         
ประเภท 1  ( Cat.-1 )  - ใช้เฉพาะกับการสื่อสารโทรศัพท์เท่านั้น มิได้ใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
                                          ประเภท 2 
( Cat.-2 )  - มี 4 คู่สาย และสามารถใช้กับการส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ที่ความเร็วสูงถึง 4 Mbps
                                         
ประเภท 3  ( Cat.-3 )  - สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงขึ้นถึง 10 Mbps ด้วยคู่สาย 4 คู่
                                         
ประเภท 4  ( Cat.-4 )  - มี 4 คู่สาย และสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 16 Mbps
                                         
ประเภท 5  ( Cat.-5 )  - เป็นสายที่มีอัตราสูงที่สุดของ UTP สามารถส่งข้อมูลบนเครือข่ายได้เร็วถึง 100 Mbps บนคู่สาย 4 คู่


  สายใยแก้วนำแสง ( Fiber optic cable )
               สายโคแอคเชียลและสายคู่ตีเกลียวที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น มีสายทองแดงเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลาง เพื่อทำหน้าในการนำกระแสไฟฟ้า ส่วนในกรณีสายใน
แก้วนำแสงนั้นมีความแตกต่างกันมากทีเดียว สายใยแก้วนำแสงใช้แท่งแก้วที่มีลักษณะทรงกระบอกอยู่ตรงกลางแทนที่ทองแดง และแทนที่จะทำการส่งสัญญาณ
ไฟฟ้าแต่สายใยแก้วนำแสงใช้วิธีการส่งอิมพัลซ์แสง ( Light impulse ) ไปแทน 

               สายใยแก้วนำแสงประกอบด้วยเส้นแก้วที่มีความบางมาก เรียกว่า Core มีความหนาประมาณเส้นผมมนุษย์อยู่ตรงกลางของสาย และล้อมรอบด้วยแท่งแก้ว
ในส่วนที่เรียกว่า Cladding ทั้งนี้ทั้ง core และ cladding จะถูกห่อหุ้มด้วยเปลือกนอกเพื่อการป้องกัน เมื่ออธิบายเกี่ยวกับคุณสมบัติของสายใยแก้วนำแสงแล้วปกติ
มักแสดงด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ core ส่วนด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ cladding โดยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมีหน่วยวัดเป็น " ไมครอน " ( Microns ) ซึ่ง
มีค่าเท่ากับ ประมาณ 1/25,000 นิ้ว

    
สายใยแก้วนำแสง อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ 

              1. ซิงเกิล โหมด ( single mode ) เป็นสายที่มีขนาดของ core เล็กนิยมใช้กับการส่งข้อมูลเป็นระยะทางไกลๆ ปกติใช้แหล่งกำเนิดแสง ( Light source )
                                                                       ที่สร้างด้วยเลเซอร์เพื่อส่งแสงเข้าไปภายในสาย ซึ่งมีลักษณะการส่องไฟฉายเข้าไปภายในท่อกลวง และจากการที่ใช้
                                                                       แหล่งกำเนิดแสงเพียงชุดเดียว ทำให้แต่ละครั้งสามารถส่งสัญญาณได้เพียงชุดเดียวด้วยสายใยแก้วนำแสงชนิดนี้

              2.
มัลติโหมด ( Multimode ) สามารถส่งสัญญาณแสงได้พร้อมๆ กันหลายชุด โดยทั่วๆ ไปแสงที่ใช้งานนั้นกำเนิดด้วยไดโอดเปล่งแสง ( Light Emitting
                                                               Diode ) หรือ LED แทนที่จะใช้เลเซอร์ ในแต่ละครั้งที่มีการส่องแสงเข้าไปนั้นจะมีมุมที่แตกต่างกันและมีการสะท้อนออก
                                                               จากผิวของ core 

