ระบบโทรศัพท์ตู้สาขารุ่นนี้มีด้วยกัน
3 รุ่น ครับ
คือ.....
HICOM 150E
( OFFICE COM )
HICOM
HiPath 3000 Series
รองรับระบบ
VoIP ( Catalog )
HICOM 150E
( OFFICE PRO )
ต่างกัน อย่างไร.... ? |
|
HICOM 150E ( OFFICE COM ) เป็นแบบติดผนัง ซึ่งรองรับเลขหมายภายในสูงสุด ได้ 108 เครื่อง
|
||||||||||
|
HICOM 150E ( OFFICE PRO ) เป็นแบบตั้งพื้น สามารถขยายระบบได้ สูงสุดถึง 384 เลขหมายภายใน ส่วนอย่างอื่นไม่แตกต่างกัน...
|
รูป System Configuration |
||
|
Hicom 150E ตอบสนองระบบการสื่อสารที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานหลากหลายสูงที่สุด
ซึ่งอิงกับเทคโนโลยี
Euro-ISDN ( DSS 1 )
สำหรับหมายเลขภาย นอกชนิดสายดิจิตอล ( ISDN ) และหมายเลขภายนอกชนิดอนาล็อค รวมถึงหมายเลขภายในชนิดที่เป็นดิจิตอลและอนาล็อค Hicom 150E สามารถรองรับเครื่องโทรศัพท์ภายในได้ 384 เครื่อง และอุปกรณ์ปลายทางแบบใช้ข้อมูลได้ 50 เครื่อง โดยเครื่องโทรศัพท์ดิจิตอลจะมี คำแนะนำสำหรับผู้ใช้จะแสดงที่หน้าจอ โดยมีปุ่มเมนู ( Dialog ) ช่วยเพิ่มความเร็ว และทำให้ง่ายต่อการใช้งานในระบบโทรศัพท์ดิจิตอลรุ่น Optisel E Series รวมถึงสามารถต่อเชื่อมอุปกรณ์อะแดปเตอร์เพิ่มเติม เข้ากับโทรศัพท์รุ่น Optiset E ได้โดยตรง โดยแต่ละเครื่องสามารถเปลี่ยนชนิดของอะแดปเตอร์ได้ตาม ความต้องการ เมื่อมีการต่อเชื่อมเครือข่ายตู้สาขาฯ จุดต่อปลายทางหรือจุดต่อส่งผ่าน สามารถเชื่อมต่อด้วย CorNet - N ซึ่งเป็นโปรโตคอลเครือข่ายของซีเมนส์โดย สามารถตอบสนองที่ให้ผลการทำงานสูงสุด นอกจากนี้ยังมีโปรโตคอล E&M และ QSig ซึ่งเป็นโปรโตคอลเครือข่ายมาตรฐาน ในการเชื่อมต่อตู้สาขาฯ โซลูชั่น ของผู้ใช้แต่ละราย ถูกรวมไว้เป็นโมดูลในระบบหรือเชื่อมต่อในลักษณะเปิดกว้างที่สามารถใช้งานร่วมกับโซลูชั่นอื่น ๆ ของแต่ละบริษัทไม่ว่าผู้ให้บริการจะใช้ เครือข่ายแบบใด ระบบ Hicom 150E สามารถกำหนดเลือกใช้เส้นทางที่เสียค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ ในการโทรออกต่ำที่สุด ( LCR ) โดยฟังก์ชั่น LCR สามารถ กำหนดใช้เส้นทางที่เสียค่าใช้จ่ายต่ำสุดได้โดยขึ้นกับเวลาในแต่ละวัน ระบบโทรศัพท์ ( System telephone ) <------------------------------------------------------------------------------------------> ระบบโทรศัพท์รุ่นนี้ได้ถูกออกแบบให้สามารถใช้ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของไฮคอม 150 อี ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ผนวกกับการสื่อสารได้ 2 ช่องสัญญาณเสียง ใน 1 ช่องสัญญาณแบบ U PO/E ( เลขหมายภายในดิจิตอล ) สัญญาณไฟประจำปุ่ม จะติดขณะใช้งานฟังก์ชั่นนั้นอยู่ จึงทำให้เกิดความคล่องตัวในการใช้ระบบ แป้นกดหมายเลข ถูกออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานอย่างแม่นยำและทนทาน สามารถเลือกให้สอดคล้องกับการใช้งานได้ถึง 6 รุ่น คือ เอ็นทรี เบสิก แสตนดาร์ด คอมฟอร์ต คอนเฟอเรนซ์ และเมมโมรี |
เอ็นทรี | ||||
โทรศัพท์ดิจิตอลรุ่นประหยัด มีปุ่ม 3 ปุ่มที่กำหนดหน้าที่ไว้แล้วคือ + ปุ่มหมุนทวนเลขหมายสุดท้าย ( Number Redial ) + ปุ่มสำหรับสอบถามความคิดเห็น หรือปุ่มสำหรับโอนสาย ( Enquiry ) + ปุ่มตัดสาย ( Call Release ) |
มีปุ่มปรับระดับเสียง 2 ปุ่ม ( บวก/ลบ ) สำหรับปรับ + เสียงของหูฟัง + เสียงกริ่งโทรศัพท์ สามารถติดตั้งบนฝาผนังได้* ขนาด ( กว้าง x ยาว มม. ) 155 x 253 สามารถใช้งานคุณสมบัติของระบบ โดยการใช้รหัส |
เบสิก | ||||
เหมาะกับข้อกำหนดความต้องการขั้น พื้นฐานสำหรับการสื่อสารด้านเสียง และข้อมูลมีคุณสมบัติดังนี้ มีปุ่ม 8 ปุ่มที่กำหนดหน้าที่ไว้แล้วคือ + ปุ่มสำหรับสอบถามความคิดเห็นหรือ สำหรับโอนสาย ( Enquiry ) + ปุ่มสำหรับหมุนทวนเลขหมายสุดท้าย ( Number Redial ) + ปุ่มสำหรับการแจ้งมีข้อความฝากไว้อยู่ ( Message Waiting ) + ปุ่มสำหรับการจองสายให้โทรกลับ ( Call Back ) + ปุ่มสำหรับการโทรออกโดยใช้รหัสย่อ ( Speed dialling ) |
+ ปุ่มสำหรับปิด/เปิดไมโครโฟน ( Microphone on/off ) + ปุ่มสำหรับเปิดฟังเพลงทางลำโพง ( Speaker ) + ปุ่มสำหรับตัดสาย (Relesse) สามารถเปิดฟังเสียงที่ลำโพง ( Open Listening ) มีปุ่มปรับระดับเสียง 2 ปุ่ม (บวก/ลบ) สำหรับปรับ + เสียงของหูฟัง + เสียงกริ่งโทรศัพท์ มีช่องสำหรับต่ออะแดปเตอร์ได้สูงสุด 1 ชุด ( ยกเว้น headset adepter และ headset plus adapter ) สามารถติดตั้งบนฝาผนังได้* ขนาด (กว้าง x ยาว มม.) 155 x 253 |
การโต้ตอบระหว่างระบบกับผู้ใช้
( Interactive user prompting )
<---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------->
ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับระบบ
โดยการกดปุ่มเลือกรายการจากเมนู 3 ปุ่ม คือ
OK (../.), PREVIOUS ( ..<..) และ NEXT ( ..>..)
ไว้เพื่อความสะดวกใน
การใช้งานคุณสมบัติต่าง ๆ อย่างมืออาชีพ รายการเมนูบนจอจะแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ
เพื่อความสะดวกชัดเจน
นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเลือกฟังก์ชั่น
โดยการป้อน
รหัสโดยตรงหรือจัดทำปุ่มฟังก์ชั่นไว้ใช้งานก็ได้เช่นกัน
แสตนดาร์ด | ||||||
โทรศัพท์ดิจิตอลที่มีหน้าจอสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานระบบและฟังก์ชั่นต่างๆ ที่หลากหลายมีคุณสมบัติ ต่างๆ ดังนี้ มีปุ่มเลือกเมนู 3 ปุ่ม สำหรับการโต้ตอบกับผู้ใช้ ได้แก่ OK(../..), PREVIOUS(..<..) และ NEXT(..>..) มีจอแสดงผลตัวอักษรและตัวเลข 2 บรรทัด ๆ ละ 24 ตัวอักษร และสามารถปรับมุมมองได้ สนทนาหรือโทรออกได้โดยไม่ต้องยกหู ( Handfree ) มีปุ่มใช้งาน 12 ปุ่ม พร้อมสัญญาณไฟ LEDs โดยแบ่งเป็นปุ่มโปรแกรมอิสระ 8 ปุ่มสำหรับโปรแกรมเป็นปุ่มสาย นอก, เลขหมายภายใน หรือฟังก์ชั่นต่าง ๆ ปุ่ม 4 ปุ่ม ที่กำหนดหน้าที่ไว้แล้วคือ
|
คอมฟอร์ต | ||||
เป็นอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลและเสียงสำหรับ มืออาชีพ เช่นเดียวกับรุ่นสแตนดาร์ด 150 อีและมี คุณลักษณะ เพิ่มเติมดังนี้ สามารถเชื่อมโยงกับคีย์โมดูล 16 ปุ่มได้ ( สูงสุด 4 ชุด ) สามารถเชื่อมโยงกับ BLF 90 ปุ่ม ( สูงสุด 2 ชุด ) มีช่องสำหรับต่ออะแดปเตอร์ได้ 2 ชุด ขนาด (กว้าง x ยาว มม.) 216 x 253 |
คอนเฟอเรนซ์
( Conference )
โทรศัพท์ดิจิตอลที่มีหน้าจอมีคุณสมบัติพื้นฐานเหมือนรุ่น
Comfort และเพิ่มความสามารถในการใช้งานสำหรับการประชุมทางโทรศัพท์โต้ตอบ
สนทนาของผู้ร่วมประชุมได้ในเวลาเดียวกัน
โดยลดเสียงสะท้อนกลับ
เพื่อให้เสียงการประชุมสมบูรณ์ที่สุด
เหมาะสำหรับสถานที่หรือบุคคลที่มีความจำเป็น
ต้องมีการประชุม
ทางโทรศัพท์เป็นประจำ
เมมโมรี | ||||||
เป็น "โทรศัพท์รุ่นยอดนิยม" สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการหน้าจอขนาดใหญ่และมีรายนาม โทรศัพท์ภายในแบบอิเล็กทรอนิกส์เหมาะสำหรับโอเปอเรเตอร์ เลขานุการ หรือผู้ที่ใช้ โทรศัพท์เป็นประจำ มีปุ่มเลือกเมนู 3 ปุ่ม สำหรับการโต้ตอบกับผู้ใช้ ได้แก่ OK(../..), PREVIOUS(..<..) และ NEXT(..>..) มีจอแสดงผลตัวอักษรและตัวเลขได้ 8 บรรทัด ๆ ละ 24 ตัวอักษร และสามารถปรับมุมมองได้ มีหน่วยความจำสำหรับบันทึกข้อมูล 300 รายการ ( ชื่อ สถานที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ) บรรทัด ที่ 1 ถึง 6 ใช้สำหรับอิเล็กทรอนิกส์โน๊ตบุ๊ค ( ENB ) บรรทัดที่ 7 และ 8 ใช้สำหรับการโต้ตอบ ระหว่างผู้ใช้กับระบบ มีแป้นพิพม์ตัวอักษรและตัวเลขรวมฟังก์ชั่นของ ENB ไว้ด้วย มีช่องสำหรับต่ออะแดปเตอร์ได้ 2 ชุด สนทนาหรือโทรออกได้โดยไม่ต้องยกหู ( Handfree ) มีปุ่มใช้งาน 12 ปุ่ม พร้อมสัญญาณไฟ LEDs ซึ่งมีปุ่มที่กำหนดหน้าที่ไว้แล้ว 4 ปุ่ม คือ + ปุ่มเซอร์วิส ( Service ) + ปุ่มสำหรับหมุนทวนเลขหมายสุดท้าย ( Number Redial )
|
คีย์โมดูล | ||||||
อุปกรณ์ DSS เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานสำหรับโทรศัพท์รุ่น Optiset E รุ่น Comfort หรือ Memory เท่านั้น สำหรับการกำหนดเป็นเบอร์สายใน/นอกหรือฟังก์ชั่น ต่าง ๆ มีปุ่มโปรแกรมอิสระ 16 ปุ่ม มีสัญญาณ LEDs ที่ปุ่มติดขณะใช้งาน ขนาด ( กว้าง x ยาว ) 135 x 253 ในแต่ละชุดของคอมฟอร์ด 150 อี และ เมมโมรี 150 อี สามารถติดตั้งคีย์โมดูลได้ 4 ชุด |
Busy Lamp Panel 90 Key | |||||
เป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานสำหรับโทรศัพท์รุ่น Optiset E ( Comfort, conference และ memory ) สามารถกำหนดเป็นเบอร์โทรศัพท์หรือ ฟังก์ชั่น คีย์พิเศษได้ถึง 90 ปุ่มและมีสัญญาณ LEDs แสดงสภาวะการใช้งานทุก ๆ ปุ่ม |
การใช้อะแดปเตอร์ (Adapter) | ||||||