             ในกรณีของสายใยแก้วนำแสงชนิดมัลติโหมดนั้นระยะทางที่แสงสามารถเดินทางไปได้น้อยกว่าชนิดซิงเกิลโหมด เนื่องจากการลดทอนสัญญาณที่เกิดจาก
การสะท้อนออกจากผิวของ core อย่างไรก็ดีกรณีมัลติโหมดมีประโยชน์ตรงที่สามารถส่งสัญญาณได้หลายๆ ชุดในคราวเดียวกัน ซึ่งปัจจัยนี้ทำให้มีการใช้สายชนิด
มัลติโหมดกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์มากขึ้น
            
ข้อดี...ของการใช้สายใยแก้วนำแสงแทนสายทองแดง มีหลากหลายประการ เช่น การรบกวน EMI,RFI และ NEXT ไม่มีผลกระทบ และยังมีการลดทอน
สัญญาณน้อยมากเมื่อใช้สายแบบ ซิงเกิลโหมด แต่มี 
ข้อเสีย...คือ สายใยแก้วนำแสงอาจเสียหายได้ง่าย

  ไร้สาย ( wireless ) 
                 ในการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นบางครั้งมีความยุ่งยากที่จะวางสายชนิดและขนาดต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ทำให้ต้องใช้
การต่อเชื่อมเครือข่ายในลักษณะที่เป็น " การสื่อสัญญาณไร้สาย " ( wireless transmission ) แนวคิดของการสื่อสัญญาณไร้สายคือการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์เครือข่าย
โดยไม่ต้องมีการวางสาย ด้วยเหตุนี้คอมพิวเตอร์เครือข่ายแต่ละเครื่องจำเป็นต้องมีอุปกรณ์อย่างหนึ่งต่อเพิ่มเข้ามาพร้อมกับสายอากาศเพื่อใช้ในการส่งและรับ
สัญญาณ โดยทั่วๆ ไปสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีการใช้การสื่อสัญญาณไร้สาย 2 รูปแบบคือ

               1. วิทยุ ( radio ) สัญญาณของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบวิทยุเข้ามาช่วยนั้นสามารถส่งไปยังปลายทางในลักษณะ
คลื่นวิทยุได้เช่นเดียวกับการส่งสัญญาณของสถานีวิทยุทั่วๆไป อย่างไรก็ตาม สัญญาณวิทยุของเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะไม่เหมือนกับ
สัญญาณุวิทยุที่ส่งจากสถานีเนื่องจากมีระดับกำลังที่ต่ำกว่ามาก และสัญญาณส่งไปไม่ได้ไกล ระบบวิทยุของเครือข่ายทำงานโดยอาศัยหลัก
การของการส่งคลื่นระดับสายตา ( line-of-sight ) ซึ่งหมายความว่าอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่ง สัญญาณต้องมีเส้นทางเดินที่ชัดเจนไม่มีอุปสรรค
กีดขวางไปยังจุดหมายปลายทางซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณไม่สามารถหลบหลีกวัตถุหรือ สิ่งกีดขวางได้ จุด
เด่นของการนำระบบวิทยุเข้ามาใช้งาน ในการเชื่อมต่อเครือข่ายคือ ไม่จำเป็นต้องมีการวางสายแต่ขณะเดียวกันก็มีข้อเสียหลายประการ
 ตัวอย่างเช่น การส่งสัญญาณอยู่ในระดับสายตาจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใกล้กันมากที่สุดโดยไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ 


           นอกจากนั้น แล้วความเร็วที่ใช้ในการส่งสัญญาณยังต่ำกว่าการส่งผ่านสายทองแดงหรือสายใยแก้วนำแสงอีกด้วย และยังอาจมีปัญหาเรื่องความถี่ของเครือ
ข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สาย ที่ในบางประเทศอาจยังไม่มีการควบคุมที่ชัดเจนจาหน่วยงานควบคุม ทำให้อาจมีการใช้ความถี่เดียวกันนี้เพื่อจุดประสงค์อื่นๆ ด้วย ( เช่น
การสื่อสารวิทยุสมัครเล่น และการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูล่าร์ ) ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการรบกวนกันได้