อะแดปเตอร์ของไฮคอม 150 อี สามารถติดตั้งด้านล่างของเครื่องโทรศัพท์รุ่น คอมฟอร์ด 150 อี และ เมมโมรี 150 อี ช่วยให้เกิดความคล่องตัวสะดวกต่อ การใช้งาน และการเคลื่อนย้าย อนาล็อคอะแดปเตอร์ ( Analog Adapter, ab ) สำหรับการเพิ่มโทรศัพท์อนาล็อคต่อจากโทรศัพท์ดิจิตอลโดยไม่ต้องติดตั้งสายเคเบิล เพิ่มเติมจากตู้สาขา โฟนอะแดปเตอร์ ( Phone Adapter ) เป็นอุปกรณ์ สำหรับการเพิ่มโทรศัพท์ดิจิตอลอีกเครื่องหนึ่ง ในรัศมี 100 เมตร โดยไม่ต้องติดตั้งสายเคเบิล เพิ่มเติมจากตู้สาขา ( เช่นในบริเวณที่นั้น ) โทรศัพท์ ทั้ง 2 เครื่องสามารถติดต่อถึงได้โดยใช้หมายเลขภายในที่แตกต่างกัน |
อะคลูสติคอะแดปเตอร์ ( Acoustic Adapter ) สำหรับเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่น ลำโพง หูฟัง และไมโครโฟน เฮดเซ็ตอะแดปเตอร์ ( Head Set Adapter ) สำหรับเพิ่มหูฟังแบบสวมศีรษะเพื่อควมสะดวกสำหรับ พนักงานรับโทรศัพท์หรือโอเปอเรเตอร์ คอนโทรลอะแดปเตอร์ ( Control Adapter ) สำหรับการใช้งาน CTI ( ระบบโทรศัพท์ที่สามารถใช้ กับเครื่องพีซี ) |
คอนแท็กอะแดปเตอร์ ( Contact Adapter ) มีชุดเชื่อมต่อแบบ floating 2 ชุด ( 60 โวลต์/ 5 วัตต์ ) สำหรับควบคุมอุปกรณ์ภาย นอก เช่น สัญญาณไฟ และกระดิ่งตัวที่ 2 ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถใช้ในการส่งสัญญาณ ( สัญญาณเสียงกริ่งหรือสัญญาณสายไม่ว่าง ) สถานะของเครื่องโทรศัพท์ เฮดเซ็ตพลัสอะแดปเตอร์ ( Head Set plus Adapter ) สำหรับต่อเข้ากับชุดหูฟังแบบสวมศีรษะได้ 2 ชุดและมีพอร์ตสำหรับต่อเชื่อมกับเครื่อง บันทึกเทปแบบ 600 ohm ไอเอสดีเอ็นอะแดปเตอร์ ( ISDN Adapter ) สำหรับต่อเชื่อมกับเครื่องระบบ ISDN ( เช่นต่อเครื่องพีซีเข้ากับการ์ด S หรืออุปกรณ์ สนทนา ทางจอภาพ ( Video Conference ) เป็นต้น ) อะแดปเตอร์ตัวนี้สามารถใช้งาน กับ Channel "B" ได้ 2 ช่องโดยความเร็ว ในการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 128 kb |
คุณสมบัติของระบบ
( System Feature )
ระบบ Hicom มีคุณสมบัติในการใช้งานหลากหลายดังนี้
คุณสมบัติเฉพาะที่เลือกสรรแล้ว ( Selected features ) |
การแสดงชื่อหรือหมายเลขผู้โทรเข้า ( Caller list )* สายโทรเข้าที่ไม่มีผู้รับสายจะถูกบันทึกไว้โดยแสดงบนหน้าจอสายภาย นอกจะแสดงเป็นหมายเลขสายที่โทรเข้า ( ISDN ) ส่วนสายภายในจะ เป็นชื่อผู้โทรเข้า โดยรายละเอียดสายโทรเข้า จะแสดงวันเวลาและ จำนวนครั้งที่สายนั้นโทรเข้า รวมทั้งสามารถใช้งานฟังก์ชั่นการจอง สายให้โทรกลับ ( call-back ) ได้จากรายการนี้ การรับสายแทนกัน ( Call pickup ) คุณสามารถตัดรับสายแทนกันภายในกลุ่มหรือเพื่อนร่วมงานที่กำหนด ไว้ได้จากเครื่องของท่านเอง การแทรกสาย ( Call override/intrusion ) ผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตสามารถแทรกสายไปยังเครื่องที่ใช้งานอยู่ได้ การเรียกสายผ่านลำโพง ( Voice calling )** หมายเลขภายในปลายทางโดยประกาศออกทางลำโพงของเครื่อง ปลายทางนั้น ๆ ( เช่น ห้องรับแขก ) ไลน์รีเวิร์ส ( Line Reverse ) ระบบสามารถคำนวณระยะเวลาการใช้โทรศัพท์ได้อย่างแม่นยำและ จะคำนวณเมื่อปลายทางรับสายแล้วเท่านั้น การต่อสายเพื่อโทรออก ( DISA ) ผู้ใช้ภายนอกสามารถโทรเข้ามาในระบบ เพื่อเปิดหรือปิดฟังก์ชั่นต่าง ๆ ตามหมายเลขภายในที่ระบุ และยังสามารถโทรออกไปยังหมายเลขภาย นอกที่ต้องการ โดยใช้สายนอกของระบบโดยฟังก์ชั่นนี้เหมาะกับผู้ใช้ที่ อยู่บ้านตอนกลางคืนและโทรเข้ามาที่บริษัทฯ เพื่อทำการโทรออกไปยัง ต่างประเทศ การบันทึกหมายเลขย่อของระบบ ( Station speed dialing in system ) โทรศัพท์แต่ละเครื่องสามารถบันทึกหมายเลขย่อ ส่วนตัวได้สูงถึง 10 หมายเลขสำหรับแต่ละเบอร์ภายใน และ1000 หมายเลขสำหรับ ส่วนกลาง การสลับสายสนทนา ( Togging ) สามารถสลับสายระหว่างสองสายที่กำลังสนทนากันอยู่ กลุ่มรับสาย ( Answer group ) สามารถกำหนดให้โทรศัพท์มากกว่า 1 เครื่องดังพร้อมกันเพื่อช่วย ในการรับสาย ชุดดนตรีพักสายภายนอก ( External music on hold ) ระบบสามารถต่อกับวิทยุเทป ซีดีจากภายนอก เพื่อเป็นเสียงดนตรี ขณะพักสาย การระงับการแสดงหมายเลขเรียกเข้า ( Call ID suppression ) ในกรณีที่เชื่อมต่อแบบ ISDN ผู้เรียกสายสามารถระงับการแสดง หมายเลข ของตนที่หน้าจอของเครื่องปลายทางที่เรียกทั้งแบบ ชั่วคราวและสำหรับระบบทั้งหมด |
การห้ามรบกวน/ "เสียงเงียบ" ( Do not disturb/ "silent call" )* ผู้ใช้สามารถป้องกันการโทรเข้าได้ เมื่อใช้งานฟังก์ชั่นห้ามรบกวนผู้เรียก จะได้ยินสัญญาณสายไม่ว่าง สำหรับผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตสามารถแทรกสาย ไปยังเครื่องที่เซ็ท Do not disturb ไว้อีกทั้งยังสามารถยกเลิกสัญญาณเสียง กริ่งของโทรศัพท์เพื่อให้สายที่โทรเข้าแสดงเฉพาะที่หน้าจอ( ไม่สามารถใช้ กับโทรศัพท์รุ่น Optiset E entry และ Optiset E Basic การจัดระดับการโทรออก ( Classes of service ) สามารถกำหนดระดับการโทรออกที่แตกต่างกัน สำหรับผู้ใช้ในตู้สาขา ( PABX ) ระดับการโทรออกสามารถแยกออกเป็น - การโทรออกสายนอกโดยไม่มีข้อจำกัด - การโทรออกสายนอกโดยจำกัดระดับในการโทรออก - ไม่สามารถโทรออกสายนอกได้ บันทึกรายละเอียดการใช้โทรศัพท์ ( Call charge recording ) สามารถบันทึกรายละเอียดการใช้โทรศัพท์ ตามหมายเลขภายในหรือ หมายเลขภายนอก โดยจะแสดงระยะเวลาการใช้สาย การฝากสายภายนอก ( Call Forwarding in the public network ) สายเรียกเข้าทุกสายสามารถฝากสายต่อไปยังหมายเลขภายนอกได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ การเรียกสายทั้งกลุ่มพร้อมกัน ( Group call ) สามารถกำหนดให้แต่ละกลุ่มมีเครื่องโทรศัพท์ได้สูงสุด 20 เครื่อง โดย สามารถใช้งานได้ถึง 150 กลุ่มโดยเครื่องแต่ละเครื่องสามารถออกจาก กลุ่ม ( log out ) ได้ชั่วคราว รายนามโทรศัพท์ภายใน ( Internal directory )* หมายเลขภายในทุกหมายเลขจะถูกบันทึกไว้พร้อมกับชื่อย่อในรายนาม โทรศัพท์ภายในของระบบ คุณสามารถค้นหาหมายเลขเหล่านี้ได้จากหน้า จอและเรียกสายได้โดยตรง การส่งข้อความ ( Text message )** คุณสามารถส่งข้อความที่กำหนดไว้ (เช่นมีแขกมาพบ) หรือข้อความสั้น ๆ ส่วนตัว ( เฉพาะรุ่น Optiset E memory เท่านั้น ) ผ่านทางหน้าจอ การฝากข้อความ ( Advisory message )* สามารถฝากข้อความไว้ที่เครื่องของท่านได้ ( เช่นจะกลับมาเมื่อ ) ในกรณี ที่ท่านไม่อยู่ รหัสโครงการ ( Project/Account code ) สามารถกำหนดรายละเอียดการใช้โทรศัพท์ไปยังรหัสโครงการที่กำหนด ไว้โดยป้อนรหัสโครงการ ( ตัวเลขสูงสุด 11 หลัก ) และสามารถป้อนรหัสนี้ ได้ในระหว่างใช้สายโดยสามารถจำแนกรายละเอียดของการใช้สายโทร ออกตามรหัสโครงการนั้น ๆ สัญญาณเรียกสาย ( Call signalling ) สามารถกำหนดสัญญาณเรียกสายที่แตกต่างกันสำหรับสายภายในสาย ภายนอกสายเรียกกลับและสายที่จองไว้ในการโทรกลับ |
สามารถควบคุมการเปิดปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ด้วยรหัสฟังก์ชั่นที่
สำหรับฟังก์ชั่นโทรศัพท์หน้าประตูทางเข้า
และฟังก์ชั่นควบคุมการ |
สำหรับเรียกหมายเลขสายนอกสุดท้านซ้ำโดยระบบจะบันทึกสายนอก |
*สำหรับเครื่องโทรศัพท์ดิจิตอลรุ่น
Optiset Standard, Optiset Comfort, Optiset Conference
และ Optiset Memory
เท่านั้น
**หมายเลขภายในปลายทางต้องเป็น
Optiset เท่านั้น ยกเว้น
Optiset Entry และ
Optiset Basic
คุณสมบัติมาตรฐาน ( Standard Feature ) |
การโอนสายเรียกเข้าไปยังเครื่อง / กลุ่มสำรอง ( ในกรณีเครื่องหลักไม่มีผู้รับสายหรือสายไม่ว่าง ) สายเรียกซ้อน / สัญญาณเตือนเมื่อมีสายเรียกซ้อน ( Camp-on/call waiting tone ) การฝากสายจากเครื่องภายใน ( Call forwarding from the extension ) การแสดงภาษาที่ใช้บนหน้าจอ ( สามารถกำหนดได้แต่ละเครื่อง ) สามารถกำหนดภาษาที่ ใช้ได้ไม่ต่ำกว่า 10 ภาษา ( Display languages ( can be defined individually ) ) การประชุมทางโทรศัพท์ (ภายใน/ภายนอก) ( Conference ( Internal / External ) ) การต่อสายนอก ( โดยอัตโนมัติ ) ( Line seizure ( automatic ) ) ชุดดนตรีระหว่างพักสาย/ชุดดนตรีพักสายสำหรับต่อเชื่อมกับ เครื่องเล่นเทป ซีดี ( Music on hold/external music source ) การให้บริการระหว่างและหลังเวลาทำงาน ( Night service/Day service ) การพักสายแบบกำหนดตำแหน่ง ( Park ) การพักสายเพื่อสอบถามหรือโอนสาย ( Consultation hold ) การจองสายให้โทรกลับ ( โดยอัตโนมัติ ) เมื่อสายนั้นไม่ว่าง หรือไม่มีผู้รับสาย ( Call back on busy and no answer ( automatic ) ) |