              2.
อินฟราเร็ด ( infrared ) เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารถึงกันได้โดยใช้สัญญาณอินฟราเร็ดทั้งนี้สัญญาณอินฟราเร็ดเป็นคลื่นแสงที่เกินกว่า
มนุษย์จะมองเห็นได้ ตัวอย่างการใช้งานที่เราพบเห็นกันได้บ่อยๆ ในบ้านเรือนคือ อุปกรณ์ควบคุมระยะไกล ( remote control ) หรือที่เรียกกันติดปากว่า " รีโมท "
สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่งรับโทรทัศน์หรือเครื่องเสียงต่างๆ ทว่าอินฟราเร็ดเองก็มีข้อด้อยเช่นเดียวกับการนำระบบวิทยุเข้ามาใช้กับการเชื่อมต่อเครือข่าย
ไร้สาย กล่าวคือ อินฟราเร็ดไม่สามารถส่งผ่านวัสดุต่างๆ ได้เช่น ฝาผนัง และความเร็วของสัญญาณยังต่ำมากเมื่อเทียบกับการเชื่อมต่อด้วยสายทองแดงหรือสายใย
แก้วนำแสง นอกจากนี้หากเป็นการใช้งานในบริเวณที่มีแหล่งกำเนิดแสงสว่างมากๆ แล้วจะมีผลต่อการรับส่งอินฟราเร็ดอีกด้วย

              เคยมีการคาดการณ์กันในอดีตว่าการสื่อสัญญาณของเครือข่ายในลักษณะไร้สาย อาจเข้ามามีบทบาทใช้แทนการวางสาย โดยในปี 1992 มีการนำเทคโนโลยี
ไร้สายเข้ามาใช้งานเป็นครั้งแรก และประมาณกันว่า 17% ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งหมดจะใช้ระบบไร้สายภายใน 5 ปีข้างหน้า แต่ไม่มีโอกาสเป็นจริงได้เลยเนื่อง
จากมีข้อจำกัดมากมาย.............



  

   เราขอเสนอ.....ระบบเครือข่าย COMPUTER แบบสังเขปพอกระสัยยาดังนี้.....

                           ระบบเครืออข่ายเฉพาะบริเวณ (แลน : LAN) เป็นระบบที่มีการใช้ในธุรกิจมากเป็นเวลานานแล้วแต่ในบ้านเราหลายคนยังอาจจะมีความเข้าใจ
ในเรื่องนี้ไม่มาก ระบบแลน Local Area Network เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากขึ้นในงานธุรกิจทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นร้านค้าทั่วไป หรือธุรกิจระดับใหญ่เพือช่วย
เสริมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพและมีความสามารถเพิ่มขึ้น

                           ระบบแลนหมายถึงระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ ที่มีการเชื่อมต่อของระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกันจะ
ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายนั้นมีความสามารถมากขึ้น หรือสามารถทำงานให้ได้ประโยชน์มากขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตามในระบบแลนก็มีข้อจำกัดอยู่ในเรื่องของระยะทางเหมือนกันเพราะชื่อของระบบ "แลน" ก็บอกอยู่แล้ว ว่าเป็นเครือข่ายแบบท้องถิ่น หรือพื้นที่ใกล้เคียงกัน ทำให้ระบบแลย ไม่สามารถต่อเชื่อมได้ไกล ถ้าจะต่อไปไกล
จะต้องใช้อีกระบบหนึ่งซึ่งก็คือระบบแวน ( WAN ) หรือชื่อเต็มว่า Wide Area Network 

         ระบบแลนสามารถเริ่มได้ตั้งแต่การมีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่าย
(เน็ทเวิร์ค) เพื่อที่จะทำให้สามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่างได้สะดวกสบายขึ้น
และการต่อเชื่อมกันยังสามารถนำมาเล่น
เกม
ร่วมกัน (เกม เน็ทเวิร์ค) แบ่งปันอุปกรณ์ระหว่างกัน เช่น เครื่องพิมพ์, ทำงานร่วมกันในโปรแกรมเดียวกัน
เป็นต้น ซึ่งเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อและสามารถคุยกันได้แล้วเราก็สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อีกมาก

อุปกรณ์ที่ใช้มีอยู่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น คือ....