การฝากสาย เมื่อสายปลายทางไม่มีผู้รับหลังจากเวลาที่กำหนด (Call forwarding no answer after timeout) การโอนสายไปยังสมาชิกที่ว่างของกลุ่ม ( วนเรียกสายตาม ลำดับ/แบบหมุนเวียน ) ( Hunt group ( linear/circular ) ) การล็อคโทรศัพท์ ( การล็อคโทรศัพท์โดยใช้รหัสส่วนบุคคล ) ( Lock telephone ( individual code lock ) ) รายนามโทรศัพท์ส่วนกลาง ( Telephone directory, central ) การโอนสาย ( ภายใน/ภายนอก ) ( Transferring a call ( internal / external ) ) สายเรียกกลับ/การดึงสายกลับ ( Recall ) สัญญาณเสียงเตือนฝากข้อความ ( Voice prompt for message waiting ) ผู้ใช้สามารถรู้ว่าขณะนี้มี ข้อความได้ฝากอยู่โดยจะได้ยินเสียง " You have a message " จากทางหูฟัง เวลาการเปลี่ยนระดับการโทรออก ( Automatic change of class of service ) ผู้ใช้สามารถตั้งเวลาการเปลี่ยนระดับการโทรออกอย่าง อัตโนมัติตามเวลาที่กำหนด ระบบสำรองข้อมูลตู้สาขาอัตโนมัติ ( Automatic customer data update ) ระบบสำรองข้อมูลจะทำการบันทึกข้อมูลของตู้สาขาลงในหน่วย ความจำสำรอง (Flash prom) ให้ทันสมัยอยู่เสมอโดยข้อมูลไม่ สูญหายแม้ไฟฟ้าดับ |
คุณสมบัติแบบ Euro-ISDN ( Euro-ISDN features ) |
มาตรฐาน Euro-ISDN ( DSS 1 ) สามารถตอบสนองโครงสร้างการสื่อสาร ที่เป็นรูปแบบของยุโรปฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของ Euro - ISDN ต่อไปนี้สามารถ ใช้งานกับระบบ Hicom 150E แต่บางคุณสมบัติอาจจะไม่สามารถใช้งาน กับระบบเครือข่ายสาธารณะทั้งหมดได้ การให้บริการ ( Service ) สามารถส่งโทรสารกลุ่ม 3 และข้อมูลเสียงด้วยความกว้างของแถบความ ถี่ 3.1 KHz และสามารถส่งโทรสารกลุ่ม 4 และข้อมูลด้วยความเร็ว 64 Kbit/s ต่อช่วงสัญญาณ บี ( B-Channel ) การเรียกสายภายในโดยตรง ( Direct inward dialling ( DID ) ) คุณสมารถเรียกสายหมายเลขภายในระบบ PBX ได้โดยตรงจากชุมสาย สาธารณะ การแสดงหมายเลขสายที่โทรเข้า ( Calling line identificationpresentation ( CLIP ) )* หมายเลข ISDN ของผู้เรียกจะถูกแสดงที่หน้าจอของเครื่องที่ถูกเรียกสาย การจำกัดการแสดงหมายเลขโทรศัพท์ ( Calling line identification restriction ( CLIR ) )* หมายเลขของผู้เรียกสาย จะไม่แสดงที่หน้าจอของเครื่องที่ถูกเรียกสาย สามารถกำหนดใช้งานฟังก์ชั่นนี้กับทั้งระบบเป็นแบบถาวรหรือชั่วคราว เป็นสายเรียกนั้น ๆ ไป การแสดงหมายเลขสายที่ติดต่ออยู่ (Connected line identification presentation ( COLP ) )* เครื่อง A และ B ที่มีหมายเลข MSN พื้นฐานหมายเลขเดียวกันเมื่อถูก เรียกจากคู่สายเครื่อง A และ B จะดังพร้อมกันเมื่อเครื่องใดเครื่อง หนึ่งรับสายก่อนหมายเลข MSN หลักของเครื่องนั้นจะปรากฏที่หน้าจอ ของคู่สายที่เรียก การจำกัดการแสดงหมายเลขสายที่ติดต่ออยู่ ( Connected line identification restriction ( COLR ) )* เครื่อง A และ B ที่มีหมายเลข MSN พื้นฐานหมายเลขเดียวกันเมื่อถูก เรียกจากคู่สาย เครื่อง A และ B จะดังพร้อมกันเมื่อเครื่องใดเครื่อง หนึ่งรับสาย หมายเลขจะไม่ปรากฏที่หน้าจอของคู่สายที่โทรเรียก การขยายหมายเลขเครื่องเพิ่ม ( Multiple Subscriber number ( MSN ) ) เครื่องโทรศัพท์ที่ต่อใช้งานบน S bus ( ได้สูงสุด 8 เครื่อง ) แบบ point to multipoint สามารถเพิ่มหมายเลขเครื่องได้มากกว่า 1 หมายเลขให้ เหมือนกันหรือแตกต่างกันได้ถ้าตั้งหมายเลข MSN เหมือนกัน เมื่อถูก เรียกจากคู่สายก็จะดังพร้อมกันถ้าตั้งหมายเลข MSN ไม่เหมือนกันถ้า ถูกเรียกจากคู่สายก็จะดังเฉพาะเครื่องที่มีหมายเลข MSN ตรงกับหมาย เลขที่ถูกเรียกจากคู่สาย การส่งข้อมูลการใช้โทรศัพท์ ( Call charge transfer ( AOC ) )* สามารถส่งข้อมูลการใช้โทรศัพท์ไปยังระบบ PBX ในระหว่างหรือหลัง จากใช้สายข้อมูลจะแสดงที่หน้าจอของเครื่องโทรศัพท์ ที่มีหน้าจอเป็น หน่วยหรือจำนวนเงิน |
การกำหนดตำแหน่งหมายเลขย่อยประจำเครื่อง ( Subaddressing ( SUB ) ) ผู้ใช้สามารถขยายตำแหน่งหมายเลขเพิ่ม โดยใช้ numbering plan E 164 ( หมายเลข ISDN ที่มีหรือไม่มี MSN หรือ DDI ) เช่น ระบบ LAN ใช้หมายเลขสายนอกเป็นเบอร์ X และมี PC ในระบบ 4 ตัว คือ A B C และ D สามารถกำหนดหมายเลข Subaddress ให้กับ A B C และ D เมื่อมีการเรียกมาจาก PC ภายนอก โดยเรียก X และ Subaddress A ( เช่น A= หมายเลข Y สายก็จะเรียกไปยัง PC เครื่อง A ) การส่งข้อความระหว่างผู้ใช้ (User-to-user signalling ( UUS 1) ) ฟังก์ชั่นนี้ช่วยให้สามารถส่งข้อความหรือข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอื่น ๆ ได้ทั้งสองทิศทางโดยผ่านทางช่องสัญญาณ ( D-Channel ) การฝากสายในเครือข่ายสาธารณะ ( ไม่สามารถใช้กับ S 2M ) ( Call forwarding in the public network ( CFU, CFB, CFNR ) ( not available with S 2M) ) สายสำหรับระบบ ISDN ทุกสายจะถูกฝากสายไว้ยังเครื่องที่กำหนดสามารถ กำหนดใช้งานฟังก์ชั่นนี้ ได้จากโทรศัพท์ที่ได้รับอนุญาต และใช้งานกับ การต่อเชื่อมแบบ DID ( Point-TO-Point ) ในกรณีที่ต่อเชื่อมกับอุปกรณ์ที่ ใช้ฟังก์ชั่น MSNs เท่านั้น การฝากสายในกรณีไม่ต้องเสียช่องสัญญาณ (Call deflection ( CD ) ) สายสำหรับผู้ใช้ภายใน ที่กำหนดใช้งานฟังก์ชั่นการฝากสายนอกไว้ สาย นอกที่โทรเข้า จะถูกส่งสัญญาณผ่านทางชุมสายสาธารณะ ไปยังเครื่อง ปลายทางภายนอก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะใช้ช่องสัญญาณ บี ( B-Channel ) สำหรับฟังก์ชั่นนี้จะไม่มีการบันทึกค่าใช้โทรศัพท์ในระบบ PBX การจองสายให้โทรกลับในเครือข่ายสาธารณะ ( Callback in the public network ( CCBS ) ) ถ้าสายภายนอกที่เรียกไปไม่ว่าง สามารถกำหนดจองสายให้โทรกลับมา ยังเครือข่ายสาธารณะได้เมื่อสายนอกว่างจะเรียกสายกลับไปยังผู้จองสาย ในทันที ตรวจสอบสายของผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ( Tracing malicious callers ( MCID ) ) ฟังก์ชั่นนี้ใช้ตรวจสอบสายโทรเข้าจากผู้ไม่ประสงค์ออกนามโดยเครือ ข่ายจะบันทึกหมายเลขเวลาของคู่สายไว้ในเครือข่าย ซึ่งสามารถตรวจ สอบได้โดยคุณสมบัตินี้ ต้องขอบริการจากโอเปอเรเตอร์ของเครือข่าย ก่อน |
Attendant consoles |
Hicom Attendant C สามารถกำหนดโทรศัพท์ Optiset E memory ให้ใช้งานง่ายโดยใช้การ โต้ตอบของผู้ใช้และปุ่ม Dialog 3 ปุ่ม Hicom Attendant P เป็นซอฟต์แวร์ที่จำลอง Attendnat console ไว้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ของคุณ สามารถกำหนดและใช้งานฟังก์ชั่นต่าง ๆ ได้โดยสวิตช์ผ่าน ทางแป้นพิมพ์และเม้าส์ ได้โดยง่ายเนื่องจากซอฟต์แวร์ดังกล่าวทำงาน อยู่บน Windows Hicom Attendant B ข้อมูลที่แสดงหน้าจอจะถูกแปลงเป็นอักษรเบรล ( Braille ) โดยใช้อุปกรณ์ เพิ่มเติมต่อเชื่อมเข้ากับเครื่องพีซี ช่วยให้คนตาบอดใช้งานได้ |
ฟังก์ชั่นการใช้งานสำหรับผู้บริหาร/เลขานุการ (Executive/secretary feature)* ฟังก์ชั่นนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสารระหว่างผู้บริหารกับ เลขานุการ กำหนดใช้งานฟังก์ชั่นสายเรียกซ้อนที่เครื่องของผู้บริหารได้จาก เครื่องของเลขานุการ การโอนฟังก์ชั่นการใช้งานสำหรับเลขานุการ การโอนสายไปยังเครื่องของเลขานุการ ปุ่ม DSS สำหรับผู้บริหาร/เลขานุการ |
การจัดการระบบ ( System administration ) |
ลูกค้าสามารถจัดการระบบสำหรับ Hicom Assistant TC หรือ Hicom Assistant C สำหรับ Hicom Assistant TC ลูกค้าสามารถจัดการระบบโดยใช้โทรศัพท์ รุ่น Optiset E รุ่นใดก็ได้ที่มีหน้าจอ แต่ขอแนะนำให้ใช้รุ่น Optiset E memory เนื่องจากมีแป้นตัวเลขและตัวอักษร และหน้าจอที่ใหญ่ ( สำหรับ- ป้อนชื่อเครื่อง เป็นต้น) Hicom Assistant C เป็นโปรแกรมที่ใช้งานอยู่บนโปรแกรมไมโครซอฟต์ วินโดว์ และติดตั้งอยู่กับเครื่องพีซี ที่เชื่อมต่อกับระบบโดยผ่าน interface RS 232 ยังมีเครื่องมือเพื่อการบริการอื่น ๆ ที่ใช้กับพีซีสำหรับสนับสนุนช่างเทคนิค ในการติดตั้ง และบริหารระบบสื่อสาร ช่างเทคนิคสามารถแก้ไขดัดแปลง |