        
1. แลนการ์ด  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลในสายสัญญาณที่ต่อเชื่อมในระบบเครือข่าย ลงสู่เครื่องลูกข่าย ซึ่งมีหลายความเร็วเช่น 1 Mb, 10 Mb,100 Mb,
1000 Mb เป็นต้น แต่ที่นิยมมากในปัจจุบันคือ แบบ 10/100 Mb/sec หัวต่อชนิด RJ 45 ซึ่งราคาอยู่ในระดับ 800 บาท หรือจะเป็นชนิด 10 Mb ชนิดหัวต่อแบบ
RJ 11 (หัวสายโทรศัพท์) ราคาไม่เกิน 1,500 บาท หรือจะเป็นชนิดไร้สายก็เริ่มได้รับความนิยม ราคาประมาณ 9,000 บาท ได้ความเร็วที่ 11 Mb/sec

        
2. สายสัญญาณ  มีหลายแบบขึ้นอยู่ว่าเราจะใช้แลนการ์ดแบบไหนเช่นถ้าใช้แบบ 100 Mb/sec. หัว RJ 45 สายจะต้องเป็นแบบ CAT 5 ขึ้นไป ราคาเมตร
ละไม่เกิน 20 บาท การเชื่อมสายยาวได้ไม่เกิน 100 เมตร หรือถ้าเป็นระบบต่อเชื่อมภายในบ้าน ปัจจุบันจะสามารถใช้สายโทรศัพท์ที่มีอยู่ต่อเชื่อมโดยได้ความเร็ว
สูงสุดอยู่ที่ 10 Mb/secด้วยหัวสายโทรศัพท์แบบ RJ 11การต่อเชื่อมความยาวไม่เกิน300เมตรโดยที่โทรศัพท์ยังสามารถใช้งานในส่วนกรณีที่เป็นแบบไร้สาย
ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สายเลยส่วนใหญ่อยู่ระยะไม่เกิน 150 เมตร 