ค่ากำหนดนี้ได้จากทางศูนย์บริการ แต่ไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใด มั่นใจได้ ว่าข้อมูลจะปลอดภัยเสมอ การย้ายเครื่อง ( Relocate ) ด้วยฟังก์ชั่นนี้สามารถย้ายโทรศัพท์ รุ่น Optiset E ได้โดยไม่จำเป็นต้อง เปลี่ยนแปลงการโปรแกรมระบบเครื่อง ที่เปลี่ยนตำแหน่งใหม่จะยังคง หมายเลขต่อภายในและชุดฟังก์ชั่นการใช้งาน ของผู้ใช้เดิมอยู่ ฟังก์ชั่นนี้ ช่วยให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าสามารถย้ายโทรศัพท์ได้อย่างอิสระโดยไม่จำเป็น ต้องพึ่งช่างประจำระบบ Tenant Multi System เป็นระบบที่รองรับการใช้งานร่วมกันหลายบริษัท โดยจะแยกค่าใช้จ่าย โทรศัพท์สายภายนอก, สายภายใน และโอเปอเรเตอร์ให้กับทุก ๆ บริษัท และสามารถกำหนดสูงสุดได้ถึง 6 บริษัทต่อตู้สาขาไฮคอม 150 อี ใน1 ระบบ |
โปรแกรมสำหรับผู้ใช้ ( User solutions ) |
การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ ( Mobile communication ) Hicom cordless เป็นโซลูชั่นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ใช้มาตรฐาน DECT สำหรับการติดต่อกับเครือข่ายทั้งหมดของบริษัทอย่างไร้ขีดจำกัด ระบบโทรศัพท์ที่ใช้งานด้วยคอมพิวเตอร์ ( Computer-driven telephony (CTI) ) Smartset เป็นซอฟต์แวร์ ที่ทำให้ผู้ใช้ สามารถเรียกสายจากเครื่องพีซีและบันทึก หมายเลขเรียกเข้าจากทั้งภายในและภายนอก ( ISDN ) ลงบนรายการ สายเรียกเข้าเมื่อรับสายระบบจะเปรียบเทียบรายชื่อกับที่อยู่ในรายการ ในเครื่องพีซี ถ้าพบก็จะแสดงที่หน้าจอสามารถกำหนดใช้งานโปรแกรม อื่น ๆ ของเครื่องพีซีได้โดยใช้หมายเลข ISDN ที่เรียกเข้า |
Hicom CTI TAPI เป็นซอฟต์แวร์ ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อช่วยให้โปรแกรมของเครื่องพีซี สามารถใช้งานร่วมกับโทรศัพท์ระบบดิจิตอล โดยผ่านการเชื่อมโยง แบบมาตรฐานอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถใช้งานกับแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ แบบ TAPI ได้ การจัดการค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ ( Call charge management ) TeleData Office Teledata Office เป็นโปรแกรม สำหรับบันทึกและกำหนดข้อมูลสายที่ เรียกเข้าและสายที่โทรออก โดยโปรแกรมสามารถวิเคราะห์แยกแยะ ค่าใช้จ่ายสายต่าง ๆ ตามหมายเลขภายใน หมายเลขภายนอกหรือ แผนกต่าง ๆ ในบริษัท |
การเลือกเส้นทางที่เสียค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด ( Least cost routing ) |
Hicom 150E ใช้ฟังก์ชั่นนี้เพื่อควบคุมเส้นทางที่ใช้สำหรับเรียกสายนอก โดยสามารถกำหนดเส้นทาง ผ่านเครือข่ายสาธารณะ และผู้ให้บริการ เครือข่ายต่าง ๆ หรือเครือข่ายของเอกชน ระบบจะตรวจสอบตารางเส้น ทางที่โปรแกรมไว้เพื่อให้เรียกสายนอกโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด การเรียกสายนอก จะถูกกำหนดเส้นทาง ไปพร้อมกับขั้นตอนของตาราง เส้นทาง ตารางนี้จะช่วยวิเคราะห์หมายเลข ที่ถูกเรียกและกำหนดให้ว่า |
เลขหมายใดควรจะถูกเลือกเพื่อโทรออกจากระบบ ฟังก์ชั่น LCR กำหนดขึ้นมาเพื่อช่วยในเรื่องอัตราค่าธรรมเนียมที่แตก ต่าง ของผู้ให้บริการเครือข่ายที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลา ของแต่ละวันและจำนวนวันในสัปดาห์ ฟังก์ชั่นนี้จะช่วยเลือกเส้นทาง สำหรับใช้เรียกสายออก ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุดให้โดยอัตโนมัติโดยผู้ใช้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยแปลงพฤติกรรมการโทรออก |
ระบบเครือข่าย ( Networking ) |
การเชื่อมโยงด้วยระบบดิจิตอล ( Digitalnailed connection ) สามารถกำหนดระบบเครือข่ายในการสื่อสารของบริษัท ระหว่างระบบ Hicom หลายระบบด้วยโปรโตคอล Cornet N โดยใช้การเชื่อมโยงแบบ S 0 หรือ S 2M ชนิดดิจิตอลระบบจะเชื่อมโยงผ่านสายสาธารณะ / หรือ สายส่วนบุคคล ระบบที่ต่อเป็นเครือข่าย จะมีคุณสมบัติในการใช้งาน ดังนี้ การกำหนดหมายเลขสำหรับเครือข่าย การส่งชื่อ/หมายเลขโทรศัพท์ การฝากสาย การอนุญาตเข้าระบบเครือข่ายสำหรับผู้ใช้แต่ละสาย การประชุมทางโทรศัพท์ได้ถึง 5 คู่สาย การจองสายให้โทรกลับเมื่อไม่มีผู้รับสายหรือสายไม่ว่าง การปรึกษา การสลับสายสนทนา การโอนสาย ฟังก์ชั่นการสลับสายจากส่วนกลาง ( เช่น การฝากสาย การเรียกสาย ซ้ำ การพักสาย ) |
การระงับการแสดงหมายเลข/ชื่อ การส่งผ่านสัญญาณ การเลือกเส้นทางที่เสียค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด เครือข่ายเสมือน ( Virtual network ) ในกรณีที่ไม่ต้องการบริการเต็มรูปแบบ จากการเชื่อมโยงแบบถาวร เนื่องจากมีระดับการใช้สายต่ำ ข้อแนะนำ ให้ใช้เครือข่ายเสมือน ( Virtual network ) สำหรับระบบ Hicom ที่เชื่อมโยงผ่าน S 0 หรือ S 2M เพื่อความประหยัด Virtual network มีฟังก์ชั่นการใช้งานต่าง ๆ ดังนี้ การกำหนดหมายเลขสำหรับเครือข่าย การปรึกษา การสลับสายสนทนา การโอนสาย การฝากสาย การประชุมทางโทรศัพท์ได้ถึง 5 คู่สาย |
การเชื่อมโยงระบบ ( System interfaces ) |
สำหรับสายนอก ( On the trunk side ) Euro-ISDN - ใช้ S 0 basic rate access ด้วยโปรโตคอล DSS 1 ( ISDN 2 ) - S 2M primary rate access ( ISDN 30 ) Loop start - ระบบการต่อเชื่อมแบบอนาล็อค ( Loop calling, Unguarded clear ) สำหรับผู้ใช้ ( On the user side ) อนาล็อค ( Analog ) - สำหรับต่อเชื่อมแบบ a/b สำหรับเครื่องแบบอนาล็อค เช่น เครื่อง โทรศัพท์ เครื่องโทรสารแบบกลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 โมเด็ม เป็นต้น ดิจิตอล ( Digital ) - ใช้การเชื่อมโยง U PO/E ขนาด 2 ช่องสัญญาณเสียงสำหรับต่อเชื่อม กับโทรศัพท์แบบดิจิตอล Euro-ISDN - ใช้ S 0 subscriber bus สำหรับต่อเชื่อมกับอุปกรณ์ระบบ ISDN ได้ สูงสุด 8 ชุด ( เช่น เครื่องโทรสารกลุ่ม 4 หรือการ์ด ISDN เป็นต้น ) |
และต่อเชื่อมระบบโทรศัพท์ไร้สาย (Cordless S) ของระบบ Hicom ได้ ตัวเชื่อมต่อเพิ่มเติม ( Additional interfaces ) V.24 จำนวน 2 port - สำหรับต่อเชื่อมเครื่องพีซี สำหรับการแก้ไขโปรแกรมระบบคิดค่า บริการโทรศัพท์พิมพ์ค่าใช้โทรศัพท์ CSTA Protocal - เป็นโปรโตคอลที่สามารถรองรับการเชื่อมต่อแอพพลิเคชั่นอื่น ๆ ได้ เช่น ระบบการใช้งานทั่วไปภายใน โรงแรม, ระบบ Call Center เป็นต้น E&M interface - การต่อเขื่อมเครือข่ายที่เป็นสายอนาล็อกแบบถาวร S0, S2M with Cornet-N protocol - การต่อเชือมเครือข่ายเป็นระบบดิจิตอลแบบถาวร |
ข้อมูลด้านเทคนิค ( Technical data ) |
Hicom 150E Office Com ข้อกำหนดของระบบ Hicom 150E Office Com ต่อเครื่อง แบบอนาล็อค (a/b) ได้สูงสุด 108 เครื่อง การต่อสายนอก ( PSTN, ISDN ) ได้สูงสุด 60 สายนอก สี > เทาอ่อน ขนาด > สูงxกว้างxลึก ( มม.) 450 x 460 x 200 น้ำหนัก > ประมาณ 8 กก. รวมอุปกรณ์ทุกอย่าง ซอฟต์แวร์ > IM-Version 2.2 up Hicom 150E Office Pro ข้อกำหนดของระบบ Hicom 150E Office Pro ต่อเครื่อง แบบอนาล็อค (a/b) หรือเครื่องแบบดิจิตอล ( U PO/E ) ได้สูงสุด 384 เครื่องต่อ Data terminal ได้สูงสุด 50 ชุด การต่อสายนอก ( PSTN, ISDN) หรือ ต่อแบบถาวร ( อนาล็อค/ดิจิตอล ) สูงสุด 120 สายนอก โดยสามารถ ต่อได้ทั้งสายนอกที่เป็นสายอนาล็อค ( loop start ) E&M และ ISDN พอร์ต ประเภทสาย > S 0, S 2M, loop start, E&M สี > เทาอ่อน ขนาด > สูง x กว้าง x ลึก (มม.) 490 x 410 x 390 น้ำหนัก > ประมาณ 22 กก. รวมอุปกรณ์ทุกอย่าง ซอฟต์แวร์ > IM-Version 2.2 up |
ระบบไฟฟ้า ระบบถูกออกแบบให้ใช้กับไฟหลักมีเครื่องสำรองไฟฟ้า ( UPS ) รองรับเมื่อ เกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง ปริมาณกระแสไฟฟ้า > 115/230 โวลต์ ความถี่ > 50-60 Hz แรงดันจ่ายไฟ > -48 โวลต์ สภาวะในการใช้งาน อุณหภูมิ > +5 C ถึง +40 C ความชื้นสัมพัทธ์ > 5 ถึง 85% ขอบเขตพื้นที่การใช้งาน ( Ranges ) ระยะห่างระหว่าง Hicom 150E และโทรศัพท์ระบบ Optiset E ได้ถึง 300 เมตร ระยะห่างประมาณ 1000 เมตร โดยใช้อะแดป เตอร์จ่ายไฟต่อพ่วงโดยจะขึ้นอยู่กับระบบเครือข่ายสายระหว่าง ระบบ Hicom ที่ต่อเป็นเครือข่าย ( Network ) ของบริษัท : การต่อเชื่อมแบบถาวร S 0 ประมาณ 1000 เมตร การต่อเชื่อมแบบถาวร S 2M ประมาณ 250 เมตร โดยขึ้นอยู่กับสายเคเบิลที่ใช้ |