        
3. ฮับ หรือสวิตช์  ฮับ เป็นอุปกรณ์ขยายและกระจายสัญญาณ ใช้ในการต่อสายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆเหมาะสำหรับผู้ที่มีเครื่องมากกว่า 2 เครื่อง
ขึ้นไป ในปัจจุบัน ฮับ 100 Mb จำนวน 8 ช่อง ( สามารถต่อเครื่องได้ 8 เครื่อง ) ราคาอยู่ในระดับไม่เกิน 3,500 บาท ส่วนในกรณีที่เป็นแบบไร้สาย จะใช้อุปกรณ์ที่
เรียกว่า แอ็คเซ็ส พอยท์ แทน ดังนั้นถ้าเรามีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่องที่ต้องการต่อเชื่อมกันมีเพียงอุปกรณ์ 2 อย่างคือ แลนการ์ด จำนวน 2 การ์ดกับสาย
แลนที่ได้หนีบหัว RJ 45 หัวท้ายแบบไขว้สาย (Cross) บนเครื่องที่ใช้งานโปรแกรม เช่น วินโดว์ส 98 สเปเชียล เอดิชั่น, วินโดว์ส มี วินโดว์ส 2000 เป็นต้น ใช้ต้น
ทุนเพียง 2,000 บาท สำหรับแลนการ์ดจำนวน 2 ตัว กับสายแลนที่ได้หนีบหัว RJ 45 หัวท้ายแบบ Cross 1 เส้น เราก็สามารถทำระบบเครือข่ายได้แล้ว
                                        หรือจะเป็นใช้เป็นแลนไร้สาย ถ้าต่อเชื่อมแบบ PEER TO PEER คือไม่ต้องมี แอ็คเซ็ส พอยท์ ก็สามารถเชื่อมได้ 2 - 4 เครื่อง ส่วน
   สำหรับคนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้วมากกว่านั้นขึ้นไป เช่นมีประมาณ 8 เครื่อง ก็ใช้งบประมาณ 10,000 บาท สำหรับแลนการ์ด
   จำนวน 8 ตัว กับสายแลนที่ได้หนีบหัว RJ 45 จำนวน 8 เส้น กับฮับ 8 ช่อง ก็สามารถมีอุปกรณ์ที่พร้อมจะทำระบบเครือข่ายได้แล้ว
   การทำระบบเครือข่ายไม่จำเป็นว่าจะต้องมีเครื่องแม่ข่าย (เซิร์ฟเวอร์) เสมอไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานมากกว่าเช่น ร้านอินเทอร์
   เน็ต คาเฟ่อาจจะมีเครื่องแม่ข่าย เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ต หรืออาจใช้เพียงอุปกรณ์ที่ชื่อว่า IP SHARE R ก็สามารถให้บริการ
อินเทอร์เน็ตได้เหมือนกันแต่จะมีความสามารถในการกำหนด ข้อจำกัดการใช้งาน ความปลอดภัยและการป้องกัน รวมถึงความเร็วในการใช้งานไม่เท่ากัน

ส่วนร้านเกม เน็ทเวิร์ค ที่ตอนนี้ร้านอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ส่วนใหญ่ก็เริ่มให้บริการเกม เน็ทเวิร์คมากขึ้น เนื่องจาก
ไม่
สามารถเล่นที่บ้านคนเดียวได้ ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องแม่ข่าย แต่ต้องใช้อุปกรณ์เครือข่ายอย่างแลนการ์ด
และฮับที่ได้กล่าวไปในข้างต้น เท่านั้นก็พอ ในกรณีที่มีเครื่องแม่ข่ายซึ่งจะทำหน้าที่คอยให้บริการข้อมูลกับเครื่อง
ลูกข่ายในระบบ (เครื่องลูกข่าย หรือเรียกว่า เวิร์คสเตชั่น) ปกติ เครื่องแม่ข่ายที่เขาใช้งานส่วนมากจะใช้ให้ทำหน้า
ที่มากที่สุดอยู่ 2 ชนิดคือ บริการข้อมูล,บริการงานพิมพ์ ซึ่งบริการทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถนำมาช่วยให้เครื่องคอมพิว
เตอร์ลูกข่ายมีประโยชน์ขึ้นมามาก

                            เครื่องแม่ข่ายในปัจจุบันนี้ ได้รับการพัฒนาความเร็วไปมาก ทำให้โปรแกรมการจัดการบนแม่ข่าย สามารถทำงานได้มากกว่าการบริการข้อมูล
และบริการงานพิมพ์เท่านั้น แต่ยังสามารถบริการแบ่งปันทรัพยากรที่อยู่ในเครือข่ายให้ใช้กันได้ประโยชน์มากที่สุดอีกด้วยโดยใช้โปรแกรมควบคุมระบบแม่ข่าย
เช่น วินโดว์ส เอ็นที เซิร์ฟเวอร์, วินโดว์ส 2000 เซิร์ฟเวอร์ หรือ ลีนุกซ์ ประกอบกับ แอพพลิเคชั่น เซิร์ฟเวอร์ซอฟต์แวร์ สำหรับงานบริการอินเทอร์เน็ต 
หรือ อี-เมล์ หรือ ฐานข้อมูล (ดาต้าเบส) เป็นต้น


                          ปัจจุบันระบบสารสนเทศในแต่ละองค์กร จะเป็นลักษณะของโครงข่ายโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซี (Personal Computer) ที่อยู่บน
โต๊ะทำงานของพนักงานแต่ละคนจะต่อเชื่อมกันเป็นโครงข่ายท้องถิ่นเฉพาะที่ (Local Area Network-LAN) เครื่องพีซีแต่ละเครื่องจะต่อเชื่อมเข้ากับเครื่องแม่ข่าย
(Server) โดยข้อมูลส่วนมากจะจัดเก็บไว้ในส่วนกลางซึ่งขณะทำงานข้อมูลจะถูกส่งไปมาอยู่บนโครงข่ายนั้น ๆ ดังนั้นหากเป็นข้อมูลที่สำคัญ ๆ และเป็นความลับ ถ้า
เอาอุปกรณ์มาตรวจจับข้อมูล หรือแม้กระทั่งลงโปรแกรมพิเศษที่ใช้ตรวจจับข้อมูลบนเครื่องพีซีข้อมูลสำคัญนั้นอาจจะถูกบุคคลอื่นแอบบันทึกไปได้ ดังนั้นหาก
ต้องการป้องกันข้อมูลที่สำคัญรั่วไหล ควรต้องทำการเข้ารหัสข้อมูลนั้น ๆ เสียก่อนที่จะส่งออกไปในโครงข่าย และเครื่องที่ปลายทางต้องทำการถอดรหัสออกจึงจะอ่าน
ข้อมูลนั้น ๆ ได้

                         เนื่องจากการเชื่อมต่อเป็นโครงข่าย การที่จะเข้าไปดูข้อมูลในตัวแม่ข่าย จึงสามารถกระทำได้จากเครื่องพีซีเครื่องหนึ่งเครื่องใดที่ต่ออยู่ในโครง
ข่ายเดียวกัน และในบางโครงข่ายยังมีระบบ Remote Access Server ซึ่งหมายถึงโครงข่ายนั้นได้จัดตั้งระบบที่มีจำนวนเครื่องพีซีที่มี Modem จากบ้าน สำนักงาน
ที่อยู่ต่างจังหวัดหรือในกรุงเทพฯ ที่อยู่ห่างออกไปต่อเข้ากับโครงข่ายผ่านระบบโทรศัพท์ ระบบ Remote Access Server ดังกล่าวนี้จึงจำเป็นจะต้องมีการใส่รหัส
ประจำตัว (User ID.) และรหัสผ่าน (Password) ก่อนจะต่อเข้าระบบ หรือถ้าจะให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น ก็ต้องติดตั้งระบบพิเศษที่อ่านบัตรผ่านอุปกรณ์เฉพาะและต้องใส่
หมายเลขรหัสลับด้วย ถึงจะผ่านเข้ามาใช้งานได้ผู้ใช้ระบบเอง เมื่อได้สิทธิในการใช้ระบบโดยได้รับรหัสประจำตัว และรหัสผ่าน จำเป็นจะต้องรักษาเป็นความลับ
ห้ามบอกหรือใช้กับผู้อื่น เพราะข้อมูลนั้นอาจตกไปยังผู้ไม่หวังดี ซึ่งข้อมูลนั้นสามารถนำมาใช้ในอันที่จะเกิดความเสียหายได้ เช่น ลักลอบนำข้อมูลที่เป็นความ
ลับไปแสวงหาผลประโยชน์ หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลองค์กรหลาย ๆ แห่ง ได้ต่อเชื่อมโครงข่ายขององค์กรเข้ากับอินเทอร์เน็ต ทำให้การรักษาความปลอดภัยของ
โครงข่ายยิ่งมีความจำเป็นยิ่งขึ้นไปอีก

                         การจะต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตนั้นจะต้องต่อผ่านระบบ   ไฟร์วอลล์ ( Firewall)   ซึ่งเปรียบ
เสมือนระบบรักษาความปลอดภัยที่คอยระวัง   และห้ามไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามายังระบบโครงข่ายขององค์
กรโดยไม่ได้รับอนุญาตไฟร์วอลล์มีหลายประเภท   แต่สามารถแบ่งได้คร่าว  ๆ   เป็น  3   ประเภทด้วยกันคือ 
ประเภทแบบ  Packet  Filtering,  Application  Gateway  และแบบสุดท้ายคือ  State Inspection  ทีนี้เรามาดู
รายละเอียดของแต่ละประเภทกันนะครับ
แบบแรกคือ Packet Filtering จะเป็นประเภทที่ความปลอดภัยน้อยที่
สุด เพราะไฟร์วอลล์จะตรวจดูว่าข้อมูลถูกส่งมาจากเครื่องใดและจะไปที่เครื่องใดหรือเครื่องแม่ข่ายใดเท่านั้น
โดยเราจะใส่คำสั่งไว้ภายในไฟร์วอลล์ว่า จะอนุญาตให้เครื่องใดบ้างที่สามารถจะผ่านเข้ามาในโครงข่ายได้และ
ไปทำงานที่เครื่องใดได้  แบบที่สอง เรียกว่า Application Gateway แบบนี้จะมีความสามารถสูงขึ้น คือ สามารถ
จะกำหนดว่าจะให้ทำงานประเภทใดได้บ้าง เช่น ดูข้อมูลแบบ Web Site ได้ สามารถจะโอนถ่ายข้อมูลได้สามารถ
ส่งจดหมายได้เท่านั้น เป็นต้น ส่วนแบบสุดท้าย คือ State Inspection จะทำงานได้ทั้งสองแบบข้างต้นรวมทั้งจะ
ตรวจจับดูเนื้อหาข้อมูลด้วยว่าเป็นอันตรายต่อระบบหรือไม่ด้วย

                          ข้อควรจะคำนึงถึงของผู้ดูแลระบบ คือ การให้ไฟร์วอลล์ทำงานตรวจอย่างละเอียด จะมีผลทำให้การทำงานของระบบช้าลงนอกจากจะคอยตรวจจับ
ข้อมูลที่วิ่งเข้ามาจากภายนอกแล้วไฟร์วอลล์ยังสามารถทำหน้าที่กำหนดสิทธิว่าบุคคลใดอยู่ภายในองค์กรสามารถจะออกไปดูข้อมูล Web Site ต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต
ได้ อีกทั้งยังสามารถกำหนดได้ว่า พนักงานจะไม่สามารถออกไปดู Web Site ที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ได้ด้วย
การรักษาความปลอดภัยของโครงข่าย เป็นสิ่งจำเป็นมาก
เนื่องจากระบบสารสนเทศเป็นแบบระบบเปิด โดยมีระบบงานเป็นแบบ UNIX, Windows NT รวมทั้ง LINUX ซึ่งเป็นที่รู้จัก และมีผู้เชี่ยวชาญอยู่ทั้วไป ดังนั้น การ
จะจารกรรมข้อมูลจึงไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป รวมทั้งปัจจุบันได้มีเอกสารแพร่หลายในอินเทอร์เน็ตอยู่มากมายที่สอนวิธีการจารกรรมดังกล่าว

                         
จะเห็นได้ว่าแลนเหมือนเป็นระบบอุปกรณ์พื้นฐานราคาถูกอีกชนิดหนึ่ง ที่ต่อไปน่าจะมีในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกเครื่องด้วยราคา
ต่อประสิทธิภาพ และคุณสมบัติพื้นฐานที่จะทำให้เราสามารถพัฒนาระบบและวิธีการบนระบบการสื่อสารแบบใดก็ได้ไปได้อีกไกลรวมถึงความเร็วต่อไปที่จะเพิ่มขึ้น
ในอนาคตแบบทวีคูณ


                 



                                                                                                              
                

                                                    More information, please contact   E-mail : chatchai@ckmit.